There are no coincidences in the universe.
Existing, living, or going without others; alone
View my complete profile
posted by solitary animal @ 12:00 AM
นิยามของความกรุณาหมอคัตเลอร์พบว่าเมื่อคุยกับท่านทะไล ลามะ หลายครั้งรู้สึกว่าความกรุณาเป็นเรื่องสำคัญมากในเนื้อในตัวแห่งการพัฒนาทางจิตวิญญาณของท่าน เขาจึงถามท่านว่า ความกรุณาหมายถึงอะไรท่านทะไล ลามะ ตอบว่า "ความกรุณาหมายถึงสภาวะของจิตที่ไม่รุนแรง ไม่ทำร้าย ไม่ก้าวร้าว หวังให้ผู้อื่นพ้นจากทุกข์ทรมาน มีพันธะ มีความรับผิดชอบ มีความเคารพต่อผู้อื่น"
"เวลาพูดถึงความกรุณาต้องระวังอย่าไปปะปนกับความยึดติด ความรักมี 2 ชนิด ชนิดหนึ่งกอปรด้วยความยึดติด โดยหวังจะไปควบคุมคนอื่น หรือหวังว่าเขาจะทำอะไรตอบแทนเรา ความรักชนิดนี้มีอคติเจือปน ความสัมพันธ์ที่อยู่บนความรักชนิดนี้ไม่จีรัง ความสัมพันธ์ที่อาศัยความรักที่หวังตอบแทนแบบนี้ทำให้เกิดความยึดติด เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เช่น ความเห็นไม่ลงรอยที่เรียกว่าเพื่อนก็ไม่ใช่อีกต่อไป อารมณ์ยึดติดก็ระเหิดไป ความรักก็กลายเป็นความเกลียด ฉะนั้น ความรักที่อยู่บนความยึดติด เชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับความเกลียด...
"แต่มีความรักอีกชนิดหนึ่งที่ปลอดจากความยึดติด เป็นความกรุณาที่แท้ มันไม่เกี่ยวกับว่าคนนั้น คนนี้เป็นที่รักของฉัน แต่มันขึ้นกับเหตุผลที่ว่า มนุษย์ทั้งหลายต้องการความสุข หลุดพ้นจากความทุกข์เหมือนตัวเราเอง โดยที่เข้าใจ พื้นฐานของความเหมือนและเท่าเทียมกันของเพื่อนมนุษย์ ทำให้เรารู้สึกใกล้ชิดกับคนอื่น โดยพื้นฐานอย่างนี้ เรามีความกรุณาต่อทุกคน ไม่ว่าเขาจะเป็นเพื่อนหรือเป็นศัตรู มันเป็นสิทธิของทุกๆ คนที่จะได้รับความกรุณา ไม่ใช่ว่าคุณจะเลือกรู้สึกอย่างนั้นอย่างนี้ โดยพื้นฐานอย่างนี้คุณจะเกิดความรักและความกรุณาขึ้นในหัวใจ เป็นความกรุณาอย่างแท้จริง"
"ดังนั้น การที่เราจะต้องรู้จักแยกความรัก 2 ชนิด และปลูกฝังให้เกิดความกรุณาที่แท้จริงขึ้นมาในหัวใจ ควรจะเป็นเรื่องที่มีความสำคัญในชีวิตประจำวันของเรา ตัวอย่างเช่น ในการแต่งงาน จะมีความรักชนิดยึดติด แต่ถ้ามีความกรุณาอย่างแท้จริงด้วย โดยมีความเคารพซึ่งกันและกันระหว่างมนุษย์ 2 คน ชีวิตคู่ก็จะยืนยาว ในกรณีของการมีแต่ความยึดติดทางอารมณ์โดยปราศจากความกรุณา ชีวิตแต่งงานสลายลงโดยรวดเร็ว"
