There are no coincidences in the universe.
Existing, living, or going without others; alone
View my complete profile
posted by solitary animal @ 8:23 PM
วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคมนี้ ตรงกับขึ้น 15 ค่ำเดือนเจ็ดตามปฏิทินจันทรคติ และถือเป็นวันวิสาขบูชาเพราะปีปัจจุบันมีเดือนแปดสองหนวันถัดไปคือ 27 พฤษภาคม 2545 ถ้าความจำของผมไม่คลาดเคลื่อนนับเป็นวันเกิดครบร้อยปีของท่านพุทธทาสภิกขุ ปรมาจารย์ทางจิตวิญญาณคนสำคัญของไทย ซึ่งมรณภาพไปหลายปีแล้ว เนื่องจากบทความของผมจะได้รับการตีพิมพ์ใกล้กับวันสำคัญของชาวพุทธ ทั้งในระดับชาติ รับสากลถึงสองวัน ผมจึงขอถือโอกาสนี้เขียนอะไรที่เป็นแง่คิดทางธรรมของตัวเองสักเล็กน้อย
เรื่องของเรื่องก็ไม่มีอะไรมากหรอกครับ ถือว่าในระยะหลังๆ ผมมักจะมีโอกาสได้คุยกับพรรคพวกซ้ายเก่ามากขึ้นในประเด็นจิตวิญญาณ ซึ่งถ้าเป็นสมัยก่อนตอนอยู่ป่าขืนหยิบยกเรื่องแบบนี้มาอภิปราย มีหวังถูกวิพากษ์วิจารณ์จนต้องผูกคอตาย (โทษฐานคิดไม่เป็นวิทยาศาสตร์) ครั้นแก่เฒ่าลง เลิกปฏิวัติมาหลายปีไม่มีฝ่ายนำคอยควบคุม “ความถูกต้องทางความคิด” หลายคนจึงรู้สึกสบายปากและสบายใจขึ้น ที่จะคุยถึงปัญหาคุณค่าของชีวิตในฐานะปัจเจกชน และในส่วนที่ไม่ใช่การเมืองบ้าง ประเด็นหนึ่งที่พวกพ้องอดีตทหารป่าถามผมมามาก สืบเนื่องมาจากการที่ผมมักบอกกับผู้คนว่าปัจจุบันผมไม่มีจุดหมายในชีวิต หากมีแต่วิถีชีวิตที่ตัวเองเคร่งครัดรักษา....พวกเขาสงสัยว่าผมหมายความว่ากระไร....
ผมตอบเพื่อนๆ ไปว่าการไม่มีจุดหมายในชีวิตหมายถึงว่าไม่มีความต้องการสิ่งใดเป็นพิเศษนอกเหนือไปจากความสนองความจำเป็นพื้นฐานในชีวิตประจำวัน หรือใช้ความพยายามไปในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่หลีกเลี่ยงไม่พ้นยกตัวอย่างเช่น ในขณะที่ผมยังคงต้องการข้าวปลาอาหารเครื่องนุ่งห่มและต้องการทำงานแลกกับสิ่งเหล่านี้ แต่ผมก็ไม่ได้ฝันว่าตัวเองจะต้องเป็นรัฐมนตรี เป็นเศรษฐีหรือฝันว่าจะต้องมีตำแหน่งใหญ่โตในที่ทำงานที่ผมสังกัด ฯลฯแน่ละ การไม่มีจุดหมายแบบอยากเป็นโน่นมีนี่ อาจทำให้เราขาดแคลนหลายสิ่งหลายอย่างที่คนในสังคมให้ “คุณค่า” แต่มันก็ทำให้เราไม่ทุกข์ร้อนหลายเรื่องที่ผู้อื่นเค้าทุกข์ร้อนกันค่ำลงผมเคยต้องนอนเอามือก่ายหน้าผากเพราะกลุ้มใจเรื่องดอกเบี้ยแบงก์ ไม่ต้องกลัวใครจะมาเลื่อยขาเก้าอี้ และยิ่งไม่เคยวิตกกังวลว่าตัวเองจะได้ผลประโยชน์น้อยกว่าคนอื่น
