There are no coincidences in the universe.

Solitary Animal: Being B&W

Friday, November 24, 2006

Being B&W


4 Comments:

Blogger solitary animal said...

โปรดทราบๆ

นับแต่นี้ blog ทึมๆ แห่งนี้จะเริ่มสีตกอีกครั้งแล้วเด้ออออ!

ทำใจกันนิดนึงนะคะ แฮ่ะๆ

-blog runner (ผู้พิศวาสความโมโน)

Friday, November 24, 2006 8:45:00 AM  
Anonymous Anonymous said...

ข้าฯให้อภัย

Friday, November 24, 2006 3:52:00 PM  
Blogger solitary animal said...

ประเสริฐมากๆ เจ้าเนี่ยะ :D

Monday, November 27, 2006 9:41:00 AM  
Blogger solitary animal said...

เรื่องจากต่างแดน : มันดาลา

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 2 ธันวาคม 2546 11:38 น.





ไม่นานมานี้ฉันได้มีโอกาสดูภาพยนต์จาก DVD เรื่อง Kundun ซึ่งเป็นหนังที่แสดงถึงวัฒนธรรมของชาวพุทธในทิเบตได้อย่างน่าทึ่ง และมีอยู่ฉากหนึ่งที่พระทิเบตท่านสร้างรูปวิหารสวยงามด้วยทรายสีต่างๆ เมื่อเสร็จแล้วก็ลบออกผสมกัน และองค์ Dalai Lama ก็ทรงทิ้งเศษทรายเหล่านั้นลงในแม่น้ำ นั่งดูจบแล้วก็ยังสงสัยว่ารูปภาพที่พระท่านวาดขึ้นเรียกว่า “มันดาลา(Mandala)” นั้น มีความหมายว่าอะไร และสร้างขึ้นเพื่ออะไรกันแน่ แล้วที่สุดจากการค้นคว้า ฉันก็พบคำตอบ...
คำว่า“มันดาลา”มาจากภาษาสันสกฤต “มันดา (manda)” แปลเป็นภาษาทิเบต ตรงกับคำว่า “dkyil” ซึ่งหมายถึง “แก่นศูนย์กลางหรือที่นั่ง” โดยใช้ในความหมายควบคู่ไปกับคำว่า “โพธิ” หรือการตื่น การบรรลุธรรม ซึ่งชี้ถึงสถานที่นั่งภายใต้ต้นโพธิ์ ที่ซึ่งการตรัสรู้อย่างสมบูรณ์ได้เกิดขึ้น ส่วนคำว่า“ลา(la)”หมายถึง “วงล้อที่หลอมรวมแก่น” ดังนั้น “มันดาลา” จึงแปลว่า “ที่ประทับของพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ต่างๆในขณะที่รู้แจ้ง” และภาพเหล่านี้จะปรากฏในมโนทัศน์ของวัชราจารย์(ครูบาอาจารย์ในพุทธศาสนานิกายวัชรยาน) สำหรับคนไทยเราเรียกคำว่ามันดาลาเป็นสำเนียงไทยว่า“มณฑล”นั่นเอง ซึ่งก็มีความหมายสอดคล้องกัน
ในทางคัมภีร์แล้ว ทิเบตถือว่าทุกชีวิตก็คือมันดาลา มากกว่าจะเป็นเพียงแค่จุดของการตระหนักรู้ เพราะเราก็คือสิ่งแวดล้อมของเราเอง อาจกล่าวได้ว่า มันดาลาก็เปรียบเหมือนกับพิมพ์เขียวสำหรับการบรรลุธรรม ที่ไม่ใช่เพียงแต่เป็นการปลดปล่อยตนเองสู่อิสรภาพที่แท้จริงเท่านั้น แต่ยังเป็นการหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับสภาวะแวดล้อม
โดยทั่วไปมันดาลามักจะสร้างเป็นวิหารที่มีประตู 4 ทิศ ซึ่งแต่ละทิศจะแสดงถึงพรหมวิหารทั้ง 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา และก่อนที่ผู้ปฏิบัติธรรมจะเดินเข้าประตูได้นั้นจะต้องผ่านด่านทดสอบคือกำแพง 4 ชั้น ซึ่งประกอบไปดัวย
1.กำแพงไฟแห่งความรู้อันบริสุทธิ์
2.กำแพงเพชรแสดงความแข็งแกร่งและกล้าหาญ
3.กำแพงหลุมศพแห่งการมีสติรู้
4.กำแพงดอกบัวแสดงถึงการยอมอุทิศตนต่อพุทธะ
มันดาลาสามารถสร้างได้จากกระดาษ ผ้า หรือทรายก็ได้ โดยมักเริ่มจากโครงประกอบด้วยรูปทรงเรขาคณิตแบบง่ายๆ แล้วจึงค่อยเพิ่มรายละเอียดภายในตามแต่จินตนาการหรือภาพนิมิตที่เห็น ดังนั้นการสร้างแต่ละครั้งสิ่งที่สำคัญคือ จิตใจที่มีสมาธิจดจ่อในสิ่งที่กำลังสร้าง