ความคิดเรื่องการสร้างความรักสากล โดยไม่หวังผลตอบแทน ดูมันจะยากเกินไปสำหรับหมดคัตเลอร์ เมื่อนึกถึงจิตใจตนเอง หมอคัตเลอร์จึงถามท่านทะไล ลามะว่า "แต่ความรักหรือความกรุณาเป็นอารมณ์ความรู้สึก ความรู้สึกน่าจะเหมือนกันไม่ว่ามันจะระคนด้วยความยึดติด หรือปราศจากการยึดติด ดังนั้น เมื่อผู้หนึ่งผู้ใดรู้สึกในอารมณ์อย่างเดียวกัน จะต้องแยกความรัก 2 ชนิดไปทำไมกัน"
ท่านทะไล ลามะ ตอบอย่างหนักแน่น "ความรู้สึกรักโดยไม่มีเงื่อนไขกับรักแบบยึดติด มีคุณภาพต่างกัน ไม่ใช่ความรู้สึกเดียวกัน ความรักที่แท้จริงนั้นแรงกว่าและกว้างกว่า มีคุณสมบัติที่ลึกซึ้ง นอกจากนั้นมันยั่งยืน และเชื่อถือได้มากกว่า เช่น...เมื่อคุณเห็นสัตว์กำลังได้รับความทุกข์ทรมาน เช่น ปลาติดเบ็ด คุณจะรู้สึกทนไม่ได้ ความรู้สึกนี้ไม่เกี่ยวกับความสัมพันธ์พิเศษระหว่างคุณกับสัตว์ตัวนั้น ว่า โอ้! สัตว์ตัวนี้มันเพื่อนฉัน แต่ความกรุณาในกรณีนี้เกิดจากว่าชีวิตนั้นๆ ก็มีความรู้สึก มีความเจ็บปวด และม่สิทธิ์ที่จะไม่ต้องเจ็บปวดเช่นนั้น คามกรุณาเช่นนี้ที่ไม่ระคนกับความอยากหรือความยึดติด เป็นความรู้สึกที่ดีกว่าและยั่งยืนมากว่า"
"ในตัวอย่างเรื่องปลาติดเบ็ดและเจ็บปวดอย่างยิ่ง ท่านได้ยกประเด็นที่สำคัญถึงความรู้สึกทนไม่ได้" หมอคัตเลอร์ติดตามเรื่องนี้"ใช่" ท่านทะไล ลามะตอบ "ที่จริง ในความหมายหนึ่ง เราอาจนิยามความกรุณาว่า คือความทนไม่ไดที่เห็นชีวิตอื่นได้รับความทุกข์ทรมาน การที่จะเกิดความรู้สึกอย่างนั้น เราจะต้องรับรู้ความทรมานของผู้อื่น ยิ่งเราเข้าใจความทุกข์ทรมานชนิดต่างๆ มากเพียงใด เราก็ยิ่งเกิดความกรุณาอย่างลึกในหัวใจ
"ความกรุณาที่จะเปิดรับความทุกข์ทรมานของคนอื่น เราทำเช่นนั้นทำไม ในเมื่อตัวเราเองก็ไม่อยากจะรู้ความเจ็บปวดของตัวเอง ถึงกับกินยาระงับปวดก็มี แล้วทำไมจะไปเปิดรับความเจ็บปวดของคนอื่นเข้ามาในตัวเราทำไม" หมอคัตเลอร์ถาม
โดยไม่ลังเลใจ ท่านทะไล ลามะตอบว่า "มีความแตกต่างกันระหว่างความทุกข์ของคุณเอง กับความทุกข์ของคนอื่นที่คุณรับเข้ามา แตกต่างกันในด้านคุณภาพ ความทุกข์ของตัวเองคุณรู้สึกว่ามันท่วมตัว หนัก รู้สึกช่วยตัวเองไม่ได้ มึนชาไปหมด"แต่ในความกรุณา ที่ไปรับเอาความทุกข์ของคนอื่นเข้ามา จริงอยู่อาจจะรู้สึกอึดอัดทนไม่ไหวอยู่บ้างเมื่อเริ่มต้น แต่ความรู้สึกจะต่างกัน คือมีความตื่นตัวและตั้งใจที่จะช่วยเหลือ เพราะเราเข้ามาเองด้วยความสมัครใจที่จะรับรู้ความทุกข์ของคนอื่นด้วยความประสงค์อันสูงส่ง มีความรู้สึกเชื่อมโยงกับผู้รับทุกข์และความตั้งใจที่จะช่วย