There are no coincidences in the universe.

Solitary Animal: Best Wishes

Wednesday, December 22, 2004

Best Wishes



สำหรับทุกท่านที่ผ่านเข้ามา blog แห่งนี้
ขอกล่าวคำทักทายเพื่ออำลาปี 2547 ที่กำลังจะจากไปในอีกไม่ช้า
เป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่เรามักจะกล่าวอวยพรให้แก่กันในช่วงเทศกาลแห่งความสุขนี้
แต่โลกเรานี้ อย่างที่รู้มันไม่ได้มีแค่ความสุขเพียงด้านเดียว อย่างไร หวังว่าทุกท่านจะเตรียมพร้อมที่ต้อนรับความทุกข์ที่จะผ่านเข้ามาในชีวิตบ้างก็ดี
..........เพราะชีวิตคือชีวิต เมื่อมีเข้ามาก็มีเลิกไป
มีสุขสมมีผิดหวัง หัวเราะหรือหวั่นไหว เกิดขึ้นได้ทุกวัน.............

แล้วพบกันปีหน้าฟ้าใหม่ 2548
รักษาสุขภาพกันด้วยถ้วนทั่วทุกคน
ด้วยความปรารถนาดี
S.A. 23 Dec'04

2 Comments:

Blogger solitary animal said...

อนุสติ จากมหันตภัยที่ภาคใต้
---โดยพระไพศาล วิสาโล


ครั้งหนึ่ง ภูเก็ต พีพี หมู่เกาะสุรินทร์ เขาหลัก และเกาะอีกหลายแห่ง
เคยได้ชื่อว่าเป็นสวรรค์บนพื้นพิภพ หาดทรายที่สวยงาม
ปะการังหลากสีสัน ทะเลสีคราม ฟ้าสวย และแดดใส
ล้วนตราตรึงใจผู้เยี่ยมเยือนไม่รู้ลืม
แต่มาบัดนี้ พื้นที่จำนวนมากได้กลับกลายเป็นนรกไปเสียแล้ว
แทบทุกหนแห่งดารดาษด้วยซากศพ ระงมด้วยเสียงร้องและร่ำไห้
ซากปรักหักพังและกองขยะระเกะระกะไปทั่ว
ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในเวลาเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น
ราวกับจะบอกเราว่าสวรรค์กับนรกนั้นหามีเส้นแบ่งที่เด็ดขาดไม่
ไม่มีสวรรค์แห่งใดจะปลอดพ้นจากนรกไปได้

สวรรค์นั้นพร้อมจะแปรเปลี่ยนเป็นนรกในชั่วพริบตา
มหันตภัยจากคลื่นสึนามิได้กระชากเรา
ให้มาเผชิญกับสัจธรรมดังกล่าวอย่างมิอาจปฏิเสธได้
ความเปลี่ยนแปลงบางครั้งก็จู่โจมอย่างไม่คาดฝัน
โดยแทบจะไม่บอกสัญญาญล่วงหน้าเลย
ด้วยเหตุนี้เอง ผู้คนจำนวนมากจึงตายและพลัดพรากสูญเสีย
อย่างไม่ทันได้ตั้งตัว การพักผ่อนในวันหยุดสุดสัปดาห์
กลับกลายเป็นการพักผ่อนชั่วนิจนิรันดร์
ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่า การเดินทางไปท่องเที่ยวนั้น
จะกลายเป็นการเดินทางไปเผชิญมหันตภัยและพบจุดจบของชีวิต

ชีวิตและโลกนั้นหาความเที่ยงแท้ไม่ได้เลย
การเตรียมพร้อมเผชิญกับสิ่งที่ไม่คาดฝันด้วยความไม่ประมาท
จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง และนี่คือบทเรียนอีกบทหนึ่ง
ที่เราได้จากมหันตภัยครั้งนี้ด้วยต้นทุนที่แสนแพง

หกปีที่แล้ว อดีตอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาและนักวิชาการกลุ่มหนึ่ง
ได้เคยกล่าวเตือนสังคมไทยให้ระวังภัยจากคลื่นสึนามิ
พร้อมทั้งเสนอมาตรการรับมืออย่างเป็นรูปธรรม เช่น
การติดตั้งระบบเตือนภัยและการเตรียมแผนอพยพผู้คน
แต่คำเตือนดังกล่าวกลับถูกตอบโต้ด้วยเสียงโห่ฮาและคำด่าประณาม
ทั้งนี้ก็เพราะคำเตือนดังกล่าว ขัดกับความคิดหรือการรับรู้ของผู้คน
"ไม่เคยเกิดคลื่นสึนามิในทะเลอันดามันหรือมหาสมุทรอินเดียมาก่อน"
คือเหตุผลในการปฏิเสธคำเตือนดังกล่าว

