There are no coincidences in the universe.
Existing, living, or going without others; alone
View my complete profile
posted by solitary animal @ 8:02 PM
ใครทำน้องร้องไห้หละเนี่ยหรือว่า คุณอาหนีไปเที่ยวไม่พาตินตินไปด้วยติน ติน เลยงอแงซะเลย
น่า ฉง ฉานน ... โธ่.ๆน้ำตานองหน้าเลยR.CLiNTcaid
เห็นใจตินตินกันเป็นแถวเลยอ่ะ แหม...ตินตินเจ้าบทบาทจะตายไป...ร้องไห้ไม่ถึง 2 นาที เดี๋ยวก็หัวเราะได้แล้วล่ะ :P
โลกก้าวไกลลูกต้องก้าวให้ทัน..เชิญเรียนที่ม.รัตนบัณฑิต said... "พิโถพิถัง ดูผาดๆเห็นทรงผมนึกว่าดาราเกาหลี ที่แท้ก็เป็นไอ้เจ้าตินตินนี่เอง 55555555"--------------------------------เนชั่นสุดสัปดาห์ปีที่ 13 ฉบับที่ 619 วันที่ 12 -18 เม.ย. 2547บันทึกจากข้างบาททาง / รอน แรมทาง ...ถ้าถามถึงปลายทางของการศึกษาเล่าเรียนใช่หรือไม่ว่า - - คำตอบคือ 'มหาวิทยาลัย'"เรียนสูงๆ ไว้นะลูก..." ดูเหมือนเป็นประโยคคล้ายคาถาสำเร็จรูปสำหรับกล่อมเกลาบุตรธิดาของทุกครอบครัว"จบแล้วจะไปสอบต่อเข้ามหา'ลัย ไหน?..." นี่ก็เสมือนเป็นประโยคปัจฉิมนิเทศน์จากครูบาอาจารย์ที่ถามเหล่าลูกศิษย์ชั้นเตรียมอุดมฯจริงอยู่ 'มหาวิทยาลัย' คือสถาบันการศึกษาขั้นสูงแห่งการประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้และหมายรวมถึงจริยธรรมของมนุษย์ - - แต่เป้าหมายการเข้ามหาวิทยาลัยของสังคมไทยในเวลานี้ อยู่ที่วิชาความรู้และจริยธรรมเช่นนั้นหรือ?!?...: กัลกัตต้า, ประเทศอินเดีย :...จำได้ว่า เช้าวันนั้นเป็นวันอาทิตย์ เนื่องจากร้านรวงส่วนใหญ่หยุดพักค้าขายหนึ่งวันความที่ผมไม่รู้ธรรมเนียมมาก่อน จึงหลงตื่นแต่เช้าแล้วเดินไปเตร็ดเตร่อยู่ท่ามกลางบรรยากาศราวกับเป็นตลาดร้างทว่า ขณะที่กำลังตัดสินใจจะเดินกลับที่พัก, เสียงใสๆ ของเด็กๆ ซึ่งดังมาจากมุมตึกด้านหนึ่ง ก็ดึงให้ผมเปลี่ยนทิศทางบนบาทวิถีกว้างประมาณร่วมห้าเมตร, เด็กชาย-หญิงวัยประถมต้นกว่าสามสิบคน ส่วนใหญ่นุ่งเสื้อผ้าชุดสีฟ้าหม่น นั่งกันเป็นระเบียบอยู่บนผ้าห่มเก่าๆ ที่ปูต่อกันเป็นผืนใหญ่ ทั้งหมดต่างมีสมุด-หนังสือคนละเล่ม และหันหลังให้ถนน จะมีก็เพียงครูสาวในชุดส่าหรีคนเดียวเท่านั้นที่หันหน้าออกมาผมเฝ้าดูพลางถ่ายรูปอย่างระมัดระวัง เพราะไม่อยากรบกวนสมาชิกของชั้นเรียนข้างถนน - - ผ่านไปร่วมชั่วโมง เด็กๆ เริ่มทยอยแยกย้ายจากไป"...คุณมารับจ้างสอนพิเศษหรือ?" ผมถามครูสาว"ก็ไม่เชิง... คือดิฉันเป็นอาสาสมัคร มาสอนเด็กๆ เฉพาะวันอาทิตย์... เด็กพวกนี้เป็นเด็กด้อยโอกาสจากครอบครัวยากจนที่อาศัยอยู่แถวนี้ ซึ่งปกติวันธรรมดาจะไม่ได้ไปโรงเรียน เพราะต้องช่วยครอบครัวทำมาหากิน..." เธอตอบ"แล้วคุณสอนอะไรแก่เด็กเหล่านี้?""เป้าหมายหลักก็แค่ให้เด็กด้อยโอกาสได้อ่านออกเขียนได้... ส่วนเรื่องจะถึงขั้นได้เรียนชั้นสูงๆ หรือวิชาการอะไร คงเป็นเรื่องไกลเกินไป..."