There are no coincidences in the universe.
Existing, living, or going without others; alone
View my complete profile
posted by solitary animal @ 12:02 PM
แวะเอาบทนำของหนังสือเล่มนี้มาฝากค่ะคัดมา : www.ohmygodbooks.comMan’s Search for Meaning : บทนำ โดย กอร์ดอน อัลพอร์ท ศาสตราจารย์ทางจิตวิทยามหาวิทยาลัยฮาวาร์ด และบรรณาธิการวารสาร Journal of Abnormal and Social Psychology========================= บางครั้งบางคราว ดร.แฟรงเกิล ผู้เป็นทั้งนักเขียนและจิตแพทย์ก็เคยถามบรรดาคนไข้ที่ต้องประสบกับความทุกข์ทรมานหลากหลายรูปแบบมีตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงทุกข์ทรมานแสนสาหัสว่า “ทำไมคุณถึงไม่ฆ่าตัวตาย ?” บ่อยครั้งทีเดียวสิ่งที่เขาได้จากคำตอบของคนไข้เหล่านี้ ได้ให้แนวทางการบำบัดทางจิตแก่เขาว่า ในบางกรณีความรักที่มีต่อบุตรคือเครื่องผูกพันเหนี่ยวรั้งคนๆ นั้นไว้ ในบางกรณีสาเหตุเป็นเพราะเขามีความสามารถพิเศษที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และในอีกกรณีหนึ่งอาจเป็นเพราะอย่างน้อย ความทรงจำที่ยังหลงเหลืออยู่ก็ควรค่าแก่การถนอมรักษาไว้ และการจะประสานนำเอาเสี้ยวเศษชีวิตที่ย่อยยับแหลกสลายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยมาประกอบเชื่อมโยงจนเป็นชีวิตที่มีความหนักแน่นมั่นคง เต็มไปด้วยความหมายและความรับผิดชอบถือเป็นวัตถุประสงค์และความท้าทายของแนวทางโลโกเธราพีหรือการบำบัดด้วยความแสวงหาความหมาย (Logo Therapy) ซึ่งเป็นรูปแบบการวิเคราะห์การดำรงอยู่สมัยใหม่ตามทัศนะของ ดร.แฟรงเกิล (Existential Analysis) ภายในหนังสือเล่มนี้ ดร.แฟรงเกิลได้อธิบายประสบการณ์ชีวิตซึ่งนำไปสู่การค้นพบวิธีการบำบัดด้วยการหาความหมายของเขา ในฐานะที่ตัวเขาเองเคยเป็นเชลยสงครามในค่ายกักกันอันโหดเหี้ยมทารุณอย่างยาวนาน ถึงขนาดไม่มีสิ่งใดหลงเหลืออยู่ ไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ น้องชาย และภรรยา ต่างเสียชีวิตในค่ายกักกันหรือมิฉะนั้นก็ถูกส่งเข้าห้องรมแก๊ส ครอบครัวของเขาทุกคนยกเว้นเพียงน้องสาวคนเดียวเท่านั้น ล้วนแล้วแต่ต้องพลัดพรากตายจากกันในค่ายกักกันเหล่านี้ทั้งสิ้น เขา…ผู้ซึ่งสูญสิ้นสมบัติทั้งปวง สิ่งมีค่ามีราคาทุกอย่างถูกทำลายจนหมดสิ้น ต้องทุกข์ทรมานกับความหิวโหย ความหนาวเหน็บและความโหดร้ายทารุณทุก ๆ ชั่วโมง ได้แต่เฝ้ารอรับการเข่นฆ่าทำลายล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์อยู่ทุกชั่วโมง ทว่า…เขายังเห็นชีวิตเป็นสิ่งมีค่าคู่ควรแก่การรักษาไว้ได้อย่างไร ? จิตแพทย์ผู้ซึ่งประสบกับความโหดร้ายทารุณมากมายขนาดนี้ เป็นจิตแพทย์ผู้ควรค่าแก่การรับฟัง ถ้าใครควรจะมีมุมมองต่อเงื่อนไขสถานการณ์ที่มนุษย์ต้องประสบด้วยความเห็นอกเห็นใจและมีแง่คิดเฉลียวฉลาดก็ควรจะเป็นเขาคนนี้ คำพูดของ ดร.