สิ่งที่ทำให้อองรี การ์ติเยร์-แบรสซง สนใจการถ่ายภาพอย่างจริงจังคือ การได้สัมผัสกับผลงานภาพถ่ายเซอร์เรียลิสต์ของช่างภาพชาวฮังกาเรียน Munkacsi ที่ชื่อว่า Three Boys at Lake Tanganyika ภาพนี้กลายเป็นอิทธิพลยิ่งใหญ่ของเขา ทำให้เขาอยากเป็นช่างภาพ อยากจะถ่ายภาพ “ภาพของเด็กๆ ผิวดำที่กำลังวิ่งเล่นอยู่กับคลื่นนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้ผมแทบไม่เชื่อว่านี่คือภาพที่จับได้มาจากกล้อง” หลังจากนั้นเขาก็หันไปหยิบกล้องและเริ่มถ่ายภาพอย่างจริงจัง
อองรี การ์ติเยร์-แบรสซง จัดนิทรรศการครั้งแรกที่เม็กซิโกในปี 1935 และหลังจากนั้นที่นิวยอร์กขณะที่อายุได้ 27 ปี ภาพในยุคนั้นของเขาได้นำเสนอความเชื่อทางด้านการเมืองของเขา อองรีศรัทธาต่อพรรคคอมมิวนิสต์สตาลิน ที่นิวยอร์กเขาได้เรียนวิชาภาพยนตร์กับ พอล สแตรนด์ เพื่อเรียนรู้และหาเครื่องมืออื่นๆ ที่จะสามารถจับภาพของโลกได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที ขณะที่ลัทธิชาตินิยมกำลังเติบโตในปี 1937 เขาตัดสินใจไปเป็นผู้ช่วยผู้กำกับ ฌอง เรอนัวร์ สร้างหนังชวนเชื่อ La Vie est? Nous หรือ People of France ระหว่างเกิดสงครามกลางเมืองในสเปน เขาสร้างหนังต่อต้านลัทธิมาร์กซิสต์ร่วมกับ แอร์เบรต์ คลีนเขาถ่ายหนังเด็กๆ ที่เล่นกันอยู่กลางถนน ได้อย่างสวยงาม แสดงถึงความสนุกสนานที่เกิดขึ้นแม้ว่ารอบด้านจะเกิดอะไรขึ้น สำหรับ อองรี การ์ติเยร์-แบรสซง แล้ว เด็กๆ นั้น เป็นสัญลักษณ์หมายถึงอิสระและเสรีภาพ
ไม่เพียงอยู่ในทีมสร้างเท่านั้น อองรี การ์ติเยร์-แบรสซง ยังได้ร่วมแสดงหนังเพลงของ Renoir เรื่อง Un Parti de Campagne หรือ A Day in the Country ในปี 1936 และ La Regle du Jeu (The Rules of the Game) ในปี 1939 ซึ่งทำให้เขาเข้าใจชีวิตที่อยู่อีกด้านของกล้อง สำหรับ อองรี การ์ติเยร์-แบรสซง นั้น การเป็นผู้กำกับภาพยนตร์เหมือนกับการเป็นนักเขียนนวนิยาย ซึ่งนำเสนองานด้วยการเล่าเรื่อง ซึ่งเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ แต่ว่าไม่ใช่สิ่งที่เขาถนัด เพราะว่าเขาไม่ใช่คนที่จะออกคำสั่งกับนักแสดงได้