ยิ่งไปกว่านั้นผมยังพบว่าการไม่มุ่งหวังสิ่งใด ยังช่วยปลดปล่อยเราออกจากภาระเปลือกนอกได้มากมายมหาศาล ตั้งแต่เรื่องแต่งเนื้อแต่งตัว ไปจนถึงการคบหากับผู้คน และการแสดงความคิดเห็น ในมิติเหล่านี้เราสามารถเป็นตัวของตัวเองได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะไม่จำเป็นต้องใช้ชีวิตเอาใจใคร (ยกเว้นคนที่เรารัก...คงต้องมีบ้าง)ถามว่าชีวิตแบบนี้หมายถึงการอยู่แบบไร้กฏกติกาใช่หรือไม่? คำตอบคือมิใช่เลย จริงๆ แล้ว ผมมีหลักการที่ใช้ควบคุมความประพฤติตัวเองอยุ่มากมาย ซึ่งตรงนี้แหละที่ผมถือว่าสำคัญผมบอกกับเพื่อนซ้ายเก่าไปว่าสมัยอยู่ป่าเราก็มีวิถีชีวิตที่เคร่งครัดมากทีเดียว เราตื่นก่อนนอนทีหลัง ดูแลมิตรสหายราวพี่น้องคลานตามกันมาและเผชิญภัยอันตรายด้วยความสงบราวผู้ทรงศีล ทั้งๆ ที่โดยส่วนตัวแล้วเราไม่มีจุดหมายอะไรเลย สมบัติทั้งหมดก็มีเป้ใส่ของใบเดียวเพราะฉะนั้น การใช้ชีวิตตามครรลองที่เราเห็นว่าถูกต้อง โดยไม่มุ่งหวังสิ่งตอบแทน จึงไม่ใช่เรื่องใหม่นักหนา เพียงแต่ว่าสมัยนั้นเราไม่รู้ว่านี่คือจิตวิญญาณของชีวิต และมักจะอธิบายมันด้วยทฤษฎีการเมืองล้วนๆ
ถามว่าแล้วทำไมทุกวันนี้หลายคนจึงไม่เก็บรับวิถีเก่ามาชี้นำชีวิตในปัจจุบัน?แน่ละ มิตรสหายจำนวนไม่น้อยคงตอบผมว่าในเมื่อจุดหมายมันไม่ดำรงอยู่แล้ว การปฏิวัติ พ่ายแพ้ไปนานแล้ว จะเข้มงวดตัวเองไปทำไมกัน ในเมื่อต้องอยู่กับโลกแห่งความเป็นจริงก็ต้องปรับเปลี่ยนกันบ้างต่อเรื่องนี้ ผมไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าใด เพราะผมคิดว่าวิธีใช้ชีวิตมันบ่งบอกความเป็นตัวเราเสียยิ่งกว่าจุดหมาย หรือถ้าจะพูดด้วยภาษาลัทธิมาร์กซ์ ก็คงต้องกล่าวว่าความเคลื่อนไหวและรูปแบบของการเคลื่อนไหวเป็นตัวกำหนดลักษณะของสรรพสิ่งยิ่งไปกว่านั้น ในฐานะที่มีพื้นฐานเป็นชาวพุทธ ผมยังสังเกตว่าคำสอนของศาสดาไม่เคยบอกเราเรื่องจุดหมายของชีวิตเลย หากบอกแต่วิธีการที่เรียกว่า “มรรค” เมื่อเราเดินไปในหนทางที่ถูกต้องแล้ว ชีวิตไม่เพียงสงบหรือลดทุกข์ได้มากขึ้น หากยังมีทั้งพลังและคุณค่าที่เพิ่มพูน
ผมลองเทียบคำสอนของพุทธศาสนากับอดีตหนหลังของตัวเอง และเพื่อนพ้องดู ก็พบว่าอุดมคติของพวกเราปรากฏเป็นจริงมากที่สุดในวิถีชีวิตที่เราใช้ หรือพูดอีกแบบหนึ่ง คือมันปรากฏบนเส้นทาง ทั้งๆ ที่ตอนนั้นเราไม่เคยเดินไปถึง “จุดหมาย”ทั้งหมดนี้ จริงๆ แล้วนับเป็นเรื่องเส้นผมบังภูเขามากทีเดียว และกว่าผมจะเข้าใจก็ใช้เวลาคร่ำครวญเรื่องการ “พ่ายแพ้” อยู่หลายปีปัจจุบันเพื่อนพ้องของผมพยายามจะตั้ง “จุดหมายใหม่” กันหลายคน ซึ่งโดยส่วนตัวแล้ว ผมไม่บังอาจไปวิพากษ์วิจารณ์ เพราะชีวิตของผู้ใดก็คงต้องดูแลรักษากันเองผมเพียงอยากจะบอกว่า “จุดหมายที่ดี” นั้นไม่อาจบรรลุได้ด้วยวิธีการที่เลว และมีอยู่บ่อยครั้งที่เราทำร้ายจุดหมายของตัวเองเพราะไม่ได้วางหลักการเรื่องวิธีการเอาไว้เลย ในทางตรงกันข้าม ตราบใดที่เราเดินตามมรรควิธีที่ถูกต้อง เราก็ไม่ต้องกังวลว่าตัวเองจะได้อะไร หรือจุดหมายของชีวิตอยุ่ที่ไหน...บางทีสิ่งเหล่านี้อาจจะไม่เคยมีจริง หากเป็นเพียงมายาภาพที่บังเอิญทรงพลังเดินตามวิถีธรรม แม้จะยังปลี่ยนโลกไม่ได้ ก็ไม่เพิ่มพูนการเบียดเบียน...นี่ต่างหากที่ใกล้เคียง “จุดหมาย” ที่บางท่านยืนยันว่าต้องมีเรื่องนี้บางทีอาจจะต้องคุยกันต่ออีกสักตอนสองตอน...