ใช่แต่เท่านั้น คำเตือนดังกล่าวยังถูกปฏิเสธเพียงเพราะว่า
เป็นคำพูดที่ไม่ถูกใจ สวนทางกับความรู้สึก
ในขณะที่ผู้คนกำลังเพลิดเพลินกับตัวเลขนักท่องเที่ยวที่หลั่งไหล
มาภูเก็ต กระบี่ และพังงา เงินตราก็แพร่สะพัด
น้อยคนจะอยากฟังว่าความพินาศกำลังจะมาเยือน
ผลก็คือไม่มีการเตรียมมาตรการรับมือคลื่นสึนามิแต่อย่างใด
และนั่นคือที่มาแห่งความวิบัติอันใหญ่หลวง

นี่มิใช่ครั้งแรกที่สังคมไทยละเลยคำเตือนจนต้องมาเจอกับความพินาศ
ก่อนวิกฤติเศรษฐกิจ ก็เคยมีคนเตือนว่าฟองสบู่กำลังจะแตก
หายนะภัยทางเศรษฐกิจกำลังจะเกิดขึ้น แต่ไม่มีใครสนใจคำเตือนนี้
เพราะเป็นคำพูดที่สวนทางกับภาพที่ปรากฏ ที่ไหน ๆ ก็มีแต่การก่อสร้าง
ราคาที่ดินสูงเอา ๆ ใคร ๆ ก็กำลังรวยหุ้น เศรษฐกิจก็กำลังเติบโต
จนไทยได้ชื่อว่าเป็นทั้ง "เสือ" และ "ปาฏิหารย์ทางเศรษฐกิจ"ที่สำคัญก็คือ ขณะที่ผู้คนกำลังเพลิดเพลินกับเงินที่ไหลมาเทมา
ไม่มีใครอยากฟังคนที่มาเตือนว่า
วันเวลาแห่งความสนุกสุขสบายกำลังจะหมดแล้ว
ด้วยเหตุนี้จึงมิได้มีการเตรียมตัวรับมือกับการแตกของฟองสบู่

ผลก็คือ เศรษฐกิจล้มครืนในชั่วข้ามคืน

กรณีรสแก๊สระเบิดที่ถนนเพชรบุรี
และกรณีโรงแรมรอยัลพลาซ่าพังครืนลงมาที่นครราชสีมา
ล้วนเกิดขึ้นโดยมีเสียงเตือนมาก่อนแล้วทั้งนั้น
แต่ไม่ได้รับความสนใจจากผู้ที่เกี่ยวข้อง
เหตุผลประการหนึ่งที่มักใช้อ้างกันก็คือ
"มันยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน" หรือไม่ก็บอกปัดว่า "เป็นไปไม่ได้"ใช่หรือไม่ว่าเรือไททานิคนั้นเมื่อสร้างเสร็จใหม่ ๆ
ก็ไม่มีใครเชื่อว่าจะล่มลงกลางมหาสมุทรได้
เพราะสร้างขึ้นมาอย่างดี เป็นประดิษฐกรรมขั้นสุดยอดในเวลานั้น
เมื่อเชื่อมั่นเช่นนั้น จึงไม่ได้เตรียมระบบกู้ภัยและเรือชูชีพไว้มากพอ
ดังนั้น เมื่อชนกับภูเขาน้ำแข็ง จึงมีคนตายเป็นอันมาก
ส่วนเรือก็จมลงสู่ก้นมหาสมุทรในเที่ยวแรกที่ออกเรือ

ทั้งหมดนี้บอกเราว่า
เบื้องหลังของมหันตภัยที่คร่าชีวิตผู้คนมากมายนั้น
มักมีความประมาทเลินเล่อเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสม
น่าสังเกตว่า เรามักจะมาเห็นความสำคัญของการเตรียมการ
ก็ต่อเมื่อเกิดเหตุร้ายขึ้นแล้ว ทั้ง ๆ ที่เหตุการณ์เหล่านี้ไม่ใช่เรื่องใหม่
หากเคยเกิดขึ้นที่อื่นมาแล้วทั้งนั้น แต่ถึงจะมีใครมาบอกมาเตือนเพียงใด
ก็ไม่สนใจที่จะเตรียมการรับมือจนกว่าเหตุร้ายจะเกิดขึ้นกับตัวเองแล้ว
พูดอีกอย่างก็คือ แม้จะรู้หรือได้ยินก็ยังไม่ขยับ
ต่อเมื่อเจ็บปวดแล้วถึงค่อยเขยื้อน

