There are no coincidences in the universe.
Existing, living, or going without others; alone
View my complete profile
posted by solitary animal @ 2:51 PM
วันนี้ ทางคณะผู้จัดงานได้ตั้งชื่อเรื่องปาฐกถาให้อาตมภาพว่า เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ เริ่มต้นผู้ฟังบางท่านก็อาจจะสงสัยว่าเศรษฐศาสตร์แนวพุทธนั้นมีจริงหรือเป็นไปได้จริงหรือปัจจุบันนี้ วิชาเศรษฐศาสตร์ที่เรารู้จักกันอยู่ เป็นวิชาเศรษฐศาสตร์แบบตะวันตก เมื่อพูดถึงเศรษฐศาสตร์และเรื่องราวเนื้อหาวิชาเศรษฐศาสตร์ เราก็ใช้ภาษาเศรษฐศาสตร์แบบตะวันตก เมื่อคิดถึงเรื่องเศรษฐศาสตร์ เราก็คิดในกรอบความคิดของเศรษฐศาสตร์แบบตะวันตกด้วย ดังนั้น ถ้าจะมาพูดถึงเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ ก็ยากที่จะทำตัวเองให้พ้นออกไปจากกรอบความคิดของเศรษฐศาสตร์และภาษาเศรษฐศาสตร์แบบตะวันตกนั้น เพราะฉะนั้นการพูดถึงเศรษฐศาสตร์แนวพุทธก็อาจจะเป็นการพูดถึงพระพุทธศาสนาด้วยภาษาเศรษฐศาสตร์ตะวันตก ภายในกรอบความคิดของเศรษฐศาสตร์ตะวันตกนั้นเองอย่างไรก็ตาม ก็ถือว่าให้เราลองมาช่วยกันพิจารณาเรื่องนี้ บางทีอาจจะได้รับข้อคิดบางอย่าง ถึงแม้จะไม่ได้เป็นเศรษฐศาสตร์แนวพุทธจริง ก็อาจจะมีแนวคิดทางพุทธบางอย่างที่เอามาใช้ประโยชน์ในทางเศรษฐศาสตร์ได้บ้าง
เมื่อประมาณ 18 ปีมาแล้ว นักเศรษฐศาสตร์ฝรั่งคนหนึ่งชื่อว่า นาย อี.เอฟ ชูมาเกอร์ (E.F. Schumacher) ได้พิมพ์หนังสือออกมาเล่มหนึ่ง ชื่อว่า Small Is Beautiful มีผู้แปลเป็นภาษาไทยดูเหมือนจะใช้ชื่อว่า จิ๋วแต่แจ๋ว ในหนังสือเล่มนี้ บทหนึ่งคือ บทที่ 4 ได้ตั้งชื่อว่า "Buddhist Economics" แปลว่า เศรษฐศาสตร์ชาวพุทธ หนังสือเล่มนี้ และโดยเฉพาะบทความบทนี้ ได้ทำให้คนจำนวนมากทั้งในตะวันออก และตะวันตกเกิดความสนใจในเรื่องพุทธศาสนาด้านที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจขึ้นมา จึงนับว่าท่านชูมาเกอร์นี้เป็นผู้มีอุปการคุณอย่างหนึ่ง ในการที่ทำให้เกิดความสนใจพุทธศาสนาในแง่เศรษฐศาสตร์ขึ้นแต่ถ้าพิจารณาให้ลึกลงไปอีก การที่ท่านชูมาเกอร์ได้เขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นโดยมีบทความเรื่องเศรษฐศาสตร์ชาวพุทธนั้น และการที่ฝรั่งในสถานศึกษาต่างๆ หันมาสนใจเรื่องพุทธเศรษฐศาสตร์ หรือเศรษฐศาสตร์แนวพุทธนี้ ก็มีภูมิหลังที่ว่า มาถึงปัจจุบันนี้วิทยาการ และระบบการต่างๆของตะวันตก ได้มาถึงจุดหนึ่งที่เขาเกิดความรู้สึกกันว่ามีความติดตัน หรือความอับจนเกิดขึ้น หรือสำหรับบางคนอาจจะไม่ยอมรับภาวะนี้ ก็อาจจะเรียกว่ามาถึงจุดหัวเลี้ยวหัวต่อจุดหนึ่ง ที่อาจจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดและวิธีปฏิบัติในวิทยาการสาขาต่างๆ คือมีความรู้สึกกันว่า วิชาการต่างๆ ที่ได้พัฒนากันมาจนถึงปัจจุบันนี้ ไม่สามารถแก้ปัญหาของโลกและชีวิตให้สำเร็จได้ จะต้องมีการขยายแนวความคิดกันใหม่หรือหาช่องทางกันใหม่
