นิทรรศการ “จากแสงเงาสู่ป่าหิมพานต์ตามพระราชเสาวณีย์”
ปรีชา เถาทอง
หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ระหว่างวันที่ 28 พฤษภาคม – 10 กรกฎาคม 2548
From Light Shade to Himmaphan Forest According to the Royal Command of Her Majesty the Queen - The Exhibition of “35 years of Preecha Thaothong
2 Comments:
วาทะศิลปิน
แนวความคิดและแรงบันดาลใจในการสร้างพระอุโบสถวัดใหญ่สุวรรณารามจำลอง
1.พุทธปรัชญาว่าด้วยกฏของเหตุผลในวัฏฏะสงสาร มนุษย์สัตว์โลกทั้งหลายต่างเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏะสงสาร มนุษย์สัตว์โลกทั้งหลายเมื่อมีการเกิด ก็มีการตั้งอยู่ชั่วขณะ และจะดับสูญไปในที่สุดเป็นอนิจจัง
2.กฏเกณฑ์เหตุผลในธรรมชาติคือกฏของสัจจะธรรม กลางวัน กลางคืน สว่าง มืด แสงและเงา ความดีและความชั่ว
3.กฏเกณฑ์เหตุผลของการกำเนิดแสงและเงาประกอบด้วย – แสงต้นกำเนิด วัตถุตัวกลางทึบแสง และฉากรับภาพ
4.รูปทรงศาสนสถานที่ปฏิบัติธรรมคือสถานที่ที่ใช้รูปสัญลักษณ์ แสดงสาระ สื่อความหมายถึงเจตนาคติของการสร้างสรรค์
รูปทรง สัญลักษณ์และการสื่อความหมาย
1. รูปทรงของแสงในช่วงเช้าที่ปรากฏบนพุทธศาสนสถานด้านทิศตะวันออก เปรียบได้กับการกำเนิดของมนุษย์ การเติบโต การรับรู้ในสรรพสิ่งที่เปลี่ยนกระตุ้นให้หลง อายุขัยเพิ่มพร้อมการสะสมความหลง ความไม่รู้ เปรียบได้กับแสงยามเที่ยงวัน
2. รูปทรงแสงในช่วงเวลาบ่ายที่ปรากฏบนพุทธศาสนสถานด้านทิศตะวันตกเปรียบได้ดั่งวิถีชีวิตมนุษย์ที่ย่างเข้าสู้วัยกลางคนที่เก็บสะสมเพิ่มพูนความไม่รู้ เพิ่มความโลภ โกรธ หลง ถ้าหากมนุษย์ในช่วงปัจฉิมวัยรู้จักปล่อยวาง มีสติระลึกได้ ลด ละ เลิกความโลภ โกรธ หลง ก็เปรียบได้กับรูปทรงแสงสว่างยามเย็นที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น และช่วงเวลาใกล้ค่ำที่จะมืดลงเปรียบได้กับชีวิตทุกผู้ทุกนามที่ย่างเข้าสู่ปัจฉิมวัย พร้อมที่จะละทิ้งสังขาร ย่างก้าวเข้าสู่เวลารัตติกาล อันเป็นวาระแห่งความสงบสันติสุขตลอดกาล
Post a Comment
<< Home