There are no coincidences in the universe.

Solitary Animal: Mindfulness of Death

Friday, November 11, 2005

Mindfulness of Death

ถึงแม้ว่าความตายจะเป็นธรรมดาโลก แต่หากเกิดขึ้นกับคนในครอบครัว คนใกล้ชิดหรือเพื่อนสนิทวันนี้วันพรุ่งนี้ เรายังไม่แน่ใจเลยว่าจะพยุงความรู้สึกได้มากแค่ไหน...เพราะการมีเขาเหล่านี้ในชีวิตของเรามันกลายเป็นความรู้สึกเคยชินไปแล้วจริงๆ ดังนั้น เราจึงต้องหมั่นระลึกถึงความตายให้ถึงพร้อมอยู่เสมอ

3 Comments:

Blogger solitary animal said...

คัดมา

============================
นี่คือจดหมายข่าวจากดังตฤณดอทคอม ฉบับวันพฤหัสบดีบดีที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๘

คนเราถ้าไม่ได้คุยกัน ไม่ได้เห็นหน้ากัน
พอได้ข่าวว่าตายก็ไม่แปลกใจ
และรู้สึกว่าเป็นเรื่องธรรมดาของเขา
เป็นเรื่องปกติที่ชาวโลกทั้งหลายต้องตายทุกวัน

แต่ถ้าได้คุยกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน
เห็นหน้าค่าตากันเป็นปกติ
เราจะเกิดความรู้สึกเคยชินขึ้นมาอย่างหนึ่ง
สรุปเป็นความเชื่อ หรือความยึดมั่นว่าคนนี้คงไม่ตายเร็ว
เดี๋ยวพรุ่งนี้ก็ได้คุยกันอีก

ต่อเมื่อวันพรุ่งนี้มาถึงจริงๆ
ได้ยินข่าวว่าเขาตายแล้ว
ความรู้สึกแรกของคนที่ไม่เตรียมใจไว้ก่อน
ย่อมเป็นความไม่อยากเชื่อ
เนื่องจากความเคยชินถูกตัดให้ขาดตอนกะทันหัน
คำพูดบางอย่างยังค้างอยู่ในปาก
ความคิดบางอย่างยังค้างอยู่ในหัว
แต่จู่ๆคู่สนทนาก็อยู่ในภาวะดับหายไปเฉยๆ
และไม่กลับมาสานต่อความเคยชินอีกแล้ว

หลายวันก่อนมีสมาชิกในเว็บบอร์ดลานธรรมเสวนาท่านหนึ่ง ได้ถึงแก่อสัญกรรมไปก่อนวัยอันควร
(ที่จริงคือความตายมีสิทธิ์มาถึงทุกวัยไม่จำกัด
แต่ถ้าพูดตามสำนวนที่นิยมก็ต้องว่าก่อนวัยอันควร)
เมื่อทราบข่าวจากน้องที่รู้จักผู้ตาย
ผมก็เข้าไปดูความเห็นสุดท้ายของผู้ตาย
ด้วยความสังหรณ์ว่าจะอาจได้ร่องรอยบางอย่างอันก่อให้เกิดมรณสติ
ซึ่งก็ใช่จริงๆ แม้ช่วงหลังผมเห็นคนตายมาก ทั้งญาติและไม่ใช่ญาติ
ก็ไม่ให้ความรู้สึกที่ชัดเจนเท่ากับฟังคำพูดบอกลางเท่านี้

คำพูดก่อนตายของคนบางคน
ก่อให้เกิดความสะเทือนชัดไปถึงความรู้สึกข้างใน
ว่าพวกเราอยู่ใกล้ความตายกันแค่หลับตานอนเท่านี้เอง
ลองไปอ่านดูแล้วตัดสินว่าคุณรู้สึกอย่างผมไหม
http://larndham.net/index.php?showtopic=17401

(หมายเหตุไว้นิดหนึ่งเป็นความรู้เกี่ยวกับศัพท์ พจนานุกรมให้เขียนมรณสติ
หรือมรณัสสติได้โดยความหมายเดียวกัน
หมายถึงการระลึกถึงความตายอันจะต้องมีมาถึงเราเป็นธรรมดา)

Friday, November 11, 2005 8:01:00 AM  
Blogger solitary animal said...

