Communion with God
“When faced with what appears to be Disunity, immediately make the three statements of ultimate truth:
1. Nothing in my world is real.
2. The meaning of everything is the meaning I give it.
3. I am who I say I am, and my experience is what I say it is
This invokes the triad process:
A. See the Illusion as an illusion.
B. Decide what it means.
C. Re-create yourself anew.”
- Communion with God
3 Comments:
ไอน์สไตน์เชื่อว่าพระเจ้ามีจริง แต่พระเจ้าของไอน์สไตน์มิได้มีภาพลักษณ์คล้ายมนุษย์ที่มีอำนาจฤทธิ์เดชพิเศษ สามารถควบคุมชะตากรรมและการตัดสินใจของมนุษย์ได้ หากเป็นพระเจ้าที่แสดงออกในรูปของกฏกติกาของสรรพสิ่งในธรรมชาติ พระเจ้าของไอน์สไตน์จึงหมายถึง กฏกติกาที่ควบคุมสภาพความเป็นไปของสรรพสิ่งในจักรวาล และคนที่มุ่งแสวงหา "องค์ความรู้"ของธรรมชาติ ดังเช่นไอน์สไตน์ จึงเป็นคนที่กำลังพยายามเดินทางเข้าหาพระเจ้า ซึ่งเป็นความพยายามที่ท้าทายและพิศวง เพราะเมื่อได้ค้นพบองค์ความรู้ใหม่ๆ ของธรรมชาติ ก็เปรียบเสมือนการเดินทางเข้าใกล้พระเจ้าไปอีกก้าวหนึ่ง
แต่ในขณะเดียวกัน เส้นทางการเดินทางเข้าหาพระเจ้า ก็เป็นเส้นทางที่ดูจะไม่รู้จบ ดูจะเป็นเส้นทางที่มนุษย์ไม่มีวันจะทราบอย่างมั่นใจว่าได้เดินทางถึงจุดหมายปลายทางแล้วหรือยัง ทั้งนี้เพราะการเดินทางถึงจุดหมายปลายทาง หมายถึงการค้นพบที่สุดขององค์ความรู้ แต่มนุษย์ไม่มีเครื่องมือใดๆ จะบอกได้ว่า ตนเองได้ค้นพบที่สุดของความจริงในธรรมชาติ หรือความรู้ที่สมบูรณ์อย่างที่สุดแล้ว
ไอน์สไตน์เคยกล่าวถึงศาสนาพุทธไว้อย่างน่าสนใจว่า
"ศาสนาพุทธ มีคุณลักษณะอย่างที่เราคาดหวังในศาสนาคอสมิก (Cosmic Religion) แห่งอนาคต ศาสนาพุทธไม่ยึดติดกับพระเจ้า ไม่ส่งเสริมความเชื่ออย่างงมงาย ไม่เกี่ยวข้องกับเทววิทยา ศาสนาพุทธเกี่ยวพันกับทั้งธรรมชาติและจิตวิญญาณ เป็นศาสนาที่มีพื้นฐานอยู่บนประสบการณ์ของสรรพสิ่ง ทั้งธรรมชาติและจิตวิญญาณ โดยถือว่าเป็นองค์รวมเดียวกันอย่างมีความหมาย"
คำกล่าวของไอน์สไตน์เกี่ยวกับศาสนาพุทธ ที่สะท้อนความคิดอย่างง่ายๆ แต่ลึกซึ้งของไอน์สไตน์ ก็คือ
"ถ้าจะมีศาสนาใดซึ่งพอจะเข้ากันได้กับแนวคิดของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ศาสนานั้นคือ ศาสนาพุทธ"
- ไอน์สไตน์กับศาสนา
นิตยสารสารคดี ฉบับ 243 พฤษภาคม 2548
Post a Comment
<< Home