เสียดายจังที่เราไม่ได้เก็บบทความในตอนถัดมาเอาไว้ ก็เลยมีมาโพสต์แต่เพียงเท่านี้
พระปัจฉิมโอวาทของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อนจะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานหนฺททานิ ภิกฺขเว อามนฺตยามิ โว.วยธมฺมา สงฺขารา อป.ปมาเทน สมฺปาเทถาติดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บัดนี้ เราเตือนท่านทั้งหลาย สังขารทั้งหลาย (คือสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง ทั้งที่เป็นภายในและภายนอกทั้งที่พอใจและไม่พอใจ) มีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด.
สมดังที่ภาษาพระเรียกว่า เป็นการใช้ชีวิตแบบ "สันโดษ"คือพอใจในสิ่งที่ตนมีขออนุโมทนากับบทความดีๆ
"บทสวดสำคัญบทหนึ่ง เรียกกันว่า บทพาหุง หรือพาหุง 8 บท เรียกเป็นภาษาทางการว่า ชยมังคลัฏฐกคาถา บทสวดนี้ท่านรวบรวมขึ้นไว้เพื่อแสดงถึงวิธีที่พรtพุทธเจ้าทรงมีชัยชนะผ่านพ้นเหตุการณ์ร้าย โดยทรงแก้ปัญหาด้วยวิธีปฏิบัติต่าง ๆ กัน ในเหตุการณ์และปัญหาเหล่านี้ บางเรื่องพระพุทธเจ้าทรงแก้ด้วยวิธีเมตตา บางเรื่องทรงแก้ด้วยขันติ บางเรื่องทรงแก้ด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ บางเรื่องทรงแก้ด้วยวิธีแห่งอาการสงบ บางเรื่องทรงแก้ด้วยความลึกซึ้งแห่งการใช้ปัญญา บางเรื่องทรงแก้ด้วยการชี้แจงแสดงความจริง หรือแสดงธรรม"
ในแต่ละขณะของชีวิตที่เราเติบโตขึ้น ถ้าหากใช้ความสังเกต-เท่าทันตัวเองอย่างเพียงพอ เราจะพบว่า "เราเติบโตขึ้นมาพรอมๆ กับ "อะไรบางอย่าง" ที่ครอบงำเหนือชีวิตของเราจนเกินไปเราสั่งสม "ประสบการณ์ชีวิต" อย่างแน่นแฟ้น แล้วบอกกับตัวเองว่าเราเก่งขึ้น เราฉลาดขึ้น "เรารู้แล้ว" เราปิดกั้นความเป็นไปได้อื่นๆ และหาทางพิสูจน์ "ความเป็นหนึ่ง" กับผู้อื่นอย่างไม่รู้จักจบสิ้นเรามี "แบบ" ในอุดมคติที่เราพยายามพาตัวเองไปให้ถึง "แบบ" นั้น เราสลัดความเป็นตัวของตัวเองไปครั้งแล้วครั้งเล่า แล้วโหยหาความเป็นผู้อื่นตลอดเวลา สิ่งเหล่านี้ทำให้เราเหมือนถูกพันธนาการ ด้วยใยโว่ที่มองไม่เห็นอยู่ทุกขณะจิต แต่เมื่อเรา "รู้" ว่าเป้น "ผู้ถูกกักขัง" การดิ้นรนหาความเป้นอิสระ ยิ่งทุกข์ทรมานไม่น้อยไปกว่ากันทั้งหมดนั้นคือ "มโนทัศน์" (concept) ที่โลกถ่ายทอดมายังเรา เป็นหน้าที่ของมนุษย์ที่จะต้องแหวกกระแสแห่งมโนทัศน์ของโลกออกไปเพื่อก้าวไปสู่อิสรภาพโดยแท้จริงความหมายอยู่ที่การพยายาม-บางถ้อยคำจาก Zen Mind, Beginner's Mind
โอม มณี ปัทเม ฮุม หรือ "มณีในดอกบัว" ซึ่งชาวทิเบตเปรียบแก้วมณีคือ ความกรุณา และดอกบัวนั้นหมายถึง ปัญญา หรือ ความรู้ที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งความกรุณาและปัญญาจะเป็นหนทางนำมวลมนุษยชาติไปสู่ความหลุดพ้นในที่สุดขอขอบคุณ คุณ โอม มณี ปัทเม ฮุม ที่แบ่งปันสิ่งดีๆ ค่ะ :) ขอธรรมะคุ้มครองทุกท่านและครอบครัว
ธรรมะสวัสดี"ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ดั่งดอกไม้บาน"เพลงนี้เคยได้ยินไม๊จ๊ะ คนดีธรรมะคุ้มครอง ผู้มีธรรมะ
ธรรมะสวัสดีค่ะ คุณ Et CeTera เพลงที่ว่า...คิดว่าอาจจะเคยได้ยินนะ แต่ลืมไปแล้ว ใครร้องเหรอคะ? :p