เมื่อเกิดความรู้สึกอย่างนี้กันขึ้น ก็จึงมีการแสวงหาแนวความคิดที่นอกจากวงวิชาการของตนออกไป อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีการสนใจในพุทธศาสนารวมทั้งปรัชญาอะไรต่ออะไรเก่าๆ โดยเฉพาะที่เป็นของตะวันออกขึ้นด้วย อันนี้ก็เป็นปรากฏการณ์ที่เห็นกันชัดเจนในประเทศตะวันตกปัจจุบัน ที่ว่าได้หันมาสนใจตะวันออก ทีนี้ การที่ชูมาเกอร์จับหลักการของพุทธธรรมโดยพูดถึง Buddhist economics หรือพุทธเศรษฐศาสตร์นั้น เขาก็จับเอาที่เรื่องมรรคนั่นเอง มรรคนั้นเรารู้จักกันว่าเป็นข้อหนึ่งในอริยสัจ 4 ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค มรรคนั้นเป็นข้อปฏิบัติทั้งหมดในพุทธศาสนาชูมาเกอร์กล่าวว่า มรรคคือวิถีชีวิตของชาวพุทธนั้นมีองค์ประกอบอยู่ข้อหนึ่ง คือ สัมมาอาชีวะ ซึ่งแปลว่า การเลี้ยงชีพชอบ ในเมื่อสัมมาอาชีวะนี้เป็นองค์ประกอบอยู่ข้อหนึ่งในมรรคหรือวิถีชีวิตของชาวพุทธ ก็แสดงว่าจะต้องมีสิ่งที่เรียกว่า Buddhist economics คือ เศรษฐศาสตร์ชาวพุทธ อันนี้คือจุดเริ่มต้นของท่านชูมาเกอร์
แต่ท่านชูมาเกอร์จะมีทัศนะอย่างไร เศรษฐศาสตร์ชาวพุทธเป็นอย่างไร ตอนนี้ อาตมภาพจะยังไม่พูดก่อน จะขอเล่าเรื่องคล้ายๆนิทานเรื่องหนึ่ง จากคัมภีร์พุทธศาสนาให้ฟัง ที่จริงไม่ใช่นิทานแต่เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสมัยพุทธกาล เรื่องราวเรื่องนี้จะบอกอะไรหลายอย่างที่เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ในพุทธศาสนา และผู้ฟังก็อาจจะตีความของตนเองว่า พุทธเศรษฐศาสตร์เป็นอย่างไร เรื่องมีอยู่ว่าสมัยหนึ่งในพุทธกาลเมื่อพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ขณะที่พระองค์เสด็จประทับ ณ พระเชตวัน ในพระนครสาวัตถี วันหนึ่งตอนเช้า พระองค์ได้ทรงพิจารณาว่า มีคนเข็ญใจคนหนึ่งอยู่ในเมืองอาฬวีห่างไกลออกไป เป็นผู้มีความพร้อม มีอินทรีย์แก่กล้าพอที่จะฟังธรรม พระองค์สมควรจะเสด็จไปโปรด ดังนั้น วันนั้นตอนสาย พระองค์ก็เสด็จเดินทางไปยังเมืองอาฬวี ซึ่งอยู่ห่างไกลออกไป 30 โยชน์ ตีเสียว่าประมาณ 480 กิโลเมตร เมื่อเสด็จถึงเมืองอาฬวี ชาวเมืองอาฬวี มีความนับถือพระองค์อยู่แล้ว ก็ต้อนรับ และในที่สุดก็จัดสถานที่เตรียมที่จะฟังธรรมกัน แต่จุดมุ่งของพระพุทธเจ้านั้น เสด็จไปเพื่อจะโปรดคนคนเดียวที่เป็นคนเข็ญใจนั้น พระองค์จึงทรงรั้งรอไว้ก่อน รอให้นายคนเข็ญใจคนนี้มาฝ่ายนายคนเข็ญใจนี้ได้ทราบข่าวว่า พระพุทธเจ้าเสด็จมา เขามีความสนใจอยู่แล้ว อยากจะฟังธรรม แต่พอดีว่าวัวตัวหนึ่งของเขาหายไป เขาจึงคิด เอ! เราจะฟังธรรมก่อนหรือหาวัวก่อนดีนะ คิดแล้วก็ตัดสินใจว่าหาวัวก่อน หาวัวเสร็จแล้วค่อยไปฟังธรรม ตกลงเขาก็ออกเดินทางเข้าไปในป่า ไปหาวัวของเขา ในที่สุดก็ได้พบวัวนั้นและต้อนกลับมาเข้าฝูงของมันได้ แต่กว่าเขาจะทำอย่างนี้สำเร็จก็เหนื่อยมาก ครั้งแล้วเขาจึงคิดว่า เอ! เวลาก็ล่วงไปมากแล้ว ถ้าเราจะกลับไปบ้านก่อนก็จะยิ่งเสียเวลา เราจะไปฟังธรรมเลยทีเดียว ตกลงนายคนเข็ญใจคนนี้ก็เดินทางไปยังที่เขาจัดเพื่อการแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า เข้าไปฟังธรรม แต่มีความเหนื่อยและหิวเป็นอันมากพระพุทธเจ้า เมื่อทอดพระเนตรเห็นนายคนเข็ญใจนี้มา พระองค์ทรงทราบดีว่า เขาเหนื่อยและหิว พระองค์จึงได้ตรัสบอกให้คนจัดแจงทาน จัดอาหารมาให้นายคนเข็ญใจนี้กินเสียก่อน เมื่อคนเข็ญใจคนนี้กินอาหารเรียบร้อยอิ่มสบายใจดีแล้ว พระองค์ก็แสดงธรรมให้ฟัง นายคนเข็ญใจนี้ฟังธรรมแล้วได้บรรลุโสดาปัตติผล ก็เป็นอันว่าบรรลุความมุ่งหมายในการเดินทางของพระพุทธเจ้า พระองค์แสดงธรรมครั้งนี้เสร็จก็ลาชาวเมืองอาฬวีเสด็จกลับยังพระเชตวัน แต่ในระหว่างทางนั้น พระภิกษุสงฆ์ที่เดินทางไปด้วยก็วิพากษ์วิจารณ์พระพุทธเจ้าว่า เอ๊ะ! วันนี้เรื่องอะไรนะพระพุทธเจ้าทรงค่อนข้างจะวุ่นวายมีการให้คนจัดอาหารให้คนเข็ญใจรับประทานพระพุทธเจ้าได้ทรงรับทราบ ก็ได้ทรงหันมาตรัสชี้แจงแก่พระภิกษุเหล่านั้น ตอนหนึ่งพระองค์ตรัสว่า