ในปี 1944-1945 เขาทำภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Le Retour (The Return) ซึ่งนำเสนอภาพนักโทษฝรั่งเศสในมุมต่างๆ โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐ เขายังถ่ายภาพนิ่งไว้อีกมากมาย รวมทั้งภาพที่ครอบครัวได้กลับมาพบและอยู่รวมกันอีกครั้งที่สถานีรถไฟ ซึ่งเป็นภาพที่แสดงอารมณ์ได้อย่างล้นเหลือ การทำงานในช่วงนี้ของอองรี การ์ติเยร์-แบรสซง เกิดขึ้นด้วยความตั้งใจที่จะสร้างสรรค์โลกที่ดีกว่า
ในปี 1947 เขากับช่างภาพที่เคยทำงานร่วมกันที่ Ce Soir อย่างเช่น เดวิด เซย์มัวร์ และโรเบิรต์ คาปา รวมทั้งจอร์จ โรเจอร์ กลับมาร่วมกันทำเอเยนซี่ภาพชื่อ Magnum โปรเจ็กท์แรกๆ ของพวกเขาคือ People Live Everywhere, Youth of the World, Women of the World และ The Child Generation คอนเซ็ปต์การถ่ายภาพของอองรี การ์ติเยร์-แบรสซง นั้นถูกเรียกว่า Life Photography หรือ มนุษยนิยม นั้นได้รับความสนใจและได้รับความนิยมอย่างสูง
9 Comments:
หากคุณเป็นช่างภาพ หรือผู้ที่ชื่นชอบงานศิลปะภาพถ่าย โดยเฉพาะภาพถ่ายขาวดำ หนึ่งในปรมาจารย์ทางด้านการถ่ายภาพขาวดำที่คุณยอมรับนับถือนั้น อาจจะเป็นอองรี การ์ติเยร์-แบรสซง (Henri Cartier-Breasson)
อองรี การ์ติเยร์-แบรสซง นำเสนอผลงานอันโดดเด่น และผลงานเหล่านั้นก็ทำให้ช่างภาพอย่างเขากลายเป็นศิลปิน ภาพถ่ายจากมุมมองของเขาคือหนึ่งในรูปแบบของงานศิลปะ
สิ่งหนึ่งที่ทำให้ภาพถ่ายของอองรี การ์ติเยร์-แบรสซง น่าจดจำคือ เขาทำให้ภาพถ่ายเหมือนจริงเหล่านั้นชักชวนให้ผู้ชมหลุดพ้นออกไปจากความเป็นจริง
ภาพจริงที่สะท้อนออกอย่างเหนือจริง
เกิดในปี 1908 ที่ชองเตอลุป ประเทศฝรั่งเศส เมื่อเล็กๆ เค้าจะมีกล้องตัวเล็กๆ อยู่ตัวหนึ่งสำหรับถ่ายภาพเล่น แต่สิ่งที่ชื่นชอบมากกว่ากลับเป็นการวาดรูป เขาเคยไว้ครั้งหนึ่งว่าการวาดภาพเป็นความหลงใหลใฝ่ฝันของเขา เริ่มตั้งแต่ลุงที่เขานับถือ เป็นพ่ออีกคนหนึ่งของเขา ได้พาไปเยี่ยมชมสตูดิโอวาดภาพในช่วงคริสต์มาสของปีหนึ่งเมื่ออองรี การ์ติเยร์-แบรสซงเพิ่งจะมีอายุได้ 5 ขวบ เมื่อได้ไปอยู่ ณ ที่นั้น เขารู้สึกราวกับว่าถูกดูดเข้าไปในแคนวาส จากนั้นเขาก็ได้หัดวาดภาพสีน้ำมันกับลุงคนนี้เมื่ออายุได้ 12 ปี