อย่างนี้ใช่ไหมที่เรียกว่า
ไม่ได้เป็นอยู่ด้วยความรู้ แต่เป็นอยู่ด้วยความรู้สึก

ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยอยู่เสมอก็เพราะเหตุนี้
ผู้คนต่างก็รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในอดีต
แต่ไม่เคยเอาอดีตเป็นบทเรียนเพื่อหลีกเลี่ยงเหตุร้าย
ทั้งนี้ก็เพราะเหตุร้ายยังไม่เกิดขึ้นกับตัว
จึงไม่กระตือรือร้นที่จะเตรียมการล่วงหน้า
หากพอใจที่จะอยู่อย่างเดิม ๆ เพราะสุขสบายดีแล้ว
นี้ก็เช่นเดียวกับความตาย ใคร ๆ ก็รู้ว่าสักวันหนึ่งตนต้องตาย
แต่ตราบใดที่ยังไม่เจ็บป่วยหรือความตายยังอยู่ไกล
ก็ยังเพลิดเพลินกับความสนุกสนานเฉพาะหน้า

พระพุทธองค์เปรียบเทียบคนเราดังม้าสี่ประเภท
ประเภทแรก เพียงแค่เห็นเงาปฏัก ก็รู้ว่าสารถีต้องการให้ทำอะไร
ประเภทที่สอง ต้องถูกปฏักแทงที่ขุมขนก่อนถึงรู้ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง
ประเภทที่สามนั้น กว่าจะรู้ก็ต่อเมื่อถูกปฏักแทงที่ผิวหนัง
ประเภทสุดท้าย ต้องถูกปฏักแทงถึงกระดูกค่อยรู้ตัวว่าจะต้องทำอะไร

ม้าประเภทแรก หมายถึงคนที่เพียงแต่ได้ฟังข่าวว่าที่นั่นที่นี่มีคนตาย
ก็สลดใจ หันมาบำเพ็ญเพียร ปฏิบัติธรรม จนเห็นแจ้งด้วยปัญญา
ม้าประเภทที่สอง หมายถึงคนที่ต้องเห็นคนตายต่อหน้าต่อตาถึงลงมือปฏิบัติธรรม
ม้าประเภทที่สาม หมายถึงคนที่ต้องรอให้ญาติหรือคนใกล้ชิด
ตายเสียก่อน ถึงค่อยปฏิบัติธรรม
ส่วนม้าประเภทสุดท้าย หมายถึงคนที่จะเข้าหาธรรม
ต่อเมื่อตัวเองต้องประสบกับความทุกข์ ป่วยหนัก หรือใกล้ตายเสียก่อน
พูดอีกอย่างคือ ถ้ายังไม่เห็นโลง ก็ไม่หลั่งน้ำตา
นี้คือที่สุดแห่งความประมาท

ผู้ที่มีปัญญานั้น ย่อมไม่รอให้เหตุร้ายจู่โจมมาถึงตัวเสียก่อน
จึงค่อยรับมือกับปัญหา เพราะถึงตอนนั้นก็อาจเตรียมตัวไม่ทันแล้วก็ได้
ย่อมปลอดภัยกว่าหากเราเตรียมตัวทันทีที่รู้ว่ามีเหตุร้ายเกิดขึ้นกับผู้อื่น
เพราะนั่นหมายความว่า มันอาจมาถึงตัวเราไม่วันใดก็วันหนึ่ง
จึงควรเตรียมตัวในขณะที่ยังมีเวลาและโอกาสอยู่

สังคมไทยจะต้องหันมาเป็นอยู่ด้วยปัญญามากขึ้น นั่นคือ
ใช้ความรู้เป็นตัวขับเคลื่อน มิใช่รอให้เจ็บปวดหรือเป็นทุกข์เสียก่อน
จึงค่อยเตรียมการป้องกันหรือรับมือ
"วัวหายแล้วค่อยล้อมคอก"เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ก็เพราะเราเพลิดเพลินกับความสุขสบายเฉพาะหน้ากันมากเกินไป
นี้เรียกว่าความประมาท แต่ถ้าจะไม่ประมาท
ก็ต้องมีสติเพื่อเตือนใจไม่ให้จมอยู่กับความสุขสบาย
และเพื่อกำกับชีวิตให้มีปัญญาเป็นตัวนำ
หากปราศจากการเกื้อหนุนของสติเสียแล้ว
ปัญญาหรือความรู้ย่อมไม่มีพลังที่จะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
สุดท้ายก็ต้องอาศัยอารมณ์ความรู้สึกเป็นตัวผลักดันอย่างเดียว
นั่นหมายความว่า ต้องให้เจ็บหรือทุกข์เสียก่อน
จึงจะเขยื้อนขยับทำสิ่งที่สมควรทำ