คนที่ถูกความหิวครอบงำ มีความทุกข์จากความหิว แม้จะแสดงธรรมให้เขาฟัง เขาก็จะไม่สามารถเข้าใจได้ แล้วพระองค์ก็ตรัสต่อไปว่า ชิมฆจฉา ปรมา โรคา เป็นต้น แปลว่า ความหิวเป็นโรคที่ร้ายแรงที่สุด สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ที่หนักหน่วงที่สุด เมื่อทราบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว จึงจะบรรลุนิพพานที่เป็นบรมสุขนี่คือเรื่องที่อาตมภาพเล่าให้ฟัง ลักษณะทั่วไปของเศรษฐศาสตร์ชาวพุทธนั้นคิดว่าปรากฏอยู่ในเรื่องที่เล่ามานี้แล้ว แต่ผู้ฟังก็อาจจะตีความไปได้ต่าง ๆกัน ถ้าหากมีเวลา เราอาจจะได้หันกลับมาวิเคราะห์เรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง แต่ตอนนี้จะขอผ่านไปก่อน ขอให้เป็นเรื่องของผู้ฟังที่จะตีความกันเอาเอง
ข้อจำกัดของเศรษฐศาสตร์แห่งยุคอุตสาหกรรม1. การแยกตัวโดดเดี่ยว เป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ทีนี้หันกลับมาพูดถึงเศรษฐศาสตร์ในปัจจุบัน เศรษฐศาสตร์ในปัจจุบันนี้ได้แยกเอากิจกรรมทางเศรษฐกิจอกมาพิจารณาต่างหากโดดเดี่ยวจากกิจกรรมด้านอื่นๆของชีวิตมนุษย์ และจากวิทยาการด้านอื่นๆ เขาเรียกว่าเป็นไปตามแนวของ specialization คือ ความชำนาญพิเศษในทางวิชาการ หรือความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ซึ่งเป็นลักษณะของความเจริญในยุคอุตสาหกรรม เพราะฉะนั้น ในการพิจารณากิจกรรมของมนุษย์ เศรษฐศาสตร์จึงได้พยายามตัดนัย หรือแง่ความหมายอื่นๆ ที่ไม่ใช่เรื่องทางเศรษฐกิจออกไปเสีย เมื่อจะพิจารณาเรื่องกิจกรรมการดำเนินชีวิตอะไรก็ตามของมนุษย์ ก็จะพิจารณาในแง่เดียว คือแง่ที่เกี่ยวกับวิชาการของตนเองเท่านั้น การที่เศรษฐศาสตร์แยกตัวออกมาโดดเดี่ยวอย่างนี้นี่แหละ นับว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่ได้ทำให้เกิดปัญหาขึ้นมา ซึ่งจะต้องมาพิจารณาว่า ทัศนะของพุทธศาสนาเป็นอย่างไร?
ถ้ามองในแง่ของพุทธศาสนา เศรษฐศาสตร์แนวพุทธไม่แยกโดดเดี่ยวจากความรู้และความจัดเจนด้านอื่นๆของมนุษย์ กิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่แยกโดดเดี่ยวจากกิจกรรมด้านอื่นๆในการแก้ปัญหาของมนุษย์ เพราะฉะนั้นเศรษฐศาสตร์ไม่เป็นศาสตร์ที่เสร็จสิ้นในตัวโดยลำพัง แต่อิงอาศัยกันกับวิทยาการด้านอื่นๆ ในระบบความสัมพันธ์ของชีวิตและสังคม ถ้ามีกิจกรรมอันใดอันหนึ่งขึ้นมา เราก็สามารถมองได้หลายแง่ ยกตัวอย่างเช่น การโฆษณา การโฆษณาเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่ปรากฏในสังคม และเป็นกิจกรรมที่เป็นเรื่องของเศรษฐกิจได้แน่นอน ในแง่ของเศรษฐกิจนั้น การโฆษณาเป็นการชักจูงใจให้คนมาซื้อของ ซึ่งจะทำให้ขายของได้ดีขึ้น แต่ในเวลาเดียวกัน ก็เป็นการเพิ่มต้นทุนทำให้ของนั้นแพงขึ้นไปด้วยทีนี้ ถ้าพิจารณาในแง่สังคม การโฆษณาก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับค่านิยมของสังคมด้วย โดยที่ว่าคนที่จะโฆษณานั้นเขามักจะอาศัยค่านิยมของสังคมนั้นเอง มาเป็นเครื่องช่วยในการที่จะจัดวิธีการโฆษณาให้ดึงดูดใจคนโดยสัมพันธ์กับจิตวิทยา คือใช้จิตวิทยาสังคมเป็นเครื่องมือเอาค่านิยมไปใช้ในทางเศรษฐกิจ ในทางจริยธรรม การโฆษณาก็มีความหมายเหมือนกัน เช่น อาจจะต้องคิดว่า วิธีการโฆษณาของบริษัท หรือกิจการ หรือธุรกิจนั้น เป็นการชักจูงให้คนมัวเมาในวัตถุมากขึ้นหรือไม่ อาจจะมีผลไม่ดีทางจิตใจอะไรบ้าง หรืออาจจะใช้ภาพที่ไม่เหมาะไม่ควร ทำให้เกิดผลเสียทางศีลธรรมอย่างไร