หลังจากเลิกเรียนหนังสือ อองรี การ์ติเยร์-แบรสซง สมัครเป็นลูกศิษย์ของศิลปินดัง อองเดร โลต อองรี การ์ติเยร์-แบรสซงพูดถึงครูของเขาว่า อองเดร สอนให้เขาได้อ่านและเขียน นอกจากนั้นความสามารถทางด้านการถ่ายภาพของเขาก็ล้วนเป็นผลมากจากการฝึกหัดเพื่อเป็นช่างเขียนภาพซึ่งอองเดรเป็นผู้ฝึกฝนให้ทั้งสิ้น
ในปี 1925 อองรี การ์ติเยร์-แบรสซง ในวัย 17 ปี ยังเรียนอยู่กับ อองเดร เขาได้พบกับศิลปินกลุ่มเซอร์เรียลลิสต์ แม้ว่าเขาจะไม่ยอมรับแนวคิดของคนกลุ่มนั้นมาโดยตรง แต่ว่าเขาก็ได้นำแนวความคิดดังกล่าวมาปรับใช้ กลายเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลในการสร้างศิลปะในยุคแรกๆ ของเขา โดยเฉพาะเรื่องแรงกระตุ้นในการแสดงออก สัญชาตญาณ และทัศนคติในการคิดให้แตกต่างไม่ว่าจะเป็นเรื่องของศิลปะหรือว่าการใช้ชีวิต
เมื่ออองรี การ์ติเยร์-แบรสซง รู้สึกว่าเขาไม่อาจหาหนทางนำเสนอจินตนาการของเขาผ่านมาทางภาพจิตรกรรมได้ ในปี 1930 เขาจึงได้เดินทางไปแอฟริกาเพื่อหลุดพ้นจากอิทธิพลทางแนวคิดของผู้เป็นครูและเพื่อค้นหาตัวเอง ที่นี่เขาได้ถ่ายภาพและวาดรูป แต่ตอมาก็ล้มป่วยจึงต้องเดินทางกลับบ้าน
สิ่งที่ทำให้อองรี การ์ติเยร์-แบรสซง สนใจการถ่ายภาพอย่างจริงจังคือ การได้สัมผัสกับผลงานภาพถ่ายเซอร์เรียลิสต์ของช่างภาพชาวฮังกาเรียน Munkacsi ที่ชื่อว่า Three Boys at Lake Tanganyika ภาพนี้กลายเป็นอิทธิพลยิ่งใหญ่ของเขา ทำให้เขาอยากเป็นช่างภาพ อยากจะถ่ายภาพ “ภาพของเด็กๆ ผิวดำที่กำลังวิ่งเล่นอยู่กับคลื่นนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้ผมแทบไม่เชื่อว่านี่คือภาพที่จับได้มาจากกล้อง” หลังจากนั้นเขาก็หันไปหยิบกล้องและเริ่มถ่ายภาพอย่างจริงจัง
ประวัติของอองรี การ์ติเยร์-แบรสซงน่าสนใจไม่แพ้ผลงานของเขาเลยทีเดียว
โปรดติดตามตอนต่อไป ไลก้า คือ การขยายมุมมองของสายตา
"Henri Cartier-Bresson" เค้าคนนี้ เป็นผู้ทรงอิทธิพลต่อการถ่ายภาพแขนงนึงในยุคต่อๆมา... ถ้าต้องการจะหาเสพแนวทางแบบ แบรสซงๆ ก็สามารถหาเสพได้จาก หนังสือ ณัฐนลิน ... (เท่าที่เคยได้คุยกัน คุณ ณัฐนลิน แกไปศึกษาเรื่องทางภาพที่ฝรั่งเศษ และ ดูเหมือนจะได้อิทธิพลจาก Master แบรสซง กลับมา)...
ผมยังคงนั่งรอฟังเรื่องราวอื่นๆต่อไป...
G'day !
R.CLINTcaid.