การอบรมกรรมฐาน "มรณสติแบบทิเบต"

บาร์โด: การเตรียมตัวตายอย่างมีสติตามแบบพุทธวัชรยาน

ในศาสนาพุทธวัชรยาน มีคำสอนสำคัญว่าด้วยบาร์โด ตรงกับศัพท์ภาษาสันสกฤตว่า “อันตรภพ” หมายถึงสภาวะระหว่างการตายกับการเกิดใหม่ซึ่งมนุษย์เราต้องประสบเมื่อตาย จริงๆแล้ว เราประสบกับบาร์โดอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เพราะบาร์โดยังหมายถึงการดำรงชีวิตอยู่ (สภาวะระหว่างการเกิดกับการตาย) การฝัน (สภาวะระหว่างการนอนหลับกับการตื่น) และการทำสมาธิ (สภาวะระหว่างการอยู่ในสมาธิกับการอยู่นอกสมาธิ)

บาร์โดที่เกี่ยวกับความตายหมายถึงช่วงเวลาที่เราตายไปจนกระทั่งไปเกิดใหม่ซึ่งโดยปกติกินเวลา 49 วัน ในช่วงเวลานี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างยยิ่งใหญ่ 3 ครั้ง ในขณะที่เรากำลังจะตาย ขณะที่เป็นสัมภเวสี และขณะที่กำลังจะไปเกิดใหม่ หากเราไม่เคยรู้จักบาร์โดมาก่อน เมื่อตายไป เราย่อมเกิดความกลัวและมีความทุกข์ทรมานอย่างมาก เปรียบเสมือนการเดินทางไปดินแดนใหม่ หากเราไม่เคยรับรู้เรื่องราวของดินแดนนี้มาก่อน เราย่อมเกิดความกังวลใจหรือไม่ทราบว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร

คำสอนว่าด้วยบาร์โดนี้เป็นคำสอนที่ยิ่งใหญ่เพราะนอกจากจะทำให้เราได้เตรียมตัวตายอย่างมีสติแล้วยังสามารถนำพาเราไปสู่ความหลุดพ้นได้ ในขณะที่อยู่ในบาร์โด หากเรารู้ตัวและรู้ทันสิ่งที่เกิดขึ้น เราสามารถแปรเปลี่ยนประสบการณ์ที่น่ากลัว (นิมิตของบาร์โด) เป็นประสบการณ์ที่นำไปสู่การตรัสรู้ คำสอนนี้ถ่ายทอดในทิเบตในคริสต์ศตวรรษที่ 14 โดยการ์มา ลิงปะ พระอาจารย์นิกายญิงมาปะ (นิกายโบราณ) ผู้ค้นพบคัมภีร์ที่ว่าด้วยเรื่องนี้ซึ่งเป็นคำสอนของพระคุรุปัทมสมภพ พระพุทธเจ้าองค์ที่สองของชาวทิเบต

คัมภีร์นี้รู้จักกันในนาม “คัมภีร์มรณศาสตร์” (Tibetan Book of the Dead) แต่ชื่อภาษาทิเบตเรียกว่า “บาร์โด เทอเตรอ” หมายถึงการหลุดพ้นจากบาร์โดโดยการได้ยิน ด้วยการได้ยินให้อานิสงส์ที่เพาะเมล็ดพันธุ์ของการหลุดพ้นได้ พระลามะจึงมักจะสวดหรืออ่านคัมภีร์นี้ให้แก่บุคคลที่กำลังจะตาย

แม้ว่าบาร์โดเป็นสภาวะที่มนุษย์โดยทั่วไปต้องประสบ แต่หากได้ปฏิบัติธรรมมาดี มีหลักฐานชี้ให้เห็นชัดว่าผู้นั้นไม่ต้องทนทุกข์ในบาร์โด หลักฐานที่ชัดเจนที่สุดคือการที่ผู้ปฏิบัติธรรมสามารถกำหนดเวลาที่จะตายได้และเมื่อตายแล้วร่างได้สลายกลายเป็นอากาศธาตุ หรือที่กล่าวกันว่าร่างได้กลายเป็น “ร่างรุ้ง” หรือ “ร่างประภัสสร”