หรือทางฝ่ายการเมืองก็มีเรื่องต้องพิจารณาว่า จะมีนโยบายอย่างไรเกี่ยวกับการโฆษณานี้ เช่นว่า จะควรควบคุมหรือไม่อย่างไร เพื่อผลดีในทางเศรษฐกิจก็ตาม หรือในทางศีลธรรมก็ตาม แม้แต่ในทางการศึกษาก็ต้องเกี่ยวข้อง เพราะอาจจะต้องพยายามหาทางสอนคนให้รู้เท่าทัน ให้พิจารณาการโฆษณาอย่างมีวิจารณญาณว่า ควรจะเชื่อคำโฆษณาแค่ไหน ซึ่งเมื่อให้การศึกษาดีแล้ว ก็มีผลย้อนกลับมาทางเศรษฐกิจอีก ทำให้คนนั้นมีการตัดสินใจที่ดีขึ้นในการที่จะซื้อข้าวของ เป็นต้น อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ว่า กิจกรรมต่างๆ ในสังคมมนุษย์นั้นมีแง่พิจารณาหลายแง่ ซึ่งสัมพันธ์โยงกันไปหมด จะพิจารณาแง่หนึ่งแง่เดียวไม่ได้
Specialization หรือความชำนาญพิเศษในวิทยาการเฉพาะแง่ใดแง่หนึ่งนั้น ความจริงก็เป็นสิ่งที่มีประโยชน์มาก ตราบเท่าที่เรายังไม่ลืมความมุ่งหมายเดิม กล่าวคือ การที่เรามีกิจกรรมหรือวิทยาการพิเศษต่าง ๆ ขึ้นมานั้น ก็เพื่อเป็นส่วนร่วมกันในการที่จะแก้ปัญหาของมนุษย์ ถ้าเรากำหนดขอบเขตของตัวเองให้ดี กำหนดจุดที่เป็นหน้าที่ของตัวเองให้ดี ทำหน้าที่ให้ถูกต้อง และกำหนดจุดที่จะประสานกับวิทยาการสาขาอื่นๆ ให้ดีแล้ว ก็จะเป็นการร่วมกันทำงานในการแก้ปัญหาของมนุษย์ให้ได้ผลดียิ่งขึ้น จุดผิดพลาดก็อยู่ที่ว่า จะเกิดความลืมตัว นึกว่าวิทยาการของตัวเองนั้นแก้ปัญหาของมนุษย์ได้หมด ถ้าถึงอย่างนั้นแล้วก็จะเกิดความผิดพลาดขึ้น และจะแก้ปัญหาไม่สำเร็จด้วย เมื่อยอมรับกันอย่างนี้แล้ว ข้อสำคัญก็อยู่ที่จะต้องจับจุดให้ได้ว่า เศรษฐศาสตร์นี้จะโยงต่อกับศาสตร์ หรือวิทยาการอื่น ๆ หรือกิจกรรมอื่นๆ ของมนุษย์ที่จุดไหน เช่นว่าเศรษฐศาสตร์จะเชื่อมโยงกับการศึกษาที่จุดไหน จะเชื่อมโยงกับจริยธรรมที่จุดไหน ในการร่วมกันแก้ปัญหาของมนุษย์ ถ้าจับอย่างนี้ได้ ก็มีทางที่จะทำให้การที่ตนเป็นศาสตรวิทยาที่ชำนาญพิเศษโดยเฉพาะนั้น เกิดประโยชน์ขึ้นอย่างแท้จริงการที่ชูมาเกอร์พูดว่าในเมื่อสัมมาอาชีวะเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของมรรคมีองค์ 8 ก็ทำให้เห็นว่าจะต้องมี Buddhist economics คำของชูมาเกอร์นี้ยังมีความหมายแฝงต่อไปอีกด้วย คือ ข้อที่ 1 แสดงว่า สัมมาอาชีวะนั้นมีความสำคัญมาก หรือว่าเศรษฐกิจนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ในทางพุทธศาสนาจึงได้จัดเป็นองค์มรรคขึ้นมาข้อหนึ่ง แสดงว่าพระพุทธศาสนายอมรับความสำคัญของเศรษฐกิจ ยกให้เป็นองค์มรรคข้อหนึ่งเลยทีเดียว แต่ข้อที่ 2 มองในทางกลับตรงกันข้ามก็มีความหมายว่า สัมมาอาชีวะหรือเรื่องราวทางเศรษฐกิจนั้น ก็เป็นเพียงองค์ประกอบอย่างหนึ่งในบรรดาองค์ประกอบหลายอย่างของวิถีชีวิตที่ถูกต้องที่จะแก้ปัญหาของชีวิตได้ ซึ่งในทางพุทธศาสนานั้นก็ได้บอกไว้ว่า มีองค์ประกอบถึง 8 ประการด้วยกัน
2. ไม่เป็นอิสระจากจริยธรรม แต่ไม่ใส่ใจจริยธรรม ในบรรดาองค์ประกอบที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาของมนุษย์ซึ่งมีหลายอย่างนั้น ในที่นี้จะยกขึ้นมาพูดสักอย่างหนึ่ง คือเรื่อง จริยธรรม เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพระ ในฐานะที่เป็นบุคคลผู้ทำหน้าที่ทางจริยธรรมมากสักหน่อย เรามาพิจารณาโดยยกเอาจริยธรรมเป็นตัวอย่างว่า จริยธรรมซึ่งเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของการดำเนินชีวิตของมนุษย์นั้น มีผลสัมพันธ์กับเศรษฐกิจอย่างไร โดยทั่วไปเราก็มองเห็นกันชัดเจนอยู่แล้วว่าเรื่องจริยธรรมนั้น