เป็นความรู้สึกตื่นตัวไม่ใช่มึนชา เหมือนนักกีฬา ขณะที่ฝึกซ้อมอย่างหนัก อาจจะเหนื่อย เหงื่อออก ต้องใช้พลังมาก แต่นักกีฬาไม่ได้ถือว่าเป็นความเจ็บปวด แต่รู้สึกว่าเป็นความสำเร็จและปิติยินดี แต่ถ้าคนคนเดียวกันนั้นถูกบังคับให้ทำงานหนักที่รู้สึกว่าไม่ใช่การฝึกฝนทางกีฬา ก็จะมีความรู้สึกว่าทำไมฉันจะต้องมาทุกข์ทรมานอย่างนี้ด้วยนะ สภาวะจิตที่คิดแตกต่างกันมีความหมายอย่างยิ่ง"
คำพูดไม่กี่คำเหล่านี้ ที่พูดอย่างเชื่อมั่น ดึงหมอคัตเลอร์ขึ้นมาจากความรู้สึกหดหู่เกี่ยวกับการแก้ทุกข์ ไปสู่การผ่านเลยความทุกข์ "มีเทคนิคทางพุทธศาสนาอย่างไดหรือไม่ที่ช่วยเพิ่มพูนให้เกิดความกรุณา" หมอคัตเลอร์ถาม
"มี เช่น ในทางมหายานมี 2 วิธี คือ หนึ่ง วิธีที่เรียกว่า "วิธีแห่งเหตุและผล 7 ประหาร" กับ สอง "การแลกเปลี่ยนอย่างสมานัตตา" ถึงตรงนี้หมดเวลาเสียก่อนโดยยังไม่ได้อธิบายว่า 2 วิธีนี้คืออย่างไร
มากรุณาตัวเองกันเถอะกอดตัวเองเวลาเหงากอดตัวเองเวลาเศร้ายิ้มให้กับความเศร้า ท้อใจ ทุกข์ใจยิ้มให้กับความสุขที่มีทุกวินาที^____________^รักตัวเองให้เป็น แล้วคุณจะรู้จักวิธีในการให้ความรักกับผู้อื่นสะ บาย ดี๋ กา
รักตัวเองให้เป็น แล้วคุณจะรู้จักวิธีในการให้ความรักกับผู้อื่นYour first relationship must be with yourself. -CwG Book 1
Post a Comment
<< Home
13 Comments:
นิยามของความกรุณา
หมอคัตเลอร์พบว่าเมื่อคุยกับท่านทะไล ลามะ หลายครั้งรู้สึกว่าความกรุณาเป็นเรื่องสำคัญมากในเนื้อในตัวแห่งการพัฒนาทางจิตวิญญาณของท่าน เขาจึงถามท่านว่า ความกรุณาหมายถึงอะไร
ท่านทะไล ลามะ ตอบว่า "ความกรุณาหมายถึงสภาวะของจิตที่ไม่รุนแรง ไม่ทำร้าย ไม่ก้าวร้าว หวังให้ผู้อื่นพ้นจากทุกข์ทรมาน มีพันธะ มีความรับผิดชอบ มีความเคารพต่อผู้อื่น"
"เวลาพูดถึงความกรุณาต้องระวังอย่าไปปะปนกับความยึดติด ความรักมี 2 ชนิด ชนิดหนึ่งกอปรด้วยความยึดติด โดยหวังจะไปควบคุมคนอื่น หรือหวังว่าเขาจะทำอะไรตอบแทนเรา ความรักชนิดนี้มีอคติเจือปน ความสัมพันธ์ที่อยู่บนความรักชนิดนี้ไม่จีรัง ความสัมพันธ์ที่อาศัยความรักที่หวังตอบแทนแบบนี้ทำให้เกิดความยึดติด เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เช่น ความเห็นไม่ลงรอยที่เรียกว่าเพื่อนก็ไม่ใช่อีกต่อไป อารมณ์ยึดติดก็ระเหิดไป ความรักก็กลายเป็นความเกลียด ฉะนั้น ความรักที่อยู่บนความยึดติด เชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับความเกลียด...