มีโอกาสได้หยิบนิตยสาร "ณัฐนลิน" มาพลิกดูอยู่บ้างเหมือนกัน...รู้สึกว่าเป็นนิตยสารที่ 'ติสต์มากๆ เลย ล่าสุดสัมภาษณ์ใครน้า จำชื่อไม่ได้ (เจ้าของผลงานชุดพิงค์แมน) ที่เค้าสร้างสรรค์ร่วมกับคุณสมพงษ์ ทวี' น่าสนใจๆ (แรงดีนะ)
เดี๋ยวนี้บ้านเรามีหนังสือและนิตยสารให้เสพมากมายจริงๆ ตามอ่านไม่ทันเลยจริงๆ พูดแล้วคิดถึง Open จัง)
ไลก้า คือ การขยายมุมมองของสายตา
ในปี 1932 อองรี การ์ติเยร์-แบรสซง ได้เป็นเจ้าของกล้องตัวเล็กน้ำหนักเบาจากเยอรมันียี่ห้อ ไลก้า ด้วยคุณลักษณะ ของกล้องตัวนี้ทำให้เขาถ่ายภาพผู้คนได้โดยที่พวกเขาเหล่านั้นไม่รู้ตัว สำหรับเขากล้องคือสมุดสเกตช์ภาพและเป็นเสมือนเครื่องมือของสัญชาตญาณและแรงกระตุ้นตามธรรมชาติ ซึ่งแสดงผลออกมาเป็นภาพที่รวมคำถามและการตัดสินใจในช่วงเวลาเดียวกัน
เขาเคยพูดไว้ครั้งหนึ่งว่า "เพื่อให้ความหมายกับโลก เราต้องรู้สึกถึงตัวตนของเราที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งที่มองเห็นผ่านจากวิวไฟน์เดอร์"
ระหว่างปี 1931 และ 1935 อองรี การ์ติเยร์-แบรสซงได้เดินทางไปทั่วยุโรปตะวันออก รวมทั้งสเปน และเม็กซิโก ชีวิตของเขาค่อนข้างลำบาก ทว่ามีพรสวรรค์อย่างรุ่มรวยในเรื่องการถ่ายภาพ ซึ่งไม่ได้ช่วยให้ความเป็นอยู่ของเขาดีขึ้น เพื่อนของเขาบอกว่า ภาพถ่ายของอองรี การ์ติเยร์-แบรสซง นั้นมีมนต์และน่าอัศจรรย์ มันคือส่วนผสมระหว่างโศกนาฏกรรมและเรื่องตลก
ภาพถ่ายของอองรี การ์ติเยร์-แบรสซง ในยุคนี้นำเสนอความรู้สึกอันน่าตื่นเต้นที่มีต่อการผสมผสานอันไร้ขีดจำกัดของชีวิต งานของเขานำเสนอสุนทรียและจินตนาการแห่งภาพจริงของโลก ภาพของเขามีเรื่องเล่า เช่นเดียวกับที่บทกวีของนักประพันธ์เซอร์เรียลิสต์ทั้งหลายบอกกับคนอ่าน ศิลปินเซอร์เรียลิสต์นั้นนำเสนองานของพวกเขาโดยการค้นพบวัตถุและเรื่องราวที่มีอยู่จริงตามรายทาง และเปลี่ยนสิ่งเหล่านั้นโดยการเติมสิ่งอื่นๆ เข้าไป เช่นเดียวกับภาพถ่ายของอองรี การ์ติเยร์-แบรสซง คือภาพการดำเนินชีวิตของผู้คนธรรมดาที่กลายมาเป็นภาพกวี ภาพถ่ายของเขาคือ การเดินทางไปในโลกแห่งความเป็นจริงและโลกแห่งจิตภายใน
อองรี การ์ติเยร์-แบรสซง จัดนิทรรศการครั้งแรกที่เม็กซิโกในปี 1935 และหลังจากนั้นที่นิวยอร์กขณะที่อายุได้ 27 ปี ภาพในยุคนั้นของเขาได้นำเสนอความเชื่อทางด้านการเมืองของเขา อองรีศรัทธาต่อพรรคคอมมิวนิสต์สตาลิน ที่นิวยอร์กเขาได้เรียนวิชาภาพยนตร์กับ พอล สแตรนด์ เพื่อเรียนรู้และหาเครื่องมืออื่นๆ ที่จะสามารถจับภาพของโลกได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที ขณะที่ลัทธิชาตินิยมกำลังเติบโตในปี 1937 เขาตัดสินใจไปเป็นผู้ช่วยผู้กำกับ ฌอง เรอนัวร์ สร้างหนังชวนเชื่อ La Vie est? Nous หรือ People of France ระหว่างเกิดสงครามกลางเมืองในสเปน เขาสร้างหนังต่อต้านลัทธิมาร์กซิสต์ร่วมกับ แอร์เบรต์ คลีนเขาถ่ายหนังเด็กๆ ที่เล่นกันอยู่กลางถนน ได้อย่างสวยงาม แสดงถึงความสนุกสนานที่เกิดขึ้นแม้ว่ารอบด้านจะเกิดอะไรขึ้น สำหรับ อองรี การ์ติเยร์-แบรสซง แล้ว เด็กๆ นั้น เป็นสัญลักษณ์หมายถึงอิสระและเสรีภาพ
ไม่เพียงอยู่ในทีมสร้างเท่านั้น อองรี การ์ติเยร์-แบรสซง ยังได้ร่วมแสดงหนังเพลงของ Renoir เรื่อง Un Parti de Campagne หรือ A Day in the Country ในปี 1936 และ La Regle du Jeu (The Rules of the Game) ในปี 1939 ซึ่งทำให้เขาเข้าใจชีวิตที่อยู่อีกด้านของกล้อง สำหรับ อองรี การ์ติเยร์-แบรสซง นั้น การเป็นผู้กำกับภาพยนตร์เหมือนกับการเป็นนักเขียนนวนิยาย ซึ่งนำเสนองานด้วยการเล่าเรื่อง ซึ่งเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ แต่ว่าไม่ใช่สิ่งที่เขาถนัด เพราะว่าเขาไม่ใช่คนที่จะออกคำสั่งกับนักแสดงได้
การผสมตัวของศิลปะและการเมือง
ปลายทศวรรษ 1930 เขาเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมืองอย่างลึกซึ้ง อองรี การ์ติเยร์-แบรสซงกลายมาเป็นช่างภาพสำหรับหนังสือพิมพ์ของพรรคคอมมิวนิสต์ของฝรั่งเศสชื่อ Ce Soir เขาได้ทำงานร่วมกับยอดช่างภาพ โรเบิร์ต คาปา และเดวิด เซย์มัวร์ ภาพของเขาในยุคนี้เป็นเหมือนภาพสารคดีซึ่งสะท้อนภาพสังคมและแนวคิดทางสังคมวิทยาออกมาในภาพ แตกต่างไปจากงานเซอร์เรียลิสต์ในยุคแรกๆ ของเขา
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 อองรี การ์ติเยร์-แบรสซงได้เข้าร่วมกับหน่วยภาพยนตร์และภาพนิ่งของกองทัพฝรั่งเศส เขาถูกจับและเป็นนักโทษของนาซีนานถึง 3 ปี ในปี 1943 เขาหนีออกจากที่คุมขังไปทำงานอยู่ที่เซฟฟาร์มแห่งหนึ่งและเข้าทำงานร่วมกับหน่วยภาพใต้ดินเพื่อบันทึกภาพของเหล่านาซี ระหว่างนี้เองเขาได้ถ่ายภาพพอร์เทรตของบุคคลดังๆ ไว้มากมาย
ในปี 1944-1945 เขาทำภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Le Retour (The Return) ซึ่งนำเสนอภาพนักโทษฝรั่งเศสในมุมต่างๆ โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐ เขายังถ่ายภาพนิ่งไว้อีกมากมาย รวมทั้งภาพที่ครอบครัวได้กลับมาพบและอยู่รวมกันอีกครั้งที่สถานีรถไฟ ซึ่งเป็นภาพที่แสดงอารมณ์ได้อย่างล้นเหลือ การทำงานในช่วงนี้ของอองรี การ์ติเยร์-แบรสซง เกิดขึ้นด้วยความตั้งใจที่จะสร้างสรรค์โลกที่ดีกว่า