โซนัม ท็อปเกียล ริมโปเชให้ความสำคัญกับเรื่องความตายและการเตรียมตัวตายเป็นพิเศษ ท่านได้อบรมเกี่ยวกับบาร์โดในสถานที่ต่างๆในโลกตะวันตกเป็นเวลาต่อเนื่องกันหลายปี นับเป็นโอกาสดีที่ท่านจะมาทำการอบรมเรื่องนี้ในประเทศไทยโดยท่านจะเน้นวิธีการนั่งกรรมฐานเพื่อให้เราได้พินิจสัจธรรมของชีวิตและเข้าใจธรรมชาติของบาร์โด

ริมโปเชเน้นว่าผู้เข้ารับการอบรมไม่จำเป็นจะต้องเป็นผู้ปฏิบัติธรรมตามครรลองของวัชรยาน เพียงแต่ขอให้มีศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาก็เข้ารับการอบรมได้ แต่หัวใจหลักอยู่ที่ผู้เข้ารับการอบรมต้องสามารถมาเข้าอบรมเพื่อบำเพ็ญเพียรในครั้งนี้ให้ได้ครบทั้งสองวัน

ในการจัดการอบรมครั้งนี้ มูลนิธิพันดาราได้รับความอนุเคราะห์จาก Metanexus Institute และ ริโวเช ธรรมสถาน

"เมื่อบาร์โดแห่งความตายมาถึง ร่างกายเกิดการกระทบกระเทือนครั้งยิ่งใหญ่ ธาตุต่างๆแตกสลาย จิตสับสน หวาดกลัว ตื่นตระหนก ด้วยไม่สามารถจะทำให้ชีวิตมีระเบียบและรูปแบบดังที่เคยเป็น ไม่รู้ว่าอนาคตจะเป็นเช่นไร ประสบการณ์ในบาร์โดจึงเป็นความทุกข์อันที่สุด บาร์โดแห่งความตายเกิดขึ้นในขณะที่เริ่มปรากฏกระบวนการตายไปจนถึงเมื่อลมหายใจเฮือกสุดท้ายหมดไป..."
(บางส่วนจากคำสอนของโซนัม ท็อปเกียล ริมโปเชที่ Bardo
Retreat นครโตรอนโต วันที่ 22 พฤศจิกายน 2539

Friday, November 11, 2005 11:38:00 AM  
Blogger solitary animal said...

มูลนิธิพันดาราร่วมกับรีโวเช ธรรมสถาน

ขอเชิญร่วมปฏิบัติกรรมฐาน

มรณสติแบบทิเบต: “บาร์โด” สภาวะหลังความตาย

เพื่อระลึกถึงการตายจากเหตุการณ์สึนามิในวันที่ 26 ธันวาคม 2547

ผู้ทำการอบรม: พระวัชราจารย์เคนโป โซนัม ท็อปเกียล ริมโปเช
(เจ้าอาวาสวัดริโวเช นครโตรอนโต แคนาดา)

ผู้แปล: รศ. ดร. กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์
วันเสาร์และอาทิตย์ที่ 24-25 ธันวาคม 2548

ห้อง 103 ตึกอักษรศาสตร์ 4 อยู่ใกล้ๆโรงอาหารอักษร

ค่าลงทะเบียน 1,000 บาท สำหรับนักศึกษา ภิกษุ ภิกษุณี สามเณร สามเณรีและแม่ชี
ค่าลงทะเบียน 2,000 บาท สำหรับบุคคลทั่วไป

ค่าลงทะเบียนรวมค่าเอกสาร อาหารว่างและอาหารกลางวัน

แจ้งความจำนงได้ที่รศ. ดร. โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ หรือนายวัชรดารา อมิตาภาพร

โทร 02-2184756 โทรสาร 02-2184755, 02-5285308
E-mail: soraj.h@chula.ac.th; soraj@yahoo.com

กรุณาจ่ายค่าลงทะเบียนล่วงหน้าโดยโอนเงินเข้าบัญชีต่อไปนี้
บัญชี (ออมทรัพย์) ชื่อ "มูลนิธิพันดารา"
บัญชีเลขที่ 052-0-02254-8 ธนาคารกรุงไทย สาขาสยามสแควร์
กรุณาส่งโทรสารหลักฐานการโอนเงินที่หมายเลขโทรสารข้างต้น

ผู้เข้าอบรมกรุณานำเบาะรองนั่งมาด้วย

มูลนิธิพันดารา

Friday, November 11, 2005 11:39:00 AM  

Post a Comment

<< Home

Gabu on Facebook