"แต่มีความรักอีกชนิดหนึ่งที่ปลอดจากความยึดติด เป็นความกรุณาที่แท้ มันไม่เกี่ยวกับว่าคนนั้น คนนี้เป็นที่รักของฉัน แต่มันขึ้นกับเหตุผลที่ว่า มนุษย์ทั้งหลายต้องการความสุข หลุดพ้นจากความทุกข์เหมือนตัวเราเอง โดยที่เข้าใจ พื้นฐานของความเหมือนและเท่าเทียมกันของเพื่อนมนุษย์ ทำให้เรารู้สึกใกล้ชิดกับคนอื่น
โดยพื้นฐานอย่างนี้ เรามีความกรุณาต่อทุกคน ไม่ว่าเขาจะเป็นเพื่อนหรือเป็นศัตรู มันเป็นสิทธิของทุกๆ คนที่จะได้รับความกรุณา ไม่ใช่ว่าคุณจะเลือกรู้สึกอย่างนั้นอย่างนี้ โดยพื้นฐานอย่างนี้คุณจะเกิดความรักและความกรุณาขึ้นในหัวใจ เป็นความกรุณาอย่างแท้จริง"
"ดังนั้น การที่เราจะต้องรู้จักแยกความรัก 2 ชนิด และปลูกฝังให้เกิดความกรุณาที่แท้จริงขึ้นมาในหัวใจ ควรจะเป็นเรื่องที่มีความสำคัญในชีวิตประจำวันของเรา ตัวอย่างเช่น ในการแต่งงาน จะมีความรักชนิดยึดติด แต่ถ้ามีความกรุณาอย่างแท้จริงด้วย โดยมีความเคารพซึ่งกันและกันระหว่างมนุษย์ 2 คน ชีวิตคู่ก็จะยืนยาว ในกรณีของการมีแต่ความยึดติดทางอารมณ์โดยปราศจากความกรุณา ชีวิตแต่งงานสลายลงโดยรวดเร็ว"
ความคิดเรื่องการสร้างความรักสากล โดยไม่หวังผลตอบแทน ดูมันจะยากเกินไปสำหรับหมดคัตเลอร์ เมื่อนึกถึงจิตใจตนเอง หมอคัตเลอร์จึงถามท่านทะไล ลามะว่า "แต่ความรักหรือความกรุณาเป็นอารมณ์ความรู้สึก ความรู้สึกน่าจะเหมือนกันไม่ว่ามันจะระคนด้วยความยึดติด หรือปราศจากการยึดติด ดังนั้น เมื่อผู้หนึ่งผู้ใดรู้สึกในอารมณ์อย่างเดียวกัน จะต้องแยกความรัก 2 ชนิดไปทำไมกัน"
ท่านทะไล ลามะ ตอบอย่างหนักแน่น "ความรู้สึกรักโดยไม่มีเงื่อนไขกับรักแบบยึดติด มีคุณภาพต่างกัน ไม่ใช่ความรู้สึกเดียวกัน ความรักที่แท้จริงนั้นแรงกว่าและกว้างกว่า มีคุณสมบัติที่ลึกซึ้ง นอกจากนั้นมันยั่งยืน และเชื่อถือได้มากกว่า เช่น...เมื่อคุณเห็นสัตว์กำลังได้รับความทุกข์ทรมาน เช่น ปลาติดเบ็ด คุณจะรู้สึกทนไม่ได้ ความรู้สึกนี้ไม่เกี่ยวกับความสัมพันธ์พิเศษระหว่างคุณกับสัตว์ตัวนั้น ว่า โอ้! สัตว์ตัวนี้มันเพื่อนฉัน แต่ความกรุณาในกรณีนี้เกิดจากว่าชีวิตนั้นๆ ก็มีความรู้สึก มีความเจ็บปวด และม่สิทธิ์ที่จะไม่ต้องเจ็บปวดเช่นนั้น คามกรุณาเช่นนี้ที่ไม่ระคนกับความอยากหรือความยึดติด เป็นความรู้สึกที่ดีกว่าและยั่งยืนมากว่า"
"ในตัวอย่างเรื่องปลาติดเบ็ดและเจ็บปวดอย่างยิ่ง ท่านได้ยกประเด็นที่สำคัญถึงความรู้สึกทนไม่ได้" หมอคัตเลอร์ติดตามเรื่องนี้