พระพุทธเจ้าสอนว่า นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ "สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี"หมายความว่า ความสุขอื่นมี เช่น ความสุขในการดูละคร ดูหนัง ในการเข้าสังคม Social ในการมีคู่รักคู่ครอง หรือในการมีลาภยศ ได้รับความสุข สรรเสริญ และได้รับความสุขจากสิ่งเหล่านี้ ก็สุขจริงแต่ว่าสุขเหล่านี้มีทุกข์ซ้อนอยู่ทุกอย่าง ต้องคอยแก้ไขปรับปรุงกันอยู่เสมอไม่เหมือนกับความสุขที่เยือกเย็นและไม่ซ้อนด้วยความทุกข์ และไม่ต้องแก้ไขปรับปรุงตกแต่งมากเป็นความสุขที่ทำได้ง่ายๆ เกิดกับกายใจของเรานี่เองอยู่ในที่เงียบๆ คนเดียวก็ทำได้ หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมสังคมก็ทำได้ ถ้าเรารู้จักแยก ใจ หาสันติสุข กายนี้ก็เพียงสักแต่ว่าอยู่ในที่ระคนด้วยความยุ่ง สิ่งแวดล้อมเหล่านั้นไม่ยุ่งมาถึง ใจแม้เวลาเจ็บหนัก มีทุกขเวทนาปวดร้าวไปทั่วกาย แต่เรารู้จักทำใจให้เป็นสันติสุขได้ ความเจ็บนั้นก็ไม่สามารถจะทำให้ ใจ เดือดร้อนตามไปด้วย เมื่อใจสงบแล้ว กลับจะทำให้กายนั้นสงบ หายทุกขเวทนาได้ด้วย และประสบสันติสุข ซึ่งไม่มีสุขอื่นยิ่งกว่าสันติสุขนั้นนตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ "สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี"It needs a Peaceful Mind to support a Peaceful Body, and it needs a Peaceful Body to support a Peaceful Mind, and it needs Both Peaceful Body and Mind to attain all success that which you wish.
เพลงนี้มักจะเปิดที่เสถียรธรรมสถาน ไงจ๊ะ
บุญรักษาครับ..แต่ขอขัดลาภสักนิดข้าพเจ้าแหงนหน้ามองพระจันทร์ในวันวิสาขบูชาเมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ผ่านมาแถว ๆ ท่าพระอาทิตย์ แล้วรู้สึกว่าพระจันทร์ของคืนนั้นไม่เต็มดวง(นี่หว่า)และเมื่อคืนนี้(วันจันทร์)ลองแหงนหน้ามองพระจันทร์อีกครั้งก็เห็นว่านี่แหละเต็มดวงของแท้เช่นนั้นแล้วคงต้องยืนยันว่าคืนวันวิสาขบูชาที่ผ่านมาของประเทศไทยไม่ใช่วันขึ้น 15 ค่ำอย่างแน่นอนเมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลหรือความผิดพลาดใดก็ตาม นั่นหมายถึงเหตุอาเพศของแผ่นดินขอทุกท่าน(รวมทั้งข้าพเจ้าเอง)จงดูแลตัวเองให้ดีและดำรงตนด้วยความไม่ประมาทขอให้ทุกท่านโชคดี
คุณบัวปริ่มน้ำ...ขอมายืนยันด้วยคนว่าเมื่อคืนนี้ (วันจันทร์) เราแหงนหน้าชมจันทร์ขณะกลับบ้านราวๆ 3 ทุ่มกว่าๆ เห็นพระจันทร์สุกสว่างสวย งดงามเหลือเกิน แต่เมื่อคืนวันวิสาขบูชา เราไม่มีโอกาสได้ชื่นชมพระจันทร์ เลยไม่แน่ใจตามที่คุณบัวปริ่มน้ำเล่าให้ฟังน่ะอย่างไรก็ตาม ขอส่งความปรารถนาดีให้คุณบัวปริ่มน้ำและทุกท่านด้วยเช่นกันค่ะ บุญรักษาปล. ไปชมพระจันทร์ที่ท่าพระอาทิตย์ กะไปชมพระอาทิตย์ที่ท่าพระจันทร์ อย่างไหนที่คุณบัวปริ่มน้ำคิดว่า "พริ้ว" กว่ากันคะ (ฮา)...ล้อเล่นๆ :)
Post a Comment
<< Home
18 Comments:
วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคมนี้ ตรงกับขึ้น 15 ค่ำเดือนเจ็ดตามปฏิทินจันทรคติ และถือเป็นวันวิสาขบูชาเพราะปีปัจจุบันมีเดือนแปดสองหน