แฟรงเกิล เปี่ยมไปด้วยความสัตย์ซื่อตรงไปตรงมาอันเด่นชัด เพราะอิงอยู่กับประสบการณ์ที่ประทับฝังใจลึกเกินกว่าจะปั้นเรื่องให้คนคล้อยตาม สิ่งที่ ดร.แฟรงเกิลพูดมีอิทธิพลมาก สืบเนื่องมาจากตำแหน่งในคณะแพทย์ศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเวียนนาในปัจจุบันของเขา และเพราะคลินิกบำบัดรักษาด้วยการเน้นความหมายแห่งการดำรงอยู่อันมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก ที่ปัจจุบันนี้ได้แพร่กระจาย ได้รับความนิยมในหลายประเทศล้วน ดำเนินงานตามแนวทางโปลิคลินิกด้านประสาทวิทยาในกรุงเวียนนาที่มีชื่อเสียงของเขาเอง ใครก็คงอดเปรียบเทียบแนวทางบำบัดรักษาของ วิคเตอร์ อี.แฟรงเกิล กับทฤษฎีและการบำบัดทางจิตตามแนวทางของ ซิกมันด์ ฟรอยด์ นักจิตวิทยารุ่นก่อนเขาไม่ได้ นักจิตวิทยาทั้งสองให้ความสนใจกับลักษณะและการบำบัดรักษาอาการทางโรคประสาทเป็นสำคัญเหมือนกัน ฟรอยด์ค้นพบรากเหง้าความว้าวุ่นกลัดกลุ้มเหล่านี้ในอาการวิตกกังวล ซึ่งมีสาเหตุสืบเนื่องมาจากแรงจูงใจที่มีลักษณะขัดแย้งกันเองและอยู่ในระดับลึกกว่าจิตสำนึก ส่วนแฟรงเกิลได้แยกแยะลักษณะความแตกต่างของโรคประสาทหลากหลายรูปแบบด้วยกัน จากนั้นก็สืบสาวสาเหตุต้นตออาการบางอย่าง ไปถึงความล้มเหลวของคนไข้ที่ต้องทนทุกข์ทรมานเพื่อนำไปสู่การค้นพบความหมายและสำนึกแห่งความรับผิดชอบในการดำรงชีวิตอยู่ต่อไปของคนไข้ ในขณะที่ ซิกมันด์ ฟรอยด์ ตอกย้ำเรื่องภาวะคับข้องใจในชีวิต เพศสัมพันธ์ แต่วิคเตอร์ แฟรงเกิล ย้ำความคับข้องใจในส่วนของ “เจตจำนงเพื่อหาความหมาย” ปัจจุบันนี้ในกลุ่มประเทศยุโรป มีแนวโน้มหันเหจากทฤษฎีและการบำบัดทางจิตด้วยวิธีของฟรอยด์ มายอมรับการวิเคราะห์การดำรงอยู่ของ วิคเตอร์ แฟรงเกิล อย่างกว้างขวางมากขึ้น ซึ่งการวิเคราะห์การดำรงอยู่ จะมีรูปแบบที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหลายอย่าง หนึ่งในนั้นก็คือสำนักจิตบำบัดด้วยวิธีค้นหาความหมาย ซึ่งเป็นลักษณะเปิดกว้างของวิธีการบำบัดแบบของแฟรงเกิลที่ไม่ปฏิเสธแนวคิดของ ซิกมันด์ ฟรอยด์ แต่รังสรรค์จากผลงานที่ ซิกมันด์ ฟรอยด์ มอบให้แก่สังคม รวมทั้งไม่เถียงทะเลาะกับการบำบัดเพื่อการดำรงอยู่รูปแบบอื่น ๆ แต่กลับอ้าแขนต้อนรับอย่างดี การบรรยายในหนังสือเล่มนี้ถึงจะสั้น หากก็เปี่ยมด้วยการเชื่อมโยงเนื้อหาสาระอย่างมีศิลปะและมีสาระอันจับใจ ข้าพเจ้าได้อ่านหนังสือนี้รวดเดียวจบถึง 2 ครั้งด้วยกัน เพราะไม่สามารถวางหนังสือเล่มนี้ลงได้ เนื่องจากเนื้อหานั้นเหมือนมีมนต์สะกด ให้ต้องอ่านไปเรื่อย ๆ จนจบ ในบางช่วงและกึ่งกลางของเรื่อง ดร.