ในปี 1947 เขากับช่างภาพที่เคยทำงานร่วมกันที่ Ce Soir อย่างเช่น เดวิด เซย์มัวร์ และโรเบิรต์ คาปา รวมทั้งจอร์จ โรเจอร์ กลับมาร่วมกันทำเอเยนซี่ภาพชื่อ Magnum โปรเจ็กท์แรกๆ ของพวกเขาคือ People Live Everywhere, Youth of the World, Women of the World และ The Child Generation คอนเซ็ปต์การถ่ายภาพของอองรี การ์ติเยร์-แบรสซง นั้นถูกเรียกว่า Life Photography หรือ มนุษยนิยม นั้นได้รับความสนใจและได้รับความนิยมอย่างสูง
ศิลปะ ปรัชญา และประวัติศาสตร์ในภาพถ่าย
สงครามและเหตุการณ์ทางการเมืองนั้นมีผลต่องานของอองรี การ์ติเยร์-แบรสซงไม่น้อย เขาบอกว่า มันทำให้เขาสนใจใน "แอ็บสแตร็กต์" น้อยลง และหันไปให้ความสนใจกับความเป็นมนุษย์แม้ๆ มากขึ้น ม้ว่าเขาไม่ได้ต้องการจะเป็นโฟโตเจอนัลลิสต์ตั้งแต่แรก แต่ด้วยเส้นทางของชีวิตและอิทธิพลจากสิ่งรอบด้านทำให้เขาได้บอกเล่าการเปลี่ยนแปลงของสังคมไว้ในงาน
ระหว่างปี 1947-1949 อองรี การ์ติเยร์-แบรสซงได้ออกเดินทางไปทั่วโลกรวมทั้งอเมริกา อินเดีย และจีน เขาอยู่ที่เมืองจีนในช่วง 6 เดือนสุดท้ายที่พรรคก๊กมินตั๋งปกครองประเทศและ 6 เดือนแรกของยุคของเหมาปกครองประเทศ ระหว่างที่อยู่ที่จีนเขาได้พัฒนาความสนใจด้านพุทธศาสนา ซึ่งมีอิทธิพลในการถ่ายภาพของเขาด้วย หลังจากนั้น อองรี การ์ติเยร์-แบรสซง ก็ถ่ายภาพสิ่งต่างๆ แบบ "ที่มันเป็น" ซึ่งห่างไกลจากความเป็นเซอร์เรียลิสต์ของเขาตั้งแต่แรกเริ่ม
มีผู้อธิบายว่า สายตาของ อองรี การ์ติเยร์-แบรสซง นั้นละเอียดเหมือนตาของแมลงวัน ขณะที่โฟกัสไปที่สิ่งสิ่งหนึ่ง เขาก็จะมองเห็นสิ่งอื่นรอบๆ ด้านด้วย การทำงานของอองรี การ์ติเยร์-แบรสซงนั้นคือ การนำเอาความรู้ มนุษย์ศาสตร์ เทคนิค รูปทรง โอกาส และสัญชาตญาณ มาสังเคราะห์กัน ทั้งหมดรวมกันเป็นวินาทีแห่งการชี้ขาด และลั่นชัตเตอร์ เขาทำให้ภาพชีวิตปกติประจำวัน รวมทั้งภาพธรรมชาติ ของชีวิตมีความหมายมากมายกว่าที่เป็น
คุณค่าของภาพพอร์เทรตของเขานั้นเป็นที่ถกเถียงกันระหว่างศิลปินและนักวิจารณ์งานศิลปะ บางคนคิดว่า ภาพเหล่านั้นคือการล้อเลียนและไม่ได้เปิดเผยเกี่ยวกับเป้าหมายที่เขาถ่ายมากนัก ขณะที่บางคนก็บอกว่า เขาเข้าถึงธรรมชาติลึกๆ ของมนุษย์ แม้เพียงแวบเดียวที่เขามองเห็นเห็นเป้าหมายและลั่นชัตเตอร์
กลางปี 1970 อองรีกลับไปวาดภาพและสนใจเรื่องการถ่ายภาพน้อยลง และเขาก็ได้รู้สึกว่าการถ่ายภาพนั้นแตกต่างจากวาด และการกลับไปวาดภาพนั้นเหมือนกับการกลับคืนสู่วัยเยาว์ของเขาอีกครั้งหนึ่ง...