วันถัดไปคือ 27 พฤษภาคม 2545 ถ้าความจำของผมไม่คลาดเคลื่อนนับเป็นวันเกิดครบร้อยปีของท่านพุทธทาสภิกขุ ปรมาจารย์ทางจิตวิญญาณคนสำคัญของไทย ซึ่งมรณภาพไปหลายปีแล้ว เนื่องจากบทความของผมจะได้รับการตีพิมพ์ใกล้กับวันสำคัญของชาวพุทธ ทั้งในระดับชาติ รับสากลถึงสองวัน ผมจึงขอถือโอกาสนี้เขียนอะไรที่เป็นแง่คิดทางธรรมของตัวเองสักเล็กน้อย
เรื่องของเรื่องก็ไม่มีอะไรมากหรอกครับ ถือว่าในระยะหลังๆ ผมมักจะมีโอกาสได้คุยกับพรรคพวกซ้ายเก่ามากขึ้นในประเด็นจิตวิญญาณ ซึ่งถ้าเป็นสมัยก่อนตอนอยู่ป่าขืนหยิบยกเรื่องแบบนี้มาอภิปราย มีหวังถูกวิพากษ์วิจารณ์จนต้องผูกคอตาย (โทษฐานคิดไม่เป็นวิทยาศาสตร์)
ครั้นแก่เฒ่าลง เลิกปฏิวัติมาหลายปีไม่มีฝ่ายนำคอยควบคุม “ความถูกต้องทางความคิด” หลายคนจึงรู้สึกสบายปากและสบายใจขึ้น ที่จะคุยถึงปัญหาคุณค่าของชีวิตในฐานะปัจเจกชน และในส่วนที่ไม่ใช่การเมืองบ้าง
ประเด็นหนึ่งที่พวกพ้องอดีตทหารป่าถามผมมามาก สืบเนื่องมาจากการที่ผมมักบอกกับผู้คนว่าปัจจุบันผมไม่มีจุดหมายในชีวิต หากมีแต่วิถีชีวิตที่ตัวเองเคร่งครัดรักษา....พวกเขาสงสัยว่าผมหมายความว่ากระไร....
ผมตอบเพื่อนๆ ไปว่าการไม่มีจุดหมายในชีวิตหมายถึงว่าไม่มีความต้องการสิ่งใดเป็นพิเศษนอกเหนือไปจากความสนองความจำเป็นพื้นฐานในชีวิตประจำวัน หรือใช้ความพยายามไปในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่หลีกเลี่ยงไม่พ้น
ยกตัวอย่างเช่น ในขณะที่ผมยังคงต้องการข้าวปลาอาหารเครื่องนุ่งห่มและต้องการทำงานแลกกับสิ่งเหล่านี้ แต่ผมก็ไม่ได้ฝันว่าตัวเองจะต้องเป็นรัฐมนตรี เป็นเศรษฐีหรือฝันว่าจะต้องมีตำแหน่งใหญ่โตในที่ทำงานที่ผมสังกัด ฯลฯ
แน่ละ การไม่มีจุดหมายแบบอยากเป็นโน่นมีนี่ อาจทำให้เราขาดแคลนหลายสิ่งหลายอย่างที่คนในสังคมให้ “คุณค่า” แต่มันก็ทำให้เราไม่ทุกข์ร้อนหลายเรื่องที่ผู้อื่นเค้าทุกข์ร้อนกัน
ค่ำลงผมเคยต้องนอนเอามือก่ายหน้าผากเพราะกลุ้มใจเรื่องดอกเบี้ยแบงก์ ไม่ต้องกลัวใครจะมาเลื่อยขาเก้าอี้ และยิ่งไม่เคยวิตกกังวลว่าตัวเองจะได้ผลประโยชน์น้อยกว่าคนอื่น
ยิ่งไปกว่านั้นผมยังพบว่าการไม่มุ่งหวังสิ่งใด ยังช่วยปลดปล่อยเราออกจากภาระเปลือกนอกได้มากมายมหาศาล ตั้งแต่เรื่องแต่งเนื้อแต่งตัว ไปจนถึงการคบหากับผู้คน และการแสดงความคิดเห็น ในมิติเหล่านี้เราสามารถเป็นตัวของตัวเองได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะไม่จำเป็นต้องใช้ชีวิตเอาใจใคร (ยกเว้นคนที่เรารัก...คงต้องมีบ้าง)
ถามว่าชีวิตแบบนี้หมายถึงการอยู่แบบไร้กฏกติกาใช่หรือไม่? คำตอบคือมิใช่เลย จริงๆ แล้ว ผมมีหลักการที่ใช้ควบคุมความประพฤติตัวเองอยุ่มากมาย ซึ่งตรงนี้แหละที่ผมถือว่าสำคัญ
ผมบอกกับเพื่อนซ้ายเก่าไปว่าสมัยอยู่ป่าเราก็มีวิถีชีวิตที่เคร่งครัดมากทีเดียว เราตื่นก่อนนอนทีหลัง ดูแลมิตรสหายราวพี่น้องคลานตามกันมาและเผชิญภัยอันตรายด้วยความสงบราวผู้ทรงศีล ทั้งๆ ที่โดยส่วนตัวแล้วเราไม่มีจุดหมายอะไรเลย สมบัติทั้งหมดก็มีเป้ใส่ของใบเดียว
เพราะฉะนั้น การใช้ชีวิตตามครรลองที่เราเห็นว่าถูกต้อง โดยไม่มุ่งหวังสิ่งตอบแทน จึงไม่ใช่เรื่องใหม่นักหนา เพียงแต่ว่าสมัยนั้นเราไม่รู้ว่านี่คือจิตวิญญาณของชีวิต และมักจะอธิบายมันด้วยทฤษฎีการเมืองล้วนๆ
ถามว่าแล้วทำไมทุกวันนี้หลายคนจึงไม่เก็บรับวิถีเก่ามาชี้นำชีวิตในปัจจุบัน?