มีความหมายสำคัญต่อเรื่องเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก แต่ในที่นี้ จะขอให้เรามายอมเสียเวลากันสักนิดหน่อย ดูตัวอย่างบางอย่างที่แสดงให้เห็นว่า จริยธรรมนั้นมีความสัมพันธ์และสำคัญต่อเรื่องเศรษฐกิจและเศรษฐศาสตร์อย่างไร สภาพทางจริยธรรมย่อมมีผลต่อเศรษฐกิจทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ยกตัวอย่างเช่นว่า ถ้าท้องถิ่นไม่ปลอดภัย สังคมไม่ปลอดภัย มีโจรผู้ร้ายมาก มีการลักขโมยปล้นฆ่าทำร้ายร่างกายกันมาก ตลอดกระทั่งว่าการคมนาคมขนส่งไม่ปลอดภัย ก็เห็นได้ชัดว่า พ่อค้าหรือบริษัทห้างร้านต่างๆ จะไม่กล้าไปตั้งร้าน ไม่กล้าไปลงทุน คนก็อาจจะไม่กล้าเดินทางไปเที่ยว ชาวต่างชาติก็ไม่กล้าที่จะมาทัศนาจร อะไรอย่างนี้ ผลเสียทางเศรษฐกิจก็เกิดขึ้น อันนี้เป็นเรื่องหนึ่งที่มองเห็นได้ง่าย ในการโดยสารรถยนต์อย่างในกรุงเทพฯ ถ้าคนโดยสารซื่อสัตย์ คนเก็บตั๋วซื่อสัตย์ คนรถซื่อสัตย์ นอกจากว่ารัฐจะได้เงินเข้าเป็นผลประโยชน์ของรัฐอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยแล้ว ก็อาจจะทุ่นเงิน ประหยัดทรัพย์ ไม่ต้องมาเสียเงินจ้างคนคุม นายตรวจ ตลอดจนกระทั่งว่าบางทีไม่ต้องมีคนเก็บตั๋วก็ได้ เพราะใช้วิธีของความซื่อสัตย์ อาจจะให้จ่ายตั๋วใส่ในกล่องเองอะไรทำนองนี้ในเรื่องของบ้านเมืองโดยทั่วไป ถ้าพลเมืองเป็นคนมีระเบียบวินัย ช่วยกันรักษาความสะอาด รัฐก็อาจจะไม่ต้องเสียเงินมากเพื่อจ้างคนกวาดขยะจำนวนมากมาย และการใช้อุปกรณ์ก็สิ้นเปลืองน้อย ทำให้ประหยัดเงินที่จะใช้จ่าย ในทางตรงข้ามหรือในทางลบ พ่อค้าเห็นแก่ได้ ต้องการลงทุนน้อย แต่ให้ขายของได้ดี ใช้ส่วนประกอบที่ไม่ได้มาตรฐานปรุงเข้าไปในอาหาร เช่น ใช้สีย้อมผ้าใส่ในขนมเด็ก เป็นต้น หรือใช้น้ำส้มที่ไม่ใช่น้ำส้มสายชูจริง แต่เป็นน้ำกรด หรือใช้น้ำยาประสานทองใส่ในลูกชิ้นเด้งอะไรทำนองนี้ ก็อาจจะทำให้เกิดอันตราย มีผลเสียต่อสุขภาพของคน เมื่อคนเสียสุขภาพแล้วก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายสิ้นเปลืองในการรักษาพยาบาลคนนั้นอีก แล้วเราก็จะต้องใช้เงินมากมายในการตรวจจับ และดำเนินคดี นอกจากนั้น คนที่เสียสุขภาพแล้ว ก็เสียประสิทธิภาพในทางแรงงาน ทำให้การผลิตลดลงหรือเสื่อมเสียไปอีกพ่อค้าที่เห็นแก่ได้อย่างเดียวนั้น ทำการในขอบเขตกว้างขวางออกไป โดยปลอมปนสินค้าที่ส่งไปขายต่างประเทศ ก็อาจจะทำให้สูญเสียความไว้วางใจ ในที่สุดผลเสียหายทางเศรษฐกิจก็สะท้อนกลับมา คืออาจจะสูญเสียตลาดการค้าขายในต่างประเทศ เสียรายได้ที่จะเข้าประเทศ พ่อค้าที่เห็นแก่ได้นั้น เมื่อทำธุรกิจในระบบการแข่งขันเสรี ก็อาจจะทำให้การค้าเสรีกลายเป็นไม่เสรีไป ด้วยความเห็นแก่ได้ของตัวเอง โดยใช้วิธีแข่งขันนอกแบบ ทำให้การแข่งขันเสรีนำไปสู่ความหมดเสรีภาพ เพราะอาจจะใช้อิทธิพลทำให้เกิดการผูกขาดในทางตลาดขึ้น อาจจะเป็นการทำให้หมดเสรีในแบบ หรือหมดเสรีนอกแบบก็ได้ หมดเสรีนอกแบบก็เช่นว่า ใช้เงินจ้างมือปืนรับจ้างฆ่าผู้แข่งขันในทางเศรษฐกิจเสีย อย่างนี้เป็นต้น นี่ก็หมดเสรีเหมือนกัน แต่หมดเสรีนอกแบบ บางทีในตำราเศรษฐศาสตร์ก็ไม่ได้เขียนไว้ด้วยซ้ำในทางต่างประเทศ บริษัทต่างประเทศส่งยาที่ห้ามขายในประเทศของตน เข้ามาขายในประเทศด้อยพัฒนา ก็เกิดเป็นอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพของประชาชน เสื่อมเสียคุณภาพและประสิทธิภาพของแรงงานในทางเศรษฐกิจ และเสียค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น