ปัญหาก็คือ เหตุร้ายบางอย่าง
เมื่อเกิดขึ้นแล้วเราอาจไม่มีโอกาสแก้ตัวก็ได้

ครั้งหนึ่งแทบไม่เคยมีใครนึกว่าคลื่นสึนามิจะเกิดขึ้นใน
ทะเลอันดามันและมหาสมุทรอินเดียได้ แต่แล้วมันก็เกิดขึ้นจนได้
ครั้งหนึ่งคำว่า "เป็นไปไม่ได้" สามารถเอามาใช้ตอบโต้ผู้ที่เตือนภัยสึนามิได้
แต่วันนี้มันใช้ไม่ได้แล้ว นี้ก็เช่นเดียวกับเหตุร้ายในกรณีอื่น ๆ
ซึ่งไม่เคยนึกว่าจะเป็นไปได้ แต่ก็เป็นไปแล้ว

คำว่า "เป็นไปไม่ได้" นั้นได้สิ้นมนต์ขลังไปแล้ว

นั่นหมายความว่า อะไร ๆ ก็เกิดขึ้นได้ทั้งนั้น
ไม่มีอะไรในโลกนี้ที่เราสามารถยืนยันได้แน่นอนร้อยเปอร์เซนต์
ว่าไม่มีทางเกิดขึ้น อย่างมากเราก็ยืนยันได้แค่ 99.99 เปอร์เซนต์เท่านั้น
ยิ่งถ้าเป็นเรื่องร้ายหรือความผิดพลาดด้วยแล้ว
มันมีโอกาสเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา (จำกฎของเมอร์ฟี่ได้ไหม ที่บอกว่า
ความผิดพลาดใด ๆ ก็ตาม หากสามารถเกิดขึ้นได้ มันก็จะต้องเกิดจนได้)ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นต้องมีการเตรียม ตัวเตรียมใจระแวดระวังอยู่เสมอ
ไม่ตกอยู่ในความประมาท หากป้องกันไม่ได้ก็ต้องเตรียมการรับมืออย่างดีที่สุด

มหันตภัยที่ภาคใต้ยังบอกเราอีกว่า
ความคิดหรือคำเตือนที่สวนกระแสและขัดหูขัดใจนั้น
ในที่สุดกลับเป็นสิ่งที่ถูกต้องและมีคุณค่าอย่างมาก
หากกรมอุตุนิยมวิทยาและกระทรวงมหาดไทยรับฟังคำเตือน
และนำเอาข้อเสนอต่าง ๆ ของ ดร.สมิทธ ธรรมสโรช และคณะ
ไปปฏิบัติตั้งแต่เมื่อหกปีที่แล้ว วันนี้คงไม่มีการสูญเสียชีวิตกันมากมาย
ถึงขนาดนี้ น่าเสียดายที่ทั้งภาครัฐบาลและภาคธุรกิจ
มีทัศนคติในทางลบต่อคำเตือนดังกล่าว ดังผู้ว่าราชการจังหวัดบางแห่ง
ถึงกับประกาศห้าม ดร.สมิทธ มิให้มาจังหวัดของตน

กรณีดังกล่าวตอกย้ำว่า
สังคมไทยจำต้องมีความใจกว้างต่อความคิดที่ต่างไปจากตน
และต่อคำเตือนที่สวนทางกับความคิด
ขัดกับภาพที่ปรากฎ หรือไม่ถูกใจตน
ไม่ควรเอาเสียงส่วนใหญ่ไปตัดสินความเห็นของคนส่วนน้อย
และไม่ควรกล่าวประณามผู้ที่พูดไม่ถูกใจตน
ไม่ว่าคนเหล่านั้นจะเป็นนักวิชาการ เอ็นจีโอ ฝ่ายค้าน หรือชาวบ้านก็ตาม
อย่างน้อยที่สุด กรณีคลื่นสึนามิก็ได้ชี้ว่าคนส่วนน้อยเพียงไม่กี่คนนั้น
เป็นฝ่ายถูก แต่เพราะเสียงของพวกเขาถูกเมินเฉย
เราถึงต้องสูญเสียกันอย่างมากมายมหาศาลถึงเพียงนี้

