The Man and The Tiger
ทุกวันนี้มีมนุษย์สายพันธุ์หนึ่งซึ่งกำลังถูกลดจำนวนลงเรื่อยๆ เนื่องจากไม่อาจปรับตัวเข้ากับ “สภาพแวดล้อมใหม่” พวกเขาถูกคุกคามอยู่เงียบๆ โดยโลกอาจไม่ทันสังเกต ทว่ามันเป็นการคุกคามที่ล่าลึกถึงระดับจิตวิญญาณ
พวกเขาถูกบีบให้รู้สึกผิด หรือไม่ก็ถูกต้อนเข้าสู่มุมอับ ถูกโดดเดี่ยวทอดทิ้ง กระทั่งถูกปฏิเสธซึ่งๆ หน้า เพียงเพราะเขาใช้ชีวิตอย่างอิสระ สันโดษไม่น้อมก้มให้กับชะตากรรม และยิ่งไม่ก้มให้จิตวิญญาณที่ต่ำกว่า
บ่อยครั้งไม่มีใครกล้าเผชิญหน้ากับพวกเขาแต่หลายครั้งพวกเขากลับถูกกลุ้มรุมทำร้ายด้วยริ้วแส้ที่มองไม่เห็น ถูกบีบให้เดินบนวิถีที่พวกเขาถือว่าเสแสร้งและอัปยศ
ทางเลือกมีอยู่เพียงสองประการ คือ ถ้าไม่คล้อยตามก็ต้องจมปลักอยู่กับความอ้างว้างเหี่ยวเฉา...โลกไม่มีที่ว่างสำหรับวิญญาณอิสระและความจริงแท้แห่งความเป็นคน
--บางส่วนจากบันทึกท้ายเล่ม “คนกับเสือ” เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
4 Comments:
หนังสือเล่มนี้ของคุณ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล...ทำให้รู้สึกว่าสังคมไมได้หว้าเหว่เกินไปจนถึงกับไม่มีที่ว่างให้ยืน...
ในภาษาอังกฤษมีคำคำหนึ่งซึ่งผมชอบมา คือคำว่า Wild แต่กระทั่งป่านนี้ก็ยังนึกไม่ออกว่าจะแปลเป็นไทยว่าอย่างไรจึงจะได้คำเดียวโดดๆ ที่ให้ความหมายเท่ากัน Wild อาจจะมีภาษาไทยเทียบเคียงได้หลายคำตั้งแต่ดิบ เถื่อน เป็นธรรมชาติ ไร้ทิศทาง ไปจนถึงอะไรซักอย่างที่ไม่เชื่อง และทั้งหมดนี้ไม่จำเป็นต้องมีนัยไปในทางถ่อย ชั่วช้า
สาเหตุที่ทำให้ผมชอบคำว่า Wild นอกเหนือไปจากความหมายโดยตัวของมันเองแล้ว ก็ยังมาจากการอ่านนิยายของ Jack London เรื่อง "The Call of the Wild" ซึ่งสามารถสะท้อนความลึกของคำดังกล่าวออกมาได้อย่างถึงที่สุด
เป็นความหมายแห่งวิญญาณอิสระ
--------------------
ในงานเขียนของ Jack London ตอนที่เจ้าบั๊ก ตัดสินใจผละออกจากอารยธรรมนั้น มันสามารถถอนตัวออกจากการอยู่ร่วมกับมนุษย์ในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้เนื่องจากมันเป็นหมา แต่สำหรับคนคนหนึ่ง การถอนตัวออกจากเพื่อนมนุษย์โดยสิ้นเชิงนั้น ดูเหมือนจะเป็นเรื่องยากลำบากสิ้นดี กระทั่งคงเป็นไปไม่ได้
อย่างไรก็ตามผมมีความรู้สึกว่า หากคนเราจะต้องอยู่ร่วมกัน มันน่าจะมีพันธนาการอะไรซักอย่างที่ "แน่นหนา" และถูกต้องกว่าที่เป็นอยู่ มิฉะนั้นแล้วแต่ละคนก็ไม่มีทางเลือก นอกจากจะต้องดูแลตัวเองไปอย่างดิบ เถื่อน และ "ไม่เชื่อง" ต่อใครทั้งสิ้น
วิญญาณอิสระนั้นอาจจะเป็นศักดิ์ศรีพื้นฐานของความเป็นคน แต่ถึงกระนั้น ก็นับเป็นวิญญาณที่เปลี่ยวเหงายิ่ง
ผมเข้าใจเรื่องนี้ค่อนข้างดี....
-จาก "ความรักและความเถื่อน" หนึ่งในเรียงความรวมเล่มชุด "คลื่นเสรีภาพ" โดย เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
พอดีนึกขึ้นได้ว่ามีหนังสือเด็กอยู่เล่มนึงที่ตัวเองชอบมากๆ และบอกได้อย่างไม่อายเลยว่า ตอนไปยืนอ่านที่ร้านหนังสือครั้งแรกนี่...น้ำตาไหลด้วยล่ะ ทำไมหนอ...รู้แต่ว่ามันมีจุดร่วมบางอย่างที่คล้ายคลึงกับเรื่อง "คนกับเสือ" อย่างมาก...หากใครยังไม่ได้อ่าน เราขอแนะนำมา ณ โอกาสนี้!
Uncle Shelby's Story of Lafcadio, The Lion who Shot Back. 1st ed. New York: Harper & Row, 1963.
After leaving the jungle for the circus and a life of fame and wealth, a lion who taught himself to be the best shot in the world discovers he's not really a lion anymore, and not really a man, either.
..........
"And now, children, your Uncle Shelby is going to tell you a story about a very strange lion -- in fact, the strangest lion I have ever met." So begins one of Shel Silverstein's very first children's books, Lafcadio, the Lion Who Shot Back. It's funny and sad and has made readers laugh and think ever since it was published in 1963.
Post a Comment
<< Home