สิ้นเปลืองงบประมาณของประเทศ ในอีกด้านหนึ่ง พ่อค้าโฆษณาเร้าความต้องการให้คนอยากซื้อสินค้า ก็สิ้นเปลืองค่าโฆษณา เอามาบวกเข้าในต้นทุน ทำให้สินค้าแพงขึ้น คนก็พากันซื้อสินค้าทั้งที่ไม่จำเป็น และแพงโดยไม่จำเป็นด้วย มีความฟุ่มเฟือย ใช้ทิ้งใช้ขว้าง โดยไม่คุ้มค่า บางทีใช้เดี๋ยวหนึ่งก็เปลี่ยน เดี๋ยวหนึ่งก็เปลี่ยน อันนี้ก็เป็นความสิ้นเปลืองในทางเศรษฐกิจ ซึ่งมาสัมพันธ์กับค่านิยมของคนที่ชอบอวดโก้ ชอบอวดฐานะ ทำให้พ่อค้าได้โอกาสเอาไปใช้ประโยชน์ เอากลับมาหาเงินจากลูกค้าอีก คนที่มีค่านิยมชอบอวดโก้ อวดฐานะ ก็อาจจะซื้อสินค้าที่แพงโดยไม่จำเป็น โดยไม่พิจารณาถึงคุณภาพ เอาความโก้เก๋นี้มาเป็นเกณฑ์ ทั้ง ๆที่แพงก็ซื้อเอามา ยิ่งกว่านั้น คนจำนวนมากในสังคมของเรา ซึ่งชอบอวดโก้แข่งฐานะกัน พอมีสินค้าใหม่เข้ามา แต่เงินยังไม่พอ ก็รอไม่ได้ ต้องรีบกู้ยืมเงินเขามาซื้อ เป็นหนี้เขา ทำให้เกิดผลเสียร้ายแรงในทางเศรษฐกิจ เสร็จแล้วตัวเองก็มีฐานะแย่ เศรษฐกิจของชาติก็แย่ ดุลการค้าของประเทศก็เสียเปรียบเขาไป ฉะนั้น ค่านิยมของคนจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเสียดุลการค้าระหว่างประเทศ ค่านิยมไม่ใช่เรื่องของเศรษฐกิจโดยตรง แต่มีผลต่อเศรษฐกิจมากคนที่อยู่ในวงการธุรกิจคนหนึ่งเคยพูดให้ฟังว่า ถ้าเห็นพี่น้องชาวซิกส์คนหนึ่งนั่งรถมอเตอร์ไซด์ ให้สันนิษฐานได้เลยว่ามีเงินล้าน ถ้าหากเห็นพ่อค้าชาวซิกส์นั่งรถเก๋งให้สันนิษฐานว่ามีเงินเป็นสิบเป็นร้อยล้าน แต่ถ้าเห็นคนไทยนั่งรถมอเตอร์ไซด์ ท่านลองไปบ้านนอกดู 50% อาจจะกู้ยืมเงินเขามาซื้อ นี่ก็เป็นเรื่องของค่านิยมเหมือนกัน ทีนี้ ถึงแม้นั่งรถยนต์ก็เหมือนกัน บางทีมีเงินไม่เท่าไรหรอกก็ไปกู้ยืมเขามา หรือใช้ระบบผ่อนส่ง เราก็มีรถเก๋งนั่งกันเกร่อไปหมด แล้วก็ทำให้เกิดปัญหาจราจรติดขัดมาก จราจรติดขัดมากก็มีผลเสียทางเศรษฐกิจอีก ผลที่สุดมันวุ่นกันไปหมด เรื่องทางสังคมกับเศรษฐกิจนี้หนีกันไม่พ้นเรื่องค่านิยมอวดเด่นอวดโก้ถือหน้าถือตานี้ ในสังคมไทยเรามีเรื่องพูดได้มาก คนไทยบางคนทั้ง ๆที่มีเงินมีฐานะดีพอสมควร แต่จะตีตั๋วเข้าไปดูการแสดงเพียงค่าตั๋ว 20 บาท หรือ 100 บาท เสียไม่ได้ ต้องการจะแสดงว่าฉันมีอิทธิพล ก็ไปหาทางเข้าดูฟรี ไปเอาบัตรเบ่ง วางโต อวดโก้เข้าดูฟรี ไม่ยอมเสียเงิน 20 บาท หรือ 100 บาท แต่คนๆเดียวกันนี้แหละ อีกคราวหนึ่ง ต้องการแสดงความมีฐานะมีหน้ามีตา จัดงานใหญ่โตเลี้ยงคนจำนวนมากมาย เสียเงินเป็นหมื่นเป็นแสนเสียได้ ลักษณะจิตใจหรือคุณค่าทางจิตใจแบบนี้ มีผลต่อเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ซึ่งบางทีนักเศรษฐศาสตร์ตะวันตกเข้ามาเมืองไทย เจอเข้าแล้ว ต้องขออภัยพูดว่า หงายหลังไปเลย คือแก้ปัญหาเศรษฐกิจไม่ตก เพราะว่ามาเจอลักษณะนิสัยจิตใจและพฤติกรรมแปลกใหม่ที่ไม่เคยเจอเข้าแบบนี้แล้วคิดไม่ทัน ไม่รู้จะแก้อย่างไร เพราะฉะนั้น ในเรื่องเศรษฐกิจนี้ เราจะต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบต่างๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องเหล่านี้ด้วย เราจะเห็นว่า เรื่องศรัทธาความเชื่อต่าง ๆ มีผลในทางเศรษฐกิจเป็นอันมาก เราต้องมีความเชื่อถือต่อธนาคาร มีความเชื่อถือตลาดหุ้น ถ้าเกิดความไม่เชื่อถือ หมดศรัทธาเมื่อไร บางทีตลาดหุ้นแทบจะล้มเลย ธนาคารบางทีก็ล้มไปได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น การมีศรัทธาก็ดี การเชื่อแม้แต่คำโฆษณาก็ดี