แน่ละ มิตรสหายจำนวนไม่น้อยคงตอบผมว่าในเมื่อจุดหมายมันไม่ดำรงอยู่แล้ว การปฏิวัติ พ่ายแพ้ไปนานแล้ว จะเข้มงวดตัวเองไปทำไมกัน ในเมื่อต้องอยู่กับโลกแห่งความเป็นจริงก็ต้องปรับเปลี่ยนกันบ้าง
ต่อเรื่องนี้ ผมไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าใด เพราะผมคิดว่าวิธีใช้ชีวิตมันบ่งบอกความเป็นตัวเราเสียยิ่งกว่าจุดหมาย หรือถ้าจะพูดด้วยภาษาลัทธิมาร์กซ์ ก็คงต้องกล่าวว่าความเคลื่อนไหวและรูปแบบของการเคลื่อนไหวเป็นตัวกำหนดลักษณะของสรรพสิ่ง
ยิ่งไปกว่านั้น ในฐานะที่มีพื้นฐานเป็นชาวพุทธ ผมยังสังเกตว่าคำสอนของศาสดาไม่เคยบอกเราเรื่องจุดหมายของชีวิตเลย หากบอกแต่วิธีการที่เรียกว่า “มรรค” เมื่อเราเดินไปในหนทางที่ถูกต้องแล้ว ชีวิตไม่เพียงสงบหรือลดทุกข์ได้มากขึ้น หากยังมีทั้งพลังและคุณค่าที่เพิ่มพูน
ผมลองเทียบคำสอนของพุทธศาสนากับอดีตหนหลังของตัวเอง และเพื่อนพ้องดู ก็พบว่าอุดมคติของพวกเราปรากฏเป็นจริงมากที่สุดในวิถีชีวิตที่เราใช้ หรือพูดอีกแบบหนึ่ง คือมันปรากฏบนเส้นทาง ทั้งๆ ที่ตอนนั้นเราไม่เคยเดินไปถึง “จุดหมาย”
ทั้งหมดนี้ จริงๆ แล้วนับเป็นเรื่องเส้นผมบังภูเขามากทีเดียว และกว่าผมจะเข้าใจก็ใช้เวลาคร่ำครวญเรื่องการ “พ่ายแพ้” อยู่หลายปี
ปัจจุบันเพื่อนพ้องของผมพยายามจะตั้ง “จุดหมายใหม่” กันหลายคน ซึ่งโดยส่วนตัวแล้ว ผมไม่บังอาจไปวิพากษ์วิจารณ์ เพราะชีวิตของผู้ใดก็คงต้องดูแลรักษากันเอง
ผมเพียงอยากจะบอกว่า “จุดหมายที่ดี” นั้นไม่อาจบรรลุได้ด้วยวิธีการที่เลว และมีอยู่บ่อยครั้งที่เราทำร้ายจุดหมายของตัวเองเพราะไม่ได้วางหลักการเรื่องวิธีการเอาไว้เลย
ในทางตรงกันข้าม ตราบใดที่เราเดินตามมรรควิธีที่ถูกต้อง เราก็ไม่ต้องกังวลว่าตัวเองจะได้อะไร หรือจุดหมายของชีวิตอยุ่ที่ไหน...บางทีสิ่งเหล่านี้อาจจะไม่เคยมีจริง หากเป็นเพียงมายาภาพที่บังเอิญทรงพลัง
เดินตามวิถีธรรม แม้จะยังปลี่ยนโลกไม่ได้ ก็ไม่เพิ่มพูนการเบียดเบียน...นี่ต่างหากที่ใกล้เคียง “จุดหมาย” ที่บางท่านยืนยันว่าต้องมี
เรื่องนี้บางทีอาจจะต้องคุยกันต่ออีกสักตอนสองตอน...