ครับ... ผมเก็บรูปกับเรื่องนี้ไว้หลายปี และคิดว่าเป้าหมายของการเล่าเรียน บางทีมันก็ขึ้นอยู่กับมิติทางสังคมที่คนนั้นถือกำเนิด......ตัดฉากกลับมาที่บ้านของเราทุกปีพอเข้าฤดูสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย มักมีข่าวเกี่ยวกับปริมาณผู้สมัครสอบกับจำนวนที่มหาวิทยาลัยสามารถรับเข้าศึกษา! และข่าวอีกข่าวที่มีควบคู่กันคือเรื่องวิธีทุจริตในการสอบ!!!ทำไม 'มหาวิทยาลัย' จึงเป็นเป้าหมายปลายทางของการศึกษา? - - ข่าวพวกนั้นทำให้ผมตั้งคำถามแน่นอน - - 'มหาวิทยาลัย' คือสถาบันการศึกษาขั้นสูงแห่งการประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ . . . . ทว่า มันคือคำตอบที่ถูกทั้งหมดกระนั้นหรือ?!?, ผมสงสัยสมมติว่า - - ต่อไปกรรมกรผู้ใช้แรงงานจะมีวุฒิการศึกษาสำเร็จปริญญาตรี มันคงเป็นเรื่องที่ดีอย่างยิ่ง ถ้าวุฒิปริญญาที่ได้นั้นมิใช่ใช้เพื่อเป็นมาตรฐานสำหรับวัดค่าฐานะหน้าตาของความเป็นคนสังคมแล้วจะเป็นเช่นนั้นได้หรือ?!? - - ผมสงสัยอีกเมื่อสงสัยมาถึงตรงนี้ - - ผมเลยไม่สงสัยข้องใจข่าวที่กำลังเถียงกันว่าข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยปีนี้ รั่ว-ไม่รั่ว . . . . และถ้ารั่ว, รั่วไปให้บุตรธิดาของใคร!เพราะดูเหมือนเป้าหมายการเข้ามหาวิทยาลัยในปัจจุบัน เราแยกเรื่องการศึกษากับจริยธรรมออกจากกันไปแล้วคิดดู - - คนที่มีอำนาจดูแลเรื่องพวกนี้ เขายังแยกปัญหาระหว่างการศึกษากับจริยธรรม อย่างชัดเจน . . . . เช่นนี้แล้ว, นอกจากใบปริญญา เราจะเอาอะไรกับเป้าหมายจากมหาวิทยาลัยกันเล่า?!?!?....
Post a Comment
<< Home
4 Comments:
ใครทำน้องร้องไห้หละเนี่ย
หรือว่า คุณอาหนีไปเที่ยวไม่พาตินตินไปด้วย
ติน ติน เลยงอแงซะเลย
น่า ฉง ฉานน ... โธ่.ๆ
น้ำตานองหน้าเลย
R.CLiNTcaid
เห็นใจตินตินกันเป็นแถวเลยอ่ะ แหม...ตินตินเจ้าบทบาทจะตายไป...ร้องไห้ไม่ถึง 2 นาที เดี๋ยวก็หัวเราะได้แล้วล่ะ :P
โลกก้าวไกลลูกต้องก้าวให้ทัน..เชิญเรียนที่ม.รัตนบัณฑิต said...
"พิโถพิถัง ดูผาดๆเห็นทรงผมนึกว่าดาราเกาหลี ที่แท้ก็เป็นไอ้เจ้าตินตินนี่เอง 55555555"
--------------------------------
เนชั่นสุดสัปดาห์
ปีที่ 13 ฉบับที่ 619 วันที่ 12 -18 เม.ย. 2547
บันทึกจากข้างบาททาง / รอน แรมทาง
...ถ้าถามถึงปลายทางของการศึกษาเล่าเรียน
ใช่หรือไม่ว่า - - คำตอบคือ 'มหาวิทยาลัย'
"เรียนสูงๆ ไว้นะลูก..." ดูเหมือนเป็นประโยคคล้ายคาถาสำเร็จรูปสำหรับกล่อมเกลาบุตรธิดาของทุกครอบครัว
"จบแล้วจะไปสอบต่อเข้ามหา'ลัย ไหน?..." นี่ก็เสมือนเป็นประโยคปัจฉิมนิเทศน์จากครูบาอาจารย์ที่ถามเหล่าลูกศิษย์ชั้นเตรียมอุดมฯ
จริงอยู่ 'มหาวิทยาลัย' คือสถาบันการศึกษาขั้นสูงแห่งการประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้และหมายรวมถึงจริยธรรมของมนุษย์ - - แต่เป้าหมายการเข้ามหาวิทยาลัยของสังคมไทยในเวลานี้ อยู่ที่วิชาความรู้และจริยธรรมเช่นนั้นหรือ?!?...