จึงมีผลต่อพฤติกรรมและกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งสิ้น และความมีศรัทธาก็ดี ความหมดศรัทธาก็ดี ในหลายกรณี เป็นอาการที่ปลุกเร้ากันขึ้น เช่น ด้วยการโฆษณา เป็นต้นในวงงานของเรา ถ้านายงานวางตัวดี มีความสามารถ หรือมีน้ำใจ ลูกน้องรักใคร่ศรัทธา ลูกน้องมีความสามัคคี ขยัน ตั้งใจทำงาน ก็ทำให้ผลผลิตสูงขึ้น ถ้านายจ้างนั้นมีความดีมากให้ลูกน้องเห็นใจ บางทีกิจการของบริษัทจะล้ม ลูกน้องก็พากันเสียสละช่วยกันทุ่มเททำงานเต็มกำลังเพื่อกู้ฐานะของบริษัท ไม่หลีกหนีไป แม้กระทั่งยอมสละค่าแรงงานที่ตนได้ก็มี แทนที่จะเรียกร้องเอาอย่างเดียวฉะนั้น คุณค่าทางจิตใจเหล่านี้จึงเป็นตัวแปรในทางเศรษฐกิจได้ทั้งสิ้น ซึ่งเราก็เห็นกันชัดๆว่า ความขยัน ความซื่อสัตย์ ความรักงาน ความตรงต่อเวลา มีผลต่อสิ่งที่เราเรียกว่า Productivity คือการเพิ่มผลผลิต รวมทั้ง Efficiency คือความมีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก ในทางตรงข้าม ความเบื่อหน่าย การคดโกง ทุจริต ความรู้สึกแปลกแยก ท้อถอย ความขัดแย้ง แม้แต่ความกลุ้มใจกังวลในเรื่องส่วนตัว ก็มีผลลบต่อ Productivity ทำลายการเพิ่มผลผลิตนั้นได้ เรื่องนี้ไม่จำเห็นจะต้องพรรณนาในวงกว้างออกไป เกี่ยวกับลัทธิชาตินิยม ความรู้สึกชาตินิยม ถ้าปลูกฝังให้มีขึ้นในคนได้ ก็อาจจะทำให้คนในชาตินั้น ไม่ยอมซื้อของนอกใช้ ทั้งๆที่ว่าของนั้นดี ล่อใจให้อยากจะซื้อ อยากจะบริโภค เขาจะสลัดความต้องการส่วนตัวได้ เพื่อเห็นแก่ความยิ่งใหญ่แห่งชาติของตน จะใช้แต่ของที่ผลิตในชาติ และตั้งใจช่วยกันผลิต เพื่อให้ชาติของตนมีความเจริญรุ่งเรือง มีความเป็นเอก มีความยิ่งใหญ่ จนกระทั่งบางทีถึงกับว่า รัฐบาลอาจจะต้องชักชวนให้คนในชาติหันไปซื้อของต่างประเทศก็มี เช่น อย่างเรื่องที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นเป็นต้น ชาตินิยมนี้ก็เป็นเรื่องของคุณค่าทางจิตใจที่มีผลต่อเศรษฐกิจอย่างมาก
เยี่ยมยอด !!! นึกถึงท่าพระจันทร์จัง
มาต่อๆ กันนะ (ชอบมากๆ บทความนี้ ขอบอกๆ) 3. ไม่อาจจะเป็น แต่อยากจะเป็นวิทยาศาสตร์ อาตมภาพได้พูดยกตัวอย่างมานี้ก็มากมายแล้ว ความมุ่งหมายก็เพียงเพื่อให้เห็นว่าเรื่องจริยธรรมและค่านิยม หรือคุณค่าทางจิตใจนั้น มีผลเกี่ยวข้องสัมพันธ์ และสำคัญต่อเศรษฐกิจอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม เท่าที่ว่ามาทั้งหมดนั้น ก็เป็นความสัมพันธ์และความสำคัญของธรรมในแง่ความดีความชั่ว ที่เรียกว่าจริยธรรม แต่ธรรมที่สัมพันธ์กับเศรษฐกิจ ไม่ใช่จำกัดอยู่แค่จริยธรรมเท่านั้น นอกจากจริยธรรมแล้ว ธรรมอีกแง่หนึ่งที่สัมพันธ์กับเศรษฐกิจ ก็คือ ธรรมในแง่สัจธรรม หรือสภาวธรรมความจริง ธรรมในแง่ "สภาวธรรมหรือสัจธรรม"นี้ มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้นไปอีก เพราะว่ามันเป็นแก่น เป็นตัว เป็นเนื้อของเศรษฐศาสตร์เอง ธรรมในที่นี้ก็คือ ความจริง ในแง่ของกระบวนการแห่งเหตุปัจจัยตามธรรมชาติ ถ้าหากว่าเศรษฐศาสตร์รู้ เข้าใจ และปฏิบัติการไม่ทั่วถึง ไม่ตลอดสายกระบวนการของเหตุปัจจัยแล้ว วิชาการเศรษฐศาสตร์นั้นก็จะไม่สามารถแก้ปัญหาและสร้างผลดีให้สำเร็จตามความประสงค์ได้ เรียกว่าเป็นเศรษฐกิจที่ไม่ถูกธรรมในแง่ที่สอง คือ แง่ของสัจธรรมธรรมในแง่ของสัจธรรมนี้ ก็คือ ธรรมดาของธรรมชาติ หรือสภาวะที่มีอยู่ในวิชาการ และกิจกรรมทุกอย่าง มันไม่ได้เป็นสาขาอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งที่แยกออกไปต่างหากจากวิชาการอื่นๆเลย