แฟรงเกิลได้แนะนำหลักปรัชญาของการบำบัดรักษาด้วยวิธีแสวงหาความหมายของเขา โดยแนะนำแนวทางนี้สอดแทรกในการบรรยายได้อย่างละเมียดละไมมากเสียจน หลังจากอ่านหนังสือเล่มนี้จบแล้วนั่นแหละ ผู้อ่านจึงตระหนักว่า นี่คืองานร้อยแก้วที่มีความลึกซึ้งกินใจ ไม่ใช่แค่การบอกเล่าเรื่องราวอันโหดร้ายทารุณของค่ายกักกันเชลยสงครามอีกเรื่องหนึ่งเท่านั้น จากเสี้ยวหนึ่งของชีวประวัติผู้เขียนในหนังสือเล่มนี้ ผู้อ่านจะได้เรียนรู้อะไรมากมาย ผู้อ่านจะได้เรียนรู้ว่า เมื่อจู่ ๆ คนเราได้สำนึกว่าตนเองนั้น… “ไม่มีสิ่งใดจะสูญเสียยกเว้นชีวิตที่ไม่เหลืออะไรเลยของเขาแล้ว” มนุษย์เราจะทำอะไรได้บ้าง การบรรยายถึงสภาวะอารมณ์หลากหลายคละเคล้า และความเฉยชาไม่ยินดียินร้ายของแฟรงเกิล เป็นสิ่งที่จับความสนใจอย่างยิ่ง กลไกแรกสุดที่เขานำมาช่วยเหลือมนุษย์ก็คือ ภาวะเย็นชาไร้ความรู้สึกวิตกทุกข์ร้อนกับชะตาชีวิตของตนเองแปลก ๆ ต่อจากนั้นก็เกิดกลยุทธ์เพื่อสงวนรักษาชีวิตส่วนที่เหลืออยู่เอาไว้อย่างรวดเร็ว ท่ามกลางโอกาสที่จะมีชีวิตรอดเพียงน้อยนิด ไม่ว่าจะเป็นความหิว…ความอัปยศอดสู…ความหวาดกลัว และความโกรธแค้น ความอยุติธรรมที่ได้รับล้ำลึกในใจ ล้วนเป็นสิ่งที่พอจะทนได้ด้วยการหมั่นนึกถึงภาพของบุคคลอันเป็นที่รักไว้ช่วยเยียวยาจิตใจ มีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวและโดยความมีอารมณ์ขัน เปี่ยมด้วยความกล้าหาญไม่ยอมแพ้ง่าย ๆ แม้กระทั่งการได้เห็นความงดงามของธรรมชาติ อย่างต้นไม้สักต้นหรือภาพพระอาทิตย์ตกดินเพียงแวบเดียว ก็เป็นสิ่งที่ทำให้ชีวิตอันหนักหนาสาหัสสากรรจ์กลายเป็นสิ่งที่พอจะทนได้บ้าง แต่ช่วงเวลาแห่งการเยียวยาปลอบใจเหล่านี้ ไม่อาจสร้างความต้องการจะมีชีวิตอยู่ จะช่วยได้ก็แต่เพียงให้ชีวิตที่ต้องทนทุกข์ทรมาน ดูแล้วเหมือนไร้ความหมายใด ๆ ของเชลยสงคราม พอจะมีความหมายขึ้นมาบ้างเท่านั้น … ตรงจุดนี้เอง… ที่เราได้ค้นพบแก่นแท้ของการดำรงอยู่สิ่งนั้นก็คือ…การมีชีวิตก็คือความทุกข์การจะมีชีวิตรอดหมายถึง การต้องค้นหาความหมายในระหว่างประสบทุกข์ถ้าในชีวิตหนึ่งมีจุดมุ่งหมาย ฉะนั้นในความทุกข์ทรมานและความตายก็ต้องมีจุดมุ่งหมายเช่นกันทว่ามนุษย์คนหนึ่งไม่สามารถบอกมนุษย์อีกคนได้ว่าจุดมุ่งหมายในชีวิตของเขาคืออะไร คนแต่ละคนจะต้องค้นหาสิ่งนั้นด้วยตัวเขาเอง และจะต้องยอมรับหน้าที่ความรับผิดชอบจากคำตอบที่ได้รับ ถ้าเขาทำสำเร็จ…เขาก็จะพัฒนาตนเองยิ่งขึ้น แม้ในท่ามกลางภาวะเสื่อมสิ้นเกียรติศักดิ์ศรีทั้งมวล แฟรงเกิลชอบหยิบยกคำพูดของปราชญ์นิตช์เช ขึ้นมากล่าวเสมอ ประโยคที่ว่า “บุคคลผู้มีเหตุผลที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไปย่อมสามารถอดทนต่อสภาพที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะมาในรูปแบบใดได้เกือบทุกอย่าง…” ในค่ายกักกันนั้น สภาพแวดล้อมทุก ๆ อย่างล้วนแต่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อกดดันเชลยให้สิ้นหวังทอดอาลัยกับชีวิต เป้าหมายในชีวิตทุกอย่างที่เคยคุ้นถูกพรากไป… สิ่งเดียวที่เหลืออยู่ก็คือ “อิสระรูปแบบสุดท้ายของมนุษย์…” สิ่งนั้นก็คือ “ความสามารถที่จะเลือกมุมมองความคิดที่มีต่อสถานการณ์จำเพาะบางอย่าง” อิสรภาพขั้นสูงสุดนี้ (ซึ่งเป็นสิ่งที่นักปรัชญาสโตอิกโบราณผู้ไม่ยึดถือทุกข์สุขมาเป็นอารมณ์และนักปรัชญาสายอัตถิภาวนิยมยุคใหม่ได้ให้ค่า) เห็นได้อย่างชัดเจนจากสาระสำคัญในเรื่องราวของแฟรงเกิล