"ใช่" ท่านทะไล ลามะตอบ "ที่จริง ในความหมายหนึ่ง เราอาจนิยามความกรุณาว่า คือความทนไม่ไดที่เห็นชีวิตอื่นได้รับความทุกข์ทรมาน การที่จะเกิดความรู้สึกอย่างนั้น เราจะต้องรับรู้ความทรมานของผู้อื่น ยิ่งเราเข้าใจความทุกข์ทรมานชนิดต่างๆ มากเพียงใด เราก็ยิ่งเกิดความกรุณาอย่างลึกในหัวใจ
"ความกรุณาที่จะเปิดรับความทุกข์ทรมานของคนอื่น เราทำเช่นนั้นทำไม ในเมื่อตัวเราเองก็ไม่อยากจะรู้ความเจ็บปวดของตัวเอง ถึงกับกินยาระงับปวดก็มี แล้วทำไมจะไปเปิดรับความเจ็บปวดของคนอื่นเข้ามาในตัวเราทำไม" หมอคัตเลอร์ถาม
โดยไม่ลังเลใจ ท่านทะไล ลามะตอบว่า "มีความแตกต่างกันระหว่างความทุกข์ของคุณเอง กับความทุกข์ของคนอื่นที่คุณรับเข้ามา แตกต่างกันในด้านคุณภาพ ความทุกข์ของตัวเองคุณรู้สึกว่ามันท่วมตัว หนัก รู้สึกช่วยตัวเองไม่ได้ มึนชาไปหมด
"แต่ในความกรุณา ที่ไปรับเอาความทุกข์ของคนอื่นเข้ามา จริงอยู่อาจจะรู้สึกอึดอัดทนไม่ไหวอยู่บ้างเมื่อเริ่มต้น แต่ความรู้สึกจะต่างกัน คือมีความตื่นตัวและตั้งใจที่จะช่วยเหลือ เพราะเราเข้ามาเองด้วยความสมัครใจที่จะรับรู้ความทุกข์ของคนอื่นด้วยความประสงค์อันสูงส่ง มีความรู้สึกเชื่อมโยงกับผู้รับทุกข์และความตั้งใจที่จะช่วย เป็นความรู้สึกตื่นตัวไม่ใช่มึนชา เหมือนนักกีฬา ขณะที่ฝึกซ้อมอย่างหนัก อาจจะเหนื่อย เหงื่อออก ต้องใช้พลังมาก แต่นักกีฬาไม่ได้ถือว่าเป็นความเจ็บปวด แต่รู้สึกว่าเป็นความสำเร็จและปิติยินดี แต่ถ้าคนคนเดียวกันนั้นถูกบังคับให้ทำงานหนักที่รู้สึกว่าไม่ใช่การฝึกฝนทางกีฬา ก็จะมีความรู้สึกว่าทำไมฉันจะต้องมาทุกข์ทรมานอย่างนี้ด้วยนะ สภาวะจิตที่คิดแตกต่างกันมีความหมายอย่างยิ่ง"
คำพูดไม่กี่คำเหล่านี้ ที่พูดอย่างเชื่อมั่น ดึงหมอคัตเลอร์ขึ้นมาจากความรู้สึกหดหู่เกี่ยวกับการแก้ทุกข์ ไปสู่การผ่านเลยความทุกข์
"มีเทคนิคทางพุทธศาสนาอย่างไดหรือไม่ที่ช่วยเพิ่มพูนให้เกิดความกรุณา" หมอคัตเลอร์ถาม
"มี เช่น ในทางมหายานมี 2 วิธี คือ หนึ่ง วิธีที่เรียกว่า "วิธีแห่งเหตุและผล 7 ประหาร" กับ สอง "การแลกเปลี่ยนอย่างสมานัตตา" ถึงตรงนี้หมดเวลาเสียก่อนโดยยังไม่ได้อธิบายว่า 2 วิธีนี้คืออย่างไร
มากรุณาตัวเองกันเถอะ
กอดตัวเองเวลาเหงา
กอดตัวเองเวลาเศร้า
ยิ้มให้กับความเศร้า ท้อใจ ทุกข์ใจ
ยิ้มให้กับความสุขที่มีทุกวินาที
^____________^
รักตัวเองให้เป็น แล้วคุณจะรู้จักวิธีในการให้ความรักกับผู้อื่น
สะ บาย ดี๋ กา
รักตัวเองให้เป็น แล้วคุณจะรู้จักวิธีในการให้ความรักกับผู้อื่น
Your first relationship must be with yourself.
-CwG Book 1
Post a Comment
<< Home