พระลามะส่วนใหญ่รู้วิธีการสร้างมันดาลา เพื่อใช้ในการประกอบพีธีต่างๆ ซึ่งมักสร้างโดยการโรยทรายผสมสี มันดาลาบางรูปใช้เวลาสร้างเป็นเดือน ดังนั้น โดยพื้นฐานแล้วการสร้างมันดาลาเป็นการฝึกฝนจิตอย่างหนึ่ง มโนจิตและสมาธิต้องดำเนินไปด้วยกัน การสร้างมันดาลาไม่มีการร่างโครงร่างก่อน ไม่ว่ารูปมันดาลานั้นจะใหญ่หรือเล็กขนาดไหน ดังนั้นมโนจิตในมันดาลานั้นต้องเที่ยงตรง สมาธิต้องมั่นคง บางครั้งพระบางรูปจะท่องมนตราและแผ่เมตตาในขณะที่สร้างด้วย
ส่วนปริศนาธรรมที่แฝงมาในมันดาลานั้นก็คือ ไม่ว่าจะสมบูรณ์สวยงามหรือมั่นคงเพียงใด สุดท้ายก็ต้องสูญสลายไปตามธรรมชาติ และก็เช่นกันเมื่อสูญสลายไปแล้ว ก็จะต้องถูกสร้างขึ้นมาอีก เพราะความมีอยู่ทำให้เกิดความว่าง และความว่างก็เป็นบ่อเกิดของความมีอยู่ ฉันลองกลับไปคิดถึงฉากในหนังที่กล่าวข้างต้นแล้ว ก็เริ่มที่จะเข้าใจถึงปรัชญาลึกซึ้งที่แฝงอยู่
นอกจากนี้ ชาวธิเบตเองยังมีความเชื่อว่ามันดาลาสร้างโดยพระผู้มีปัญญาอันบริสุทธิ์ เนื่องจากในขณะที่สร้างพระสงฆ์ได้อัญเชิญพลังศักดิ์สิทธิ์มาสถิตในมันดาลาซึ่งจะเป็นสิริมงคลให้กับผู้ที่ได้มาเยี่ยมชมมันดาลา อีกทั้งยังช่วยคุ้มครองปกป้องสถานที่ซึ่งมันดาลานั้นตั้งอยู่อีกด้วย
ยังมีมันดาลาอีกประเภทหนึ่งซึ่งมีลักษณะเหมือนวงแหวนวางซ้อนกัน ซึ่งมันดาลาประเภทนี้ต้องมีวิธีปฏิบัติและขั้นตอนต่างๆ รวมทั้งคาถากำกับประกอบตามขั้นตอน เมื่อประกอบสำเร็จจะมีลักษณะเรียงซ้อนกันเป็นชั้นเหมือนเจดีย์ ซึ่งนับว่าเป็นกุศลโลบายอย่างหนี่งในการเจริญสมาธิภาวนาของพระทิเบต
ปัจจุบันได้มีการประยุกต์เรื่องมันดาลามาใช้ในการบำบัดรักษาโรคทางจิต โดยให้ผู้รับการบำบัดวาดภาพมันดาลา ซึ่งเป็นการแสดงออกทางอารมณ์และจิตใต้สำนึกของตัวตนภายใน ทำให้นักจิตแพทย์สามารถเข้าใจถึงปมปัญหาของคนไข้ได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังใช้ในการเสริมสร้างสมาธิและจินตนาการให้กับเด็ก ประกอบกับมีการนำเพลงมาเปิดประกอบในการพิจารณามันดาลาอีกด้วย จะเห็นได้ว่ามันดาลาในยุคปัจจุบันจึงมีรูปร่างและสีสรรที่แตกต่างกันออกไป ตามแต่ละบุคคลจะสร้างออกมา
อย่างไรก็ดี ภาพมันดาลาเป็นเรื่องที่ลึกซึ้ง บางท่านอาจสนใจเพียงความสวยงามและความสงบสุขเมื่อได้พบเห็น แต่แท้จริงแล้วมันดาลาเป็นสัญลักษณ์ที่ถ่ายทอดสิ่งที่เป็นนามธรรมของพระพุทธศาสนาออกมาเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ ความหมายที่แท้จริงซึ่งแฝงคำสอนในมันดาลาไม่ควรจะถูกมองข้ามไป และผู้ที่จะนำมันดาลาไปประยุกต์ใช้ในสาขาต่างๆ ควรมีความเข้าใจในหลักการพื้นฐานทางพุทธศาสตร์โดยเฉพาะในเรื่องสุญญตา และหลักธรรมต่างๆ เป็นอย่างดีเสียก่อน และควรตระหนักอยู่เสมอถึงสาระของมันดาลา และประโยชน์ที่ได้รับต่อการปฏิบัติและการฝึกจิตในการพิจารณา
อย่างน้อยการที่ฉันได้ค้นคว้าเรื่องราวของมันดาราในครั้งนี้ ก็ทำให้ฉันมีโอกาสได้พินิจพิจารณาความงามและความหมายอันลึกซึ้งที่ทำให้ฉันรู้สึกสงบและเป็นสุขอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

Saturday, December 02, 2006 9:37:00 AM  

Post a Comment

<< Home

Gabu on Facebook