บรรดาเชลยในค่ายกักกันก็เป็นเพียงมนุษย์ปุถุชนธรรมดา แต่ก็มีบางคนได้พิสูจน์ให้เห็นถึงศักยภาพของการมีชัยเหนือโชคชะตารุมเร้าภายนอก โดยเลือกที่จะ “ทำให้ชีวิตมีค่าคุ้มกับความทุกข์ทรมานที่เผชิญอยู่” และในฐานะที่ผู้เขียนเองก็เป็นนักบำบัดทางจิตคนหนึ่งด้วย เขาจึงอยากรู้ว่ามนุษย์จะได้รับการช่วยเหลือให้บรรลุศักยภาพอันเด่นล้ำของมนุษยชาตินี้ได้อย่างไร เราจะกระตุ้นความรู้สึกในตัวคนไข้ที่มารับการบำบัดว่า เขามีความรับผิดชอบบางอย่างต่อชีวิต ไม่ว่าสถานการณ์ที่เผชิญอยู่จะเลวร้ายสาหัสขนาดไหนก็ตามได้อย่างไร ? ดร.วิกเตอร์ แฟรงเกิล ได้มอบบันทึกการบำบัดรักษาที่เขาปฏิบัติต่อเพื่อนเชลยศึกในค่ายกักกันอันมีเนื้อหาชวนให้ซาบซึ้งสะเทือนใจแก่เรา เพื่อเป็นแนวทางให้การช่วยเหลือดังกล่าว และจากการขอร้องของสำนักพิมพ์ ดร.แฟรงเกิลจึงเพิ่มเติมหลักการพื้นฐานของวิธีบำบัดทางจิตด้วยการเน้นความหมายรวม ทั้งให้รายชื่อบรรณานุกรมสำหรับการค้นคว้าต่อไปอีกด้วย ซึ่งจนถึงบัดนี้การพิมพ์แนวทางบำบัดรักษาของ “สำนักบำบัดทางจิตสำนักที่สามของชาวเวียนนา” ส่วนใหญ่ (สองสำนักก่อนหน้านั้นก็คือสำนักคิดตามแนวของฟรอยด์และแอดเลอร์) มักมีการตีพิมพ์อยู่ในเยอรมัน ดังนั้นผู้อ่านคงยินดีกับส่วนที่ ดร.แฟรงเกิลเพิ่มเติมให้แก่การบรรยายประสบการณ์ส่วนตัวของเขานี้ ดร.แฟรงเกิลไม่เหมือนกับนักปรัชญาอัตถิภาวนิยมชาวยุโรปจำนวนมาก เพราะเขาไม่ใช่ที่คนมองโลกในแง่ร้ายรวมทั้งไม่ได้ต่อต้านศาสนา ตรงกันข้าม ในฐานะที่เขาเป็นนักเขียนผู้เผชิญกับความทุกข์ทรมานและความเลวร้ายแสนสาหัส เขากลับมีมุมมองเต็มไปด้วยความหวังอย่างน่าแปลกใจ ในลักษณะของมนุษย์ผู้มีศักยภาพจะนำพาตัวเองผ่านพ้นอุปสรรค ความยากลำบากหนักหนาสากรรจ์ทั้งหลายทั้งปวง จนได้ค้นพบสัจธรรมนำทางชีวิตที่เหมาะสม ข้าพเจ้าขอแนะนำหนังสือเล่มเล็กนี้สุดหัวใจ เพราะเป็นงานร้อยแก้วชิ้นเอก บรรยายเรื่องได้อย่างเห็นภาพพจน์ มีจุดเน้นที่ปัญหาส่วนลึกที่สุดของมนุษยชาติทุกคน ทรงคุณค่าทั้งในแง่ของงานวรรณกรรมและปรัชญา ตลอดจนแนะนำแนวทางจิตวิทยาที่มีนัยสำคัญมากที่สุดในยุคปัจจุบันของเรา ด้วยการบรรยายเชิงสาธกโวหารอันตรึงใจ==================:)
ขอบคุณเป็นอย่างยิ่งสำหรับหนังสือดี ๆ
Post a Comment
<< Home
2 Comments:
แวะเอาบทนำของหนังสือเล่มนี้มาฝากค่ะ
คัดมา : www.ohmygodbooks.com
Man’s Search for Meaning : บทนำ
โดย กอร์ดอน อัลพอร์ท ศาสตราจารย์ทางจิตวิทยามหาวิทยาลัยฮาวาร์ด และบรรณาธิการวารสาร Journal of Abnormal and Social Psychology
=========================
บางครั้งบางคราว ดร.แฟรงเกิล ผู้เป็นทั้งนักเขียนและจิตแพทย์ก็เคยถามบรรดาคนไข้ที่ต้องประสบกับความทุกข์ทรมานหลากหลายรูปแบบมีตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงทุกข์ทรมานแสนสาหัสว่า
“ทำไมคุณถึงไม่ฆ่าตัวตาย ?”