: กัลกัตต้า, ประเทศอินเดีย :
...จำได้ว่า เช้าวันนั้นเป็นวันอาทิตย์ เนื่องจากร้านรวงส่วนใหญ่หยุดพักค้าขายหนึ่งวัน
ความที่ผมไม่รู้ธรรมเนียมมาก่อน จึงหลงตื่นแต่เช้าแล้วเดินไปเตร็ดเตร่อยู่ท่ามกลางบรรยากาศราวกับเป็นตลาดร้าง
ทว่า ขณะที่กำลังตัดสินใจจะเดินกลับที่พัก, เสียงใสๆ ของเด็กๆ ซึ่งดังมาจากมุมตึกด้านหนึ่ง ก็ดึงให้ผมเปลี่ยนทิศทาง
บนบาทวิถีกว้างประมาณร่วมห้าเมตร, เด็กชาย-หญิงวัยประถมต้นกว่าสามสิบคน ส่วนใหญ่นุ่งเสื้อผ้าชุดสีฟ้าหม่น นั่งกันเป็นระเบียบอยู่บนผ้าห่มเก่าๆ ที่ปูต่อกันเป็นผืนใหญ่ ทั้งหมดต่างมีสมุด-หนังสือคนละเล่ม และหันหลังให้ถนน จะมีก็เพียงครูสาวในชุดส่าหรีคนเดียวเท่านั้นที่หันหน้าออกมา
ผมเฝ้าดูพลางถ่ายรูปอย่างระมัดระวัง เพราะไม่อยากรบกวนสมาชิกของชั้นเรียนข้างถนน - - ผ่านไปร่วมชั่วโมง เด็กๆ เริ่มทยอยแยกย้ายจากไป
"...คุณมารับจ้างสอนพิเศษหรือ?" ผมถามครูสาว
"ก็ไม่เชิง... คือดิฉันเป็นอาสาสมัคร มาสอนเด็กๆ เฉพาะวันอาทิตย์... เด็กพวกนี้เป็นเด็กด้อยโอกาสจากครอบครัวยากจนที่อาศัยอยู่แถวนี้ ซึ่งปกติวันธรรมดาจะไม่ได้ไปโรงเรียน เพราะต้องช่วยครอบครัวทำมาหากิน..." เธอตอบ
"แล้วคุณสอนอะไรแก่เด็กเหล่านี้?"
"เป้าหมายหลักก็แค่ให้เด็กด้อยโอกาสได้อ่านออกเขียนได้... ส่วนเรื่องจะถึงขั้นได้เรียนชั้นสูงๆ หรือวิชาการอะไร คงเป็นเรื่องไกลเกินไป..."
ครับ... ผมเก็บรูปกับเรื่องนี้ไว้หลายปี และคิดว่าเป้าหมายของการเล่าเรียน บางทีมันก็ขึ้นอยู่กับมิติทางสังคมที่คนนั้นถือกำเนิด...
...ตัดฉากกลับมาที่บ้านของเรา
ทุกปีพอเข้าฤดูสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย มักมีข่าวเกี่ยวกับปริมาณผู้สมัครสอบกับจำนวนที่มหาวิทยาลัยสามารถรับเข้าศึกษา! และข่าวอีกข่าวที่มีควบคู่กันคือเรื่องวิธีทุจริตในการสอบ!!!
ทำไม 'มหาวิทยาลัย' จึงเป็นเป้าหมายปลายทางของการศึกษา? - - ข่าวพวกนั้นทำให้ผมตั้งคำถาม
แน่นอน - - 'มหาวิทยาลัย' คือสถาบันการศึกษาขั้นสูงแห่งการประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ . . . . ทว่า มันคือคำตอบที่ถูกทั้งหมดกระนั้นหรือ?!?, ผมสงสัย
สมมติว่า - - ต่อไปกรรมกรผู้ใช้แรงงานจะมีวุฒิการศึกษาสำเร็จปริญญาตรี มันคงเป็นเรื่องที่ดีอย่างยิ่ง ถ้าวุฒิปริญญาที่ได้นั้นมิใช่ใช้เพื่อเป็นมาตรฐานสำหรับวัดค่าฐานะหน้าตาของความเป็นคนสังคม
แล้วจะเป็นเช่นนั้นได้หรือ?!? - - ผมสงสัยอีก
เมื่อสงสัยมาถึงตรงนี้ - - ผมเลยไม่สงสัยข้องใจข่าวที่กำลังเถียงกันว่าข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยปีนี้ รั่ว-ไม่รั่ว . . . . และถ้ารั่ว, รั่วไปให้บุตรธิดาของใคร!
เพราะดูเหมือนเป้าหมายการเข้ามหาวิทยาลัยในปัจจุบัน เราแยกเรื่องการศึกษากับจริยธรรมออกจากกันไปแล้ว
คิดดู - - คนที่มีอำนาจดูแลเรื่องพวกนี้ เขายังแยกปัญหาระหว่างการศึกษากับจริยธรรม อย่างชัดเจน . . . . เช่นนี้แล้ว, นอกจากใบปริญญา เราจะเอาอะไรกับเป้าหมายจากมหาวิทยาลัยกันเล่า?!?!?....
Post a Comment
<< Home