เสียดายจังที่เราไม่ได้เก็บบทความในตอนถัดมาเอาไว้ ก็เลยมีมาโพสต์แต่เพียงเท่านี้
พระปัจฉิมโอวาทของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อนจะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน
หนฺททานิ ภิกฺขเว อามนฺตยามิ โว.
วยธมฺมา สงฺขารา อป.ปมาเทน สมฺปาเทถาติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! บัดนี้ เราเตือนท่านทั้งหลาย สังขารทั้งหลาย (คือสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง ทั้งที่เป็นภายในและภายนอกทั้งที่พอใจและไม่พอใจ) มีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด.
สมดังที่ภาษาพระเรียกว่า เป็นการใช้ชีวิตแบบ "สันโดษ"
คือพอใจในสิ่งที่ตนมี
ขออนุโมทนากับบทความดีๆ
"บทสวดสำคัญบทหนึ่ง เรียกกันว่า บทพาหุง หรือพาหุง 8 บท เรียกเป็นภาษาทางการว่า ชยมังคลัฏฐกคาถา บทสวดนี้ท่านรวบรวมขึ้นไว้เพื่อแสดงถึงวิธีที่พรtพุทธเจ้าทรงมีชัยชนะผ่านพ้นเหตุการณ์ร้าย โดยทรงแก้ปัญหาด้วยวิธีปฏิบัติต่าง ๆ กัน
ในเหตุการณ์และปัญหาเหล่านี้ บางเรื่องพระพุทธเจ้าทรงแก้ด้วยวิธีเมตตา บางเรื่องทรงแก้ด้วยขันติ บางเรื่องทรงแก้ด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ บางเรื่องทรงแก้ด้วยวิธีแห่งอาการสงบ บางเรื่องทรงแก้ด้วยความลึกซึ้งแห่งการใช้ปัญญา บางเรื่องทรงแก้ด้วยการชี้แจงแสดงความจริง หรือแสดงธรรม"
ในแต่ละขณะของชีวิตที่เราเติบโตขึ้น ถ้าหากใช้ความสังเกต-เท่าทันตัวเองอย่างเพียงพอ เราจะพบว่า "เราเติบโตขึ้นมาพรอมๆ กับ "อะไรบางอย่าง" ที่ครอบงำเหนือชีวิตของเราจนเกินไป
เราสั่งสม "ประสบการณ์ชีวิต" อย่างแน่นแฟ้น แล้วบอกกับตัวเองว่าเราเก่งขึ้น เราฉลาดขึ้น "เรารู้แล้ว" เราปิดกั้นความเป็นไปได้อื่นๆ และหาทางพิสูจน์ "ความเป็นหนึ่ง" กับผู้อื่นอย่างไม่รู้จักจบสิ้น
เรามี "แบบ" ในอุดมคติที่เราพยายามพาตัวเองไปให้ถึง "แบบ" นั้น เราสลัดความเป็นตัวของตัวเองไปครั้งแล้วครั้งเล่า แล้วโหยหาความเป็นผู้อื่นตลอดเวลา
สิ่งเหล่านี้ทำให้เราเหมือนถูกพันธนาการ ด้วยใยโว่ที่มองไม่เห็นอยู่ทุกขณะจิต แต่เมื่อเรา "รู้" ว่าเป้น "ผู้ถูกกักขัง" การดิ้นรนหาความเป้นอิสระ ยิ่งทุกข์ทรมานไม่น้อยไปกว่ากัน
ทั้งหมดนั้นคือ "มโนทัศน์" (concept) ที่โลกถ่ายทอดมายังเรา เป็นหน้าที่ของมนุษย์ที่จะต้องแหวกกระแสแห่งมโนทัศน์ของโลกออกไปเพื่อก้าวไปสู่อิสรภาพโดยแท้จริง
ความหมายอยู่ที่การพยายาม
-บางถ้อยคำจาก Zen Mind, Beginner's Mind
โอม มณี ปัทเม ฮุม หรือ "มณีในดอกบัว" ซึ่งชาวทิเบตเปรียบแก้วมณีคือ ความกรุณา และดอกบัวนั้นหมายถึง ปัญญา หรือ ความรู้ที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งความกรุณาและปัญญาจะเป็นหนทางนำมวลมนุษยชาติไปสู่ความหลุดพ้นในที่สุด
ขอขอบคุณ คุณ โอม มณี ปัทเม ฮุม ที่แบ่งปันสิ่งดีๆ ค่ะ :)
ขอธรรมะคุ้มครองทุกท่านและครอบครัว
ธรรมะสวัสดี
"ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ดั่งดอกไม้บาน"
เพลงนี้เคยได้ยินไม๊จ๊ะ คนดี
ธรรมะคุ้มครอง ผู้มีธรรมะ