บ่อยครั้งทีเดียวสิ่งที่เขาได้จากคำตอบของคนไข้เหล่านี้ ได้ให้แนวทางการบำบัดทางจิตแก่เขาว่า ในบางกรณีความรักที่มีต่อบุตรคือเครื่องผูกพันเหนี่ยวรั้งคนๆ นั้นไว้ ในบางกรณีสาเหตุเป็นเพราะเขามีความสามารถพิเศษที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และในอีกกรณีหนึ่งอาจเป็นเพราะอย่างน้อย ความทรงจำที่ยังหลงเหลืออยู่ก็ควรค่าแก่การถนอมรักษาไว้
และการจะประสานนำเอาเสี้ยวเศษชีวิตที่ย่อยยับแหลกสลายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยมาประกอบเชื่อมโยงจนเป็นชีวิตที่มีความหนักแน่นมั่นคง เต็มไปด้วยความหมายและความรับผิดชอบถือเป็นวัตถุประสงค์และความท้าทายของแนวทางโลโกเธราพีหรือการบำบัดด้วยความแสวงหาความหมาย (Logo Therapy) ซึ่งเป็นรูปแบบการวิเคราะห์การดำรงอยู่สมัยใหม่ตามทัศนะของ ดร.แฟรงเกิล (Existential Analysis)
ภายในหนังสือเล่มนี้ ดร.แฟรงเกิลได้อธิบายประสบการณ์ชีวิตซึ่งนำไปสู่การค้นพบวิธีการบำบัดด้วยการหาความหมายของเขา ในฐานะที่ตัวเขาเองเคยเป็นเชลยสงครามในค่ายกักกันอันโหดเหี้ยมทารุณอย่างยาวนาน ถึงขนาดไม่มีสิ่งใดหลงเหลืออยู่ ไม่ว่าจะเป็นพ่อ แม่ น้องชาย และภรรยา ต่างเสียชีวิตในค่ายกักกันหรือมิฉะนั้นก็ถูกส่งเข้าห้องรมแก๊ส ครอบครัวของเขาทุกคนยกเว้นเพียงน้องสาวคนเดียวเท่านั้น ล้วนแล้วแต่ต้องพลัดพรากตายจากกันในค่ายกักกันเหล่านี้ทั้งสิ้น
เขา…ผู้ซึ่งสูญสิ้นสมบัติทั้งปวง สิ่งมีค่ามีราคาทุกอย่างถูกทำลายจนหมดสิ้น ต้องทุกข์ทรมานกับความหิวโหย ความหนาวเหน็บและความโหดร้ายทารุณทุก ๆ ชั่วโมง ได้แต่เฝ้ารอรับการเข่นฆ่าทำลายล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์อยู่ทุกชั่วโมง
ทว่า…เขายังเห็นชีวิตเป็นสิ่งมีค่าคู่ควรแก่การรักษาไว้ได้อย่างไร ?
