ลักษณะ 3, อาการที่เป็นเครื่องกำหนดหมาย 3 อย่าง อันให้รู้ถึงความจริงของสภาวธรรมทั้งหลาย ที่เป็นอย่างนั้นๆ ตามธรรมดาของมัน - The three characteristics
1. อนิจจตา - ความเป็นของไม่เที่ยง impermanence; transiency 2. ทุกขตา - ความเป็นทุกข์ state of suffering or being oppressed 3. อนัตตตา - ความเป็นของไม่ใช่ตน soullessness, state of being not self
6 Comments:
ไตรลักษณ์
ลักษณะ 3, อาการที่เป็นเครื่องกำหนดหมาย 3 อย่าง อันให้รู้ถึงความจริงของสภาวธรรมทั้งหลาย ที่เป็นอย่างนั้นๆ ตามธรรมดาของมัน - The three characteristics
1. อนิจจตา - ความเป็นของไม่เที่ยง impermanence; transiency
2. ทุกขตา - ความเป็นทุกข์ state of suffering or being oppressed
3. อนัตตตา - ความเป็นของไม่ใช่ตน soullessness, state of being not self
(Request) เอานิยามของ มรรค 8 ด้วยสิครับ ... อยากรู้มานานแล้วว่า ถ้าต้องอธิบายเป็นภาษาปะกิตแบบสั้นๆ จะได้ความอย่างไร
มรรคมีองค์ 8 หรือ อัฏฐังคิกมรรค แปลว่า "ทางมีองค์แปดประการอันประเสริฐ" - the Noble Eightfold Path
องค์ 8 ของมรรคมีดังนี้
1. สัมมาทิฏฐิ (Right view; right understanding) เห็นชอบ ได้แก่ ความรู้อริยสัจจ์ 4 หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือรู้อกุศลและอกุศลมูล กับ กุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท
2. สัมมาสังกัปปะ (Right thought) ดำริชอบ
3. สัมมาวาจา (Right speech) เจรจาชอบ
4. สัมมากัมมันตะ (Right action) กระทำชอบ
5. สัมมาอาชีวะ (Right livelihood) เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ
6. สัมมาวายามะ (Right effort) พยายามชอบ ได้แก่ ปธาน หรือสัมมัปปธาน 4
7. สัมมาสติ (Right mindfulness) ระลึกชอบ ได้แก่ สติปัฏฐาน 4
8. สัมมาสมาธิ (Right Concentration) ตั้งจิตมั่นชอบ ได้แก่ ฌาณ 4
องค์ 8 ของมรรค ตัดเข้าในธรรมขันธ์ 3 ข้อต้น
ข้อ 3, 4, 5 เป็น ศีล
ข้อ 6, 7, 8 เป็น สมาธิ
ข้อ 1, 2 เป็น ปัญญา
มรรคมีองค์ 8 นี้ เป็นอริยสัจจ์ ข้อที่ 4 และได้ชื่อว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า "ทางสายกลาง" เพราะเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่จุดหมายแห่งความหลุดพ้นเป็นอิสระ ดับทุกข์ ปลอดปัญหา ไม่ติดข้องในที่สุดทั้งสอง คือ กามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค
10/04/05
กัลยาณมิตตา
ความมีกัลยาณมิตร คือ มีผู้แนะนำสั่งสอน ที่ปรึกษา เพื่อนที่คบหาและบุคคลแวดล้อมที่ดี, ความรู้จักเลือกเสวนาบุคคล หรือเข้าร่วมหมู่กับท่านผู้ทรงคุณทรงปัญญามีความสามารถ ซึ่งจะช่วยแวดล้อม สนับสนุน ชักจูง ชี้ช่องทาง เป็นแบบอย่าง ตลอดจนเป็นเครื่องอุดหนุนเกื้อกูลแก่กัน ให้ดำเนินก้าวหน้าไปด้วยดี ในการศึกษาอบรม การครองชีวิต การประกอบกิจการ และธรรมปฏิบัติ, สิ่งแวดล้อมทางสังคมที่ดี
Having good friends; good company; friendship with the lovely; favorable social environment
ชอบอุปมาอุปมัยข้างล่างนี้มากเลย--
"ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็นบุพนิมิต ฉันใด
ความมีกัลยาณมิตรก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิต แห่งการเกิดขึ้นของอารยอัษฎางคิดมรรค แก่ภิกษุ ฉันนั้น"
อ้างอิงจาก: พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (Dictionary of BUDDHISM)โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต)
10/04/05
ขออนุโมทนาสาธุ จ้า
ผู้แนะทางธรรม+ทำ
roselle ^_^
ธรรมะสวัสดี,
อืมม์...ร้อนๆอยู่ดีๆ...เจอธรรมะแบบนี้ เย็นไปเยอะครับ ขอบคุณเจ้าของ Blog สัตว์สันโดด ที่ไม่ได้สร้างความประหลาด แต่อย่างใด.
The Noble of Eightfold Path !!! การให้นิยามในศาสนาพุทธ คงจะเป้นอะไรที่สามารถเข้าใจด้วยภาษาศาสตร์มากกว่านี้ ถ้ามีภาษาปะกิตมาช่วย ... (ทั้งนี้ไม่ได้ตั้งใจ จะให้ใช้ภาษาอังกฤษในบทเรียนศาสนาทั้งหมด เพราะเกรงว่าจะกลายเป็นผิดจุดประสงค์) เพราะ การที่เป็น Soundtrack 2 ภาษาย่อมทำให้เกิดความเข้าใจ ในแบบฉบับที่ไม่ต้องแปลไทยเป็นไทย หรือ แปลบาลีเป็นไทย และ จากนั้นยังต้องแปลความเข้าใจเป็นความถ่องแท้อีก ตัวอย่างเช่น อนัตตา ---> สูญญาตา ---> หรืออะไรก็สุดแล้วแต่ ---> สุดท้าย คำที่ให้ความหมายได้ถ่องขึ้น ---> Soullessness คำนี้ทำให้ปุถุชนอย่างผมเข้าใจ "อนัตตา" มากขึ้นอีก (ขอบคุณครับ)
ดูเหมือนท่านอ.ปยุตโต จะเป็น พุทธปราชญ์ ดังคำร่ำลือ ...
--- ผิดพลาดประการใด โปรดชี้แนะ ---
๑ โอม มณีปัท เมหุม ๑
Post a Comment
<< Home