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางความสูญเสีย ความเจ็บปวด
และความผิดพลาด ที่ปรากฏตัวออกมา
เราก็ได้เห็นความงดงบามจากน้ำใจของผู้คนทั่วทุกสารทิศ
ที่ได้ร่วมกันนำเอาสิ่งดีที่สุดของตนออกมาเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย
ยิ่งกว่านั้นก็คือ การทุ่มตัวสู้กับอุปสรรคนานัปการเพื่อกอบกู้
และดำเนินการกับซากศพ เพื่อให้คู่ควรกับความเป็นมนุษย์
ที่มีญาติพี่น้องและคนรัก ความเสียสละและกล้าหาญของ
บุคคลเหล่านี้คือสิ่งบ่งชี้ว่าสังคมไทยยังมีความหวัง
ไม่ว่าจะมีข้อจำกัดเพียงใด แต่เราก็ยังมีสิ่งที่ยิ่งใหญ่
ได้แก่ น้ำใจและความเอื้อเฟื้อเกื้อกูล

แม้ว่าคลื่นสึนามิจะพลิกสวรรค์ให้กลายเป็นนรก
แต่น้ำใจอันสูงส่งของผู้คนเหล่านี้กำลังปัดเป่านรกให้เลือนหายไป
อีกทั้งทำให้มีความหวังว่า
ไม่นานสวรรค์จะกลับคืนมายังแผ่นดินนี้อีกครั้งหนึ่ง
- - -
จาก: หนังสือพิมพ์โพสท์ ทูเดย์ วันอังคารที่ ๔ มกราคม ๒๕๔๘

Friday, January 14, 2005 2:44:00 PM  
Blogger solitary animal said...

Where's the Miracle in a Tsunami?
by Marianne Williamson

The tsunami brings spiritual questioning to the fore of our consciousness. We grasp for some higher understanding to match the depth of our grief. And we find it.

First there is the Law of Divine Compensation, which purports that no matter what the darkness, God's light is larger. Yet where is the light within such a horrible tragedy as a tidal wave killing over a hundred thousand people?

That light emerges from the incredible outpour of love that followed.

In the days after the tsunami hit, we experienced the love that would literally save the world. It was palpable everywhere, as millions of people hugged their kids a little longer and tighter and more often, having been so tragically reminded that nothing - absolutely nothing - can be taken for granted. Least of all, life itself. Heartbreak opened our emotional floodgates, as true, authentic compassion became the routine rather than the exceptional response to human suffering. The tsunami made us get it. And in that, there was a gift. The specter of death had taught us the value of life.

With the tsunami, we were suddenly jolted back to our right minds -- where the ultimately meaningless preoccupations that normally dominate our lives were pushed to the background where they belong. What loomed large was love itself. And ever since, we have been freer. Freer of the forgetfulness, the distraction, the petty arguments, the insignificant pain. For pain of true significance and horrifying meaning had landed in our midst, and had etched its message on our hearts forever.

It is said in A Course in Miracles that God has a plan to every problem the moment it occurs. And what, I have asked myself, was God's plan at the moment the tsunami hit?

His plan, I believe, is that each of us become someone fundamentally different, someone capable of wisdom, insight and compassion and intelligence beyond what we have displayed before. For there are lovers, and there are commited lovers. We have loved the world in a non-commited way, and now we are being challenged to change that. The tsunami is not the only example of huge amounts of human suffering. Are we commited enough to admit that?

I have wondered what makes humanity so selective in its capacity to discern catastrophe. Yes indeed last month's tsunami was a catastrophe, and the world's concerted effort to serve the suffering has been both commendable and appropriate. Yet such collective and concerted compassion is not just called for in the face of one isolated tragedy; it is the only authentic, righteous way of life on any given day. The hard and painful truth is this: for millions of people living on this planet, every day is a catastrophe. From AIDS victims in Africa, to citizens of the Sudan caught in the struggle of their civil war-- and yes, to both soldiers and civilians in Iraq - life itself has become catastrophic. Where is our concerted knowing, our collective response, our deep grief for those who suffer through experiences that are just as catastrophic as the tsunami yet more convenient to ignore?

Those who died in last month's tsunami did not die in vain. For in their dying they helped to awaken a distracted and slumbering humanity (what symbolism, that the tsunami hit while we were literally on vacation). The only hope for the future of the world is that humanity will experience a change of heart; that we will awaken to the sanctity and fragility of life; and we will dedicate ourselves -- as we are dedicating ourselves now to the tsunami's victims -- to all who suffer and grieve and so need our aid.

And thus the miracle, if we choose it: that death itself can bring forth a greater life.

Jan. 06, 2005

Saturday, January 15, 2005 11:39:00 AM  

Post a Comment

<< Home

Gabu on Facebook