จิตแพทย์ผู้ซึ่งประสบกับความโหดร้ายทารุณมากมายขนาดนี้ เป็นจิตแพทย์ผู้ควรค่าแก่การรับฟัง
ถ้าใครควรจะมีมุมมองต่อเงื่อนไขสถานการณ์ที่มนุษย์ต้องประสบด้วยความเห็นอกเห็นใจและมีแง่คิดเฉลียวฉลาดก็ควรจะเป็นเขาคนนี้
คำพูดของ ดร.แฟรงเกิล เปี่ยมไปด้วยความสัตย์ซื่อตรงไปตรงมาอันเด่นชัด เพราะอิงอยู่กับประสบการณ์ที่ประทับฝังใจลึกเกินกว่าจะปั้นเรื่องให้คนคล้อยตาม สิ่งที่ ดร.แฟรงเกิลพูดมีอิทธิพลมาก สืบเนื่องมาจากตำแหน่งในคณะแพทย์ศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเวียนนาในปัจจุบันของเขา และเพราะคลินิกบำบัดรักษาด้วยการเน้นความหมายแห่งการดำรงอยู่อันมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก ที่ปัจจุบันนี้ได้แพร่กระจาย ได้รับความนิยมในหลายประเทศล้วน ดำเนินงานตามแนวทางโปลิคลินิกด้านประสาทวิทยาในกรุงเวียนนาที่มีชื่อเสียงของเขาเอง
ใครก็คงอดเปรียบเทียบแนวทางบำบัดรักษาของ วิคเตอร์ อี.แฟรงเกิล กับทฤษฎีและการบำบัดทางจิตตามแนวทางของ ซิกมันด์ ฟรอยด์ นักจิตวิทยารุ่นก่อนเขาไม่ได้
นักจิตวิทยาทั้งสองให้ความสนใจกับลักษณะและการบำบัดรักษาอาการทางโรคประสาทเป็นสำคัญเหมือนกัน ฟรอยด์ค้นพบรากเหง้าความว้าวุ่นกลัดกลุ้มเหล่านี้ในอาการวิตกกังวล ซึ่งมีสาเหตุสืบเนื่องมาจากแรงจูงใจที่มีลักษณะขัดแย้งกันเองและอยู่ในระดับลึกกว่าจิตสำนึก
ส่วนแฟรงเกิลได้แยกแยะลักษณะความแตกต่างของโรคประสาทหลากหลายรูปแบบด้วยกัน จากนั้นก็สืบสาวสาเหตุต้นตออาการบางอย่าง ไปถึงความล้มเหลวของคนไข้ที่ต้องทนทุกข์ทรมานเพื่อนำไปสู่การค้นพบความหมายและสำนึกแห่งความรับผิดชอบในการดำรงชีวิตอยู่ต่อไปของคนไข้
ในขณะที่ ซิกมันด์ ฟรอยด์ ตอกย้ำเรื่องภาวะคับข้องใจในชีวิต เพศสัมพันธ์ แต่วิคเตอร์ แฟรงเกิล ย้ำความคับข้องใจในส่วนของ “เจตจำนงเพื่อหาความหมาย”
ปัจจุบันนี้ในกลุ่มประเทศยุโรป มีแนวโน้มหันเหจากทฤษฎีและการบำบัดทางจิตด้วยวิธีของฟรอยด์ มายอมรับการวิเคราะห์การดำรงอยู่ของ วิคเตอร์ แฟรงเกิล อย่างกว้างขวางมากขึ้น ซึ่งการวิเคราะห์การดำรงอยู่ จะมีรูปแบบที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหลายอย่าง หนึ่งในนั้นก็คือสำนักจิตบำบัดด้วยวิธีค้นหาความหมาย ซึ่งเป็นลักษณะเปิดกว้างของวิธีการบำบัดแบบของแฟรงเกิลที่ไม่ปฏิเสธแนวคิดของ ซิกมันด์ ฟรอยด์ แต่รังสรรค์จากผลงานที่ ซิกมันด์ ฟรอยด์ มอบให้แก่สังคม รวมทั้งไม่เถียงทะเลาะกับการบำบัดเพื่อการดำรงอยู่รูปแบบอื่น ๆ แต่กลับอ้าแขนต้อนรับอย่างดี
การบรรยายในหนังสือเล่มนี้ถึงจะสั้น หากก็เปี่ยมด้วยการเชื่อมโยงเนื้อหาสาระอย่างมีศิลปะและมีสาระอันจับใจ ข้าพเจ้าได้อ่านหนังสือนี้รวดเดียวจบถึง 2 ครั้งด้วยกัน เพราะไม่สามารถวางหนังสือเล่มนี้ลงได้ เนื่องจากเนื้อหานั้นเหมือนมีมนต์สะกด ให้ต้องอ่านไปเรื่อย ๆ จนจบ ในบางช่วงและกึ่งกลางของเรื่อง ดร.แฟรงเกิลได้แนะนำหลักปรัชญาของการบำบัดรักษาด้วยวิธีแสวงหาความหมายของเขา โดยแนะนำแนวทางนี้สอดแทรกในการบรรยายได้อย่างละเมียดละไมมากเสียจน หลังจากอ่านหนังสือเล่มนี้จบแล้วนั่นแหละ ผู้อ่านจึงตระหนักว่า นี่คืองานร้อยแก้วที่มีความลึกซึ้งกินใจ ไม่ใช่แค่การบอกเล่าเรื่องราวอันโหดร้ายทารุณของค่ายกักกันเชลยสงครามอีกเรื่องหนึ่งเท่านั้น
จากเสี้ยวหนึ่งของชีวประวัติผู้เขียนในหนังสือเล่มนี้ ผู้อ่านจะได้เรียนรู้อะไรมากมาย ผู้อ่านจะได้เรียนรู้ว่า เมื่อจู่ ๆ คนเราได้สำนึกว่าตนเองนั้น…
“ไม่มีสิ่งใดจะสูญเสียยกเว้นชีวิตที่ไม่เหลืออะไรเลยของเขาแล้ว” มนุษย์เราจะทำอะไรได้บ้าง
การบรรยายถึงสภาวะอารมณ์หลากหลายคละเคล้า และความเฉยชาไม่ยินดียินร้ายของแฟรงเกิล เป็นสิ่งที่จับความสนใจอย่างยิ่ง
กลไกแรกสุดที่เขานำมาช่วยเหลือมนุษย์ก็คือ ภาวะเย็นชาไร้ความรู้สึกวิตกทุกข์ร้อนกับชะตาชีวิตของตนเองแปลก ๆ ต่อจากนั้นก็เกิดกลยุทธ์เพื่อสงวนรักษาชีวิตส่วนที่เหลืออยู่เอาไว้อย่างรวดเร็ว ท่ามกลางโอกาสที่จะมีชีวิตรอดเพียงน้อยนิด ไม่ว่าจะเป็นความหิว…ความอัปยศอดสู…ความหวาดกลัว และความโกรธแค้น ความอยุติธรรมที่ได้รับล้ำลึกในใจ ล้วนเป็นสิ่งที่พอจะทนได้ด้วยการหมั่นนึกถึงภาพของบุคคลอันเป็นที่รักไว้ช่วยเยียวยาจิตใจ มีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวและโดยความมีอารมณ์ขัน เปี่ยมด้วยความกล้าหาญไม่ยอมแพ้ง่าย ๆ แม้กระทั่งการได้เห็นความงดงามของธรรมชาติ อย่างต้นไม้สักต้นหรือภาพพระอาทิตย์ตกดินเพียงแวบเดียว ก็เป็นสิ่งที่ทำให้ชีวิตอันหนักหนาสาหัสสากรรจ์กลายเป็นสิ่งที่พอจะทนได้บ้าง
แต่ช่วงเวลาแห่งการเยียวยาปลอบใจเหล่านี้ ไม่อาจสร้างความต้องการจะมีชีวิตอยู่ จะช่วยได้ก็แต่เพียงให้ชีวิตที่ต้องทนทุกข์ทรมาน ดูแล้วเหมือนไร้ความหมายใด ๆ ของเชลยสงคราม พอจะมีความหมายขึ้นมาบ้างเท่านั้น
… ตรงจุดนี้เอง… ที่เราได้ค้นพบแก่นแท้ของการดำรงอยู่
สิ่งนั้นก็คือ…การมีชีวิตก็คือความทุกข์
การจะมีชีวิตรอดหมายถึง การต้องค้นหาความหมายในระหว่างประสบทุกข์
ถ้าในชีวิตหนึ่งมีจุดมุ่งหมาย ฉะนั้นในความทุกข์ทรมานและความตายก็ต้องมีจุดมุ่งหมายเช่นกัน
ทว่ามนุษย์คนหนึ่งไม่สามารถบอกมนุษย์อีกคนได้ว่าจุดมุ่งหมายในชีวิตของเขาคืออะไร คนแต่ละคนจะต้องค้นหาสิ่งนั้นด้วยตัวเขาเอง และจะต้องยอมรับหน้าที่ความรับผิดชอบจากคำตอบที่ได้รับ
ถ้าเขาทำสำเร็จ…เขาก็จะพัฒนาตนเองยิ่งขึ้น แม้ในท่ามกลางภาวะเสื่อมสิ้นเกียรติศักดิ์ศรีทั้งมวล
แฟรงเกิลชอบหยิบยกคำพูดของปราชญ์นิตช์เช ขึ้นมากล่าวเสมอ ประโยคที่ว่า
“บุคคลผู้มีเหตุผลที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไปย่อมสามารถอดทนต่อสภาพที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะมาในรูปแบบใดได้เกือบทุกอย่าง…”
ในค่ายกักกันนั้น สภาพแวดล้อมทุก ๆ อย่างล้วนแต่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อกดดันเชลยให้สิ้นหวังทอดอาลัยกับชีวิต เป้าหมายในชีวิตทุกอย่างที่เคยคุ้นถูกพรากไป…
สิ่งเดียวที่เหลืออยู่ก็คือ “อิสระรูปแบบสุดท้ายของมนุษย์…” สิ่งนั้นก็คือ “ความสามารถที่จะเลือกมุมมองความคิดที่มีต่อสถานการณ์จำเพาะบางอย่าง”
อิสรภาพขั้นสูงสุดนี้ (ซึ่งเป็นสิ่งที่นักปรัชญาสโตอิกโบราณผู้ไม่ยึดถือทุกข์สุขมาเป็นอารมณ์และนักปรัชญาสายอัตถิภาวนิยมยุคใหม่ได้ให้ค่า) เห็นได้อย่างชัดเจนจากสาระสำคัญในเรื่องราวของแฟรงเกิล
บรรดาเชลยในค่ายกักกันก็เป็นเพียงมนุษย์ปุถุชนธรรมดา แต่ก็มีบางคนได้พิสูจน์ให้เห็นถึงศักยภาพของการมีชัยเหนือโชคชะตารุมเร้าภายนอก โดยเลือกที่จะ “ทำให้ชีวิตมีค่าคุ้มกับความทุกข์ทรมานที่เผชิญอยู่”
และในฐานะที่ผู้เขียนเองก็เป็นนักบำบัดทางจิตคนหนึ่งด้วย เขาจึงอยากรู้ว่ามนุษย์จะได้รับการช่วยเหลือให้บรรลุศักยภาพอันเด่นล้ำของมนุษยชาตินี้ได้อย่างไร เราจะกระตุ้นความรู้สึกในตัวคนไข้ที่มารับการบำบัดว่า เขามีความรับผิดชอบบางอย่างต่อชีวิต ไม่ว่าสถานการณ์ที่เผชิญอยู่จะเลวร้ายสาหัสขนาดไหนก็ตามได้อย่างไร ?
ดร.วิกเตอร์ แฟรงเกิล ได้มอบบันทึกการบำบัดรักษาที่เขาปฏิบัติต่อเพื่อนเชลยศึกในค่ายกักกันอันมีเนื้อหาชวนให้ซาบซึ้งสะเทือนใจแก่เรา เพื่อเป็นแนวทางให้การช่วยเหลือดังกล่าว
และจากการขอร้องของสำนักพิมพ์ ดร.แฟรงเกิลจึงเพิ่มเติมหลักการพื้นฐานของวิธีบำบัดทางจิตด้วยการเน้นความหมายรวม ทั้งให้รายชื่อบรรณานุกรมสำหรับการค้นคว้าต่อไปอีกด้วย ซึ่งจนถึงบัดนี้การพิมพ์แนวทางบำบัดรักษาของ “สำนักบำบัดทางจิตสำนักที่สามของชาวเวียนนา” ส่วนใหญ่ (สองสำนักก่อนหน้านั้นก็คือสำนักคิดตามแนวของฟรอยด์และแอดเลอร์) มักมีการตีพิมพ์อยู่ในเยอรมัน ดังนั้นผู้อ่านคงยินดีกับส่วนที่ ดร.แฟรงเกิลเพิ่มเติมให้แก่การบรรยายประสบการณ์ส่วนตัวของเขานี้
ดร.แฟรงเกิลไม่เหมือนกับนักปรัชญาอัตถิภาวนิยมชาวยุโรปจำนวนมาก เพราะเขาไม่ใช่ที่คนมองโลกในแง่ร้ายรวมทั้งไม่ได้ต่อต้านศาสนา ตรงกันข้าม ในฐานะที่เขาเป็นนักเขียนผู้เผชิญกับความทุกข์ทรมานและความเลวร้ายแสนสาหัส เขากลับมีมุมมองเต็มไปด้วยความหวังอย่างน่าแปลกใจ ในลักษณะของมนุษย์ผู้มีศักยภาพจะนำพาตัวเองผ่านพ้นอุปสรรค ความยากลำบากหนักหนาสากรรจ์ทั้งหลายทั้งปวง จนได้ค้นพบสัจธรรมนำทางชีวิตที่เหมาะสม
ข้าพเจ้าขอแนะนำหนังสือเล่มเล็กนี้สุดหัวใจ เพราะเป็นงานร้อยแก้วชิ้นเอก บรรยายเรื่องได้อย่างเห็นภาพพจน์ มีจุดเน้นที่ปัญหาส่วนลึกที่สุดของมนุษยชาติทุกคน ทรงคุณค่าทั้งในแง่ของงานวรรณกรรมและปรัชญา ตลอดจนแนะนำแนวทางจิตวิทยาที่มีนัยสำคัญมากที่สุดในยุคปัจจุบันของเรา ด้วยการบรรยายเชิงสาธกโวหารอันตรึงใจ
==================
:)
ขอบคุณเป็นอย่างยิ่งสำหรับหนังสือดี ๆ
Post a Comment
<< Home