ธรรมะสวัสดีค่ะ คุณ Et CeTera
เพลงที่ว่า...คิดว่าอาจจะเคยได้ยินนะ แต่ลืมไปแล้ว ใครร้องเหรอคะ? :p
พระพุทธเจ้าสอนว่า นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ "สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี"
หมายความว่า ความสุขอื่นมี เช่น ความสุขในการดูละคร ดูหนัง ในการเข้าสังคม Social ในการมีคู่รักคู่ครอง หรือในการมีลาภยศ ได้รับความสุข สรรเสริญ และได้รับความสุขจากสิ่งเหล่านี้ ก็สุขจริง
แต่ว่าสุขเหล่านี้มีทุกข์ซ้อนอยู่ทุกอย่าง ต้องคอยแก้ไขปรับปรุงกันอยู่เสมอ
ไม่เหมือนกับความสุขที่เยือกเย็นและไม่ซ้อนด้วยความทุกข์ และไม่ต้องแก้ไขปรับปรุงตกแต่งมาก
เป็นความสุขที่ทำได้ง่ายๆ เกิดกับกายใจของเรานี่เอง
อยู่ในที่เงียบๆ คนเดียวก็ทำได้
หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมสังคมก็ทำได้ ถ้าเรารู้จักแยก ใจ หาสันติสุข กายนี้ก็เพียงสักแต่ว่าอยู่ในที่ระคนด้วยความยุ่ง สิ่งแวดล้อมเหล่านั้นไม่ยุ่งมาถึง ใจ
แม้เวลาเจ็บหนัก มีทุกขเวทนาปวดร้าวไปทั่วกาย แต่เรารู้จักทำใจให้เป็นสันติสุขได้ ความเจ็บนั้นก็ไม่สามารถจะทำให้ ใจ เดือดร้อนตามไปด้วย
เมื่อใจสงบแล้ว กลับจะทำให้กายนั้นสงบ หายทุกขเวทนาได้ด้วย และประสบสันติสุข ซึ่งไม่มีสุขอื่นยิ่งกว่าสันติสุขนั้น
นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ "สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี"
It needs a Peaceful Mind to support a Peaceful Body, and it needs a Peaceful Body to support a Peaceful Mind, and it needs Both Peaceful Body and Mind to attain all success that which you wish.
เพลงนี้
มักจะเปิดที่
เสถียรธรรมสถาน ไงจ๊ะ
บุญรักษาครับ..แต่ขอขัดลาภสักนิด
ข้าพเจ้าแหงนหน้ามองพระจันทร์ในวันวิสาขบูชาเมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ผ่านมาแถว ๆ ท่าพระอาทิตย์ แล้วรู้สึกว่าพระจันทร์ของคืนนั้นไม่เต็มดวง(นี่หว่า)และเมื่อคืนนี้(วันจันทร์)ลองแหงนหน้ามองพระจันทร์อีกครั้งก็เห็นว่านี่แหละเต็มดวงของแท้
เช่นนั้นแล้วคงต้องยืนยันว่าคืนวันวิสาขบูชาที่ผ่านมาของประเทศไทยไม่ใช่วันขึ้น 15 ค่ำอย่างแน่นอน
เมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลหรือความผิดพลาดใดก็ตาม นั่นหมายถึงเหตุอาเพศของแผ่นดิน
ขอทุกท่าน(รวมทั้งข้าพเจ้าเอง)จงดูแลตัวเองให้ดีและดำรงตนด้วยความไม่ประมาท
ขอให้ทุกท่านโชคดี
คุณบัวปริ่มน้ำ...
ขอมายืนยันด้วยคนว่าเมื่อคืนนี้ (วันจันทร์) เราแหงนหน้าชมจันทร์ขณะกลับบ้านราวๆ 3 ทุ่มกว่าๆ เห็นพระจันทร์สุกสว่างสวย งดงามเหลือเกิน
แต่เมื่อคืนวันวิสาขบูชา เราไม่มีโอกาสได้ชื่นชมพระจันทร์ เลยไม่แน่ใจตามที่คุณบัวปริ่มน้ำเล่าให้ฟังน่ะ
อย่างไรก็ตาม ขอส่งความปรารถนาดีให้คุณบัวปริ่มน้ำและทุกท่านด้วยเช่นกันค่ะ
บุญรักษา
ปล. ไปชมพระจันทร์ที่ท่าพระอาทิตย์ กะไปชมพระอาทิตย์ที่ท่าพระจันทร์ อย่างไหนที่คุณบัวปริ่มน้ำคิดว่า "พริ้ว" กว่ากันคะ (ฮา)...ล้อเล่นๆ :)
Post a Comment
<< Home