คุณค่าที่ไร้กาลเวลา
แบร์ทรองด์ กาดิล์ยัค ช่างภาพชาวฝรั่งเศสพูดถึงเหตุผลที่ทำให้ อองรี การ์ติเยร์-แบรสซง นั้นเป็นช่างภาพที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของโลก ว่า
"เขาเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้คน ไม่ว่าจะในฐานะคนคนหนึ่งหรือช่างภาพคนหนึ่ง เมื่อคุณได้เห็นภาพถ่ายของเขา คุณมักจะคิดเสมอว่า อยากถ่ายภาพนั้นได้ด้วยตัวเองบ้าง การได้ไปชมนิทรรศการภาพถ่ายของเขานั้นคือการทดสอบที่ยาก เพราะว่าคุณมักจะรู้สึกเสมอว่า อยากจะออกจากนิทรรศการเดี๋ยวนั้นเพื่อที่จะออกไปเดินทางบนท้องถนนและถ่ายภาพอันสมบูรณ์แบบอย่างเขาบ้าง...เขาเป็นแรงบันดาลใจให้กับช่างภาพมากมาย อิทธิพลของเขานั้นปรากฏอยู่ในงานของช่างภาพไม่ว่าจะรุ่นใดหรือทำงานสายไหน และไม่ใช่เพียงช่างภาพเท่านั้นที่จะรู้จักและชื่นชมผลงานของเขาได้..."
สิ่งที่ทำให้งานของเขาโดดเด่นจากงานของช่างภาพคนอื่นๆ นั้น แบร์ทรองด์ เห็นว่า "เขาเป็นทั้งจิตรกรและช่างภาพ เขาได้พยายามที่จะเชื่อมต่อช่องว่างระหว่างการถ่ายภาพและการวาดรูป ขณะถ่ายภาพเขาเห็นว่าตัวเองเป็นจิตรกรคนที่ใช้พู่กันที่แตกต่างออกไป เขามีความหลงใหลในงานของจิตรกรชาวอิตาเลียนยุคดั้งเดิม และเขาก็ได้นำอิทธิพลนั้นมาสร้างความสมดุลในการถ่ายภาพของเขา เช่นเดียวกับช่างภาพอื่นๆ ผมพยายามที่จะรู้จักเขา การได้ทำตามเขานั้นคือแบบฝึกหัดที่ยิ่งใหญ่และเป็นความสุข ชีวิตส่วนตัวของเขานั้นก็สร้างแรงบันดาลใจให้กับผมด้วย เขาเป็นคนชอบไปใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศ รวมทั้งได้รู้จักวัฒนธรรมที่แตกต่าง แต่ไม่ใช่การเดินทางไปเยือนแบบสั้นๆ และผิวเผิน เขาใช้เวลากับแต่ละสถานที่เพื่อเข้าใจมัน"
ชิ้นงานของอองรี การ์ติเยร์-แบรสซง ที่หลายคนชื่นชอบนั้นมีอยู่มากมาย เช่นที่แบร์ทรองด์ บอกว่า "งานของเขาที่ผมชอบคือ ชุดที่เขาไปถ่ายจิตรกร รูปหนึ่งที่เขาถ่ายคือ รูปเหมือนของ Matisse ซึ่งน่าจดจำมาก รูปหนึ่งเป็น Matisse นั่งอยู่ที่อาร์มแชร์ มีนกพิราบเกาะอยู่ที่มือ เขาเหมือนกับเป็นยักษ์อันศักดิ์สิทธิ์ที่นั่งอยู่ท่ามกลางนกพิราบอันอ่อนช้อย วินาทีนี้เหมือนกับว่า Matisse นั่งอยู่คนเดียวในห้อง ช่างภาพได้หายไป ชุดที่เขาถ่ายมาจากสเปนก็เป็นงานโปรดของผม มันเป็นงานที่สร้างสรรค์มาก"
อองรี การ์ติเยร์-แบรสซง เสียชีวิตในปี 2004 แต่เขาจะยังคงเป็นหนึ่งในช่างภาพผู้ยิ่งใหญ่ซึ่งโลกจดจำได้เสมอ...
Post a Comment
<< Home