แต่เป็นแก่นแท้ของวิทยาศาสตร์ หรือเป็นสาระที่วิทยาศาสตร์ต้องการจะเข้าถึง การที่ปัจจุบันนี้เรามีแนวโน้มทางความคิดที่ชอบแยกอะไรต่ออะไรออกไปต่างหากจากกัน แม้กระทั่งในเรื่องธรรม คือสภาวะความเป็นจริง จึงเป็นอันตรายที่ทำให้เราอาจจะคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงที่ควรจะเป็น ดังนั้น จะต้องมีความเข้าใจในความเป็นจริงที่กล่าวแล้วนี้ไว้ด้วยเศรษฐศาสตร์นั้นได้กล่าวกันมาว่า เป็นสังคมศาสตร์ที่เป็นวิทยาศาสตร์มากที่สุด และเศรษฐศาสตร์ก็มีความภูมิใจในเรื่องนี้ด้วยว่า ตนเป็นวิทยาการที่เป็นวิทยาศาสตร์มากที่สุด เอาแต่สิ่งที่วัดได้ คำนวณได้ จนกระทั่งมีผู้กล่าวว่า เศรษฐศาสตร์นี้เป็นศาสตร์แห่งตัวเลข มีแต่สมการล้วน ๆ ในการพยายามที่จะเป็นวิทยาศาสตร์นี้ เศรษฐศาสตร์ก็เลยพยายามตัดเรื่องคุณค่าที่เป็นนามธรรมออกไปให้หมด เพราะคำนวณไม่ได้ จะทำให้ตนเองเป็น value-free คือเป็นศาสตร์ที่เป็นอิสระ หรือปลอดจากคุณค่า แต่ก็มีฝ่ายตรงข้าม ซึ่งเป็นนักวิจารณ์เศรษฐศาสตร์ หรือแม้แต่นักเศรษฐศาสตร์เองบางคนบอกว่า ความจริงแล้วเศรษฐศาสตร์นี้เป็นสังคมศาสตร์ที่ขึ้นต่อ value มากที่สุด เรียกว่าเป็น value-dependent มากที่สุด ในบรรดาสังคมศาสตร์ทั้งหลาย จะเป็นวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร เพราะจุดเริ่มของเศรษฐศาสตร์นั้นอยู่ที่ความต้องการของคน ความต้องการของคนนี้เป็นคุณค่าอยู่ในจิตใจ แล้วในเวลาเดียวกัน จุดหมายของเศรษฐศาสตร์ก็เพื่อสนองความต้องการให้เกิดความพอใจ ความพอใจนี้ก็เป็นคุณค่าอยู่ในจิตใจของคน เศรษฐศาสตร์จึงทั้งขึ้นต้นและลงท้ายด้วยเรื่องคุณค่าในจิตใจ นอกจากนั้น การตัดสินใจอะไรต่างๆ ในทางเศรษฐกิจ ก็ต้องอาศัยคุณค่าต่างๆเป็นอันมาก ฉะนั้น การที่เศรษฐศาสตร์จะเป็น value-free หรือเป็นอิสระจากคุณค่านั้นจึงเป็นไปไม่ได้ รวมความว่า เศรษฐศาสตร์ไม่สามารถจะเป็นวิทยาศาสตร์ที่สมบูรณ์ได้ เพราะจะต้องขึ้นต่อคุณค่าบางอย่าง เมื่อมองในแง่นี้ จะขอตั้งข้อสังเกตเป็น 2 อย่าง คือในแง่ที่หนึ่ง เศรษฐศาสตร์ไม่สามารถเป็นวิทยาศาสตร์ได้โดยสมบูรณ์ หรือไม่สามารถเป็นวิทยาศาสตร์ได้แท้จริง เพราะไม่อาจเป็นอิสระจากคุณค่าต่างๆ นอกจากนั้น ในหลักการและทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ จะเต็มไปด้วยอัสซัมชั่น (assumptions) คือข้อที่ถือว่ายุติเป็นอย่างนั้น เป็นความจริงโดยที่ยังไม่ได้พิสูจน์ เมื่อยังเต็มไปด้วยอัสซัมชั่นต่าง ๆ แล้ว จะเป็นวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร อันนี้ก็เป็นข้อแย้งที่สำคัญในแง่ที่สอง การเป็นวิทยาศาสตร์นั้นก็ไม่ใช่เรื่องที่ดี เพราะว่าวิทยาศาสตร์ไม่สามารถแก้ปัญหาของมนุษย์ได้ทุกอย่าง วิทยาศาสตร์นั้นมีขีดจำกัดมากในการกแก้ปัญหาของมนุษย์ วิทยาศาสตร์แสดงความจริงได้แง่หนึ่งด้านหนึ่ง โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับวัตถุเป็นสำคัญ ถ้าหากว่าเศรษฐศาสตร์จะเป็นวิทยาศาสตร์แล้ว ก็จะพ่วงตัวเข้าไปอยู่ในแนวเดียวกับวิทยาศาสตร์ คือสามารถแก้ปัญหาของมนุษย์ได้เพียงในวงจำกัดด้วยท่าทีที่ดีของเศรษฐศาสตร์ก็คือ การมองและยอมรับตามเป็นจริง การที่เศรษฐศาสตร์จะเป็นวิทยาศาสตร์หรือพยายามเป็นวิทยาศาสตร์นั้น ก็เป็นความดีอย่างหนึ่งของเศรษฐศาสตร์ ซึ่งก็เป็นคุณค่าที่น่าจะรักษาเอาไว้ด้วย แต่ในเวลาเดียวกัน เพื่อการแก้ปัญหาของมนุษย์ให้ได้ผลดียิ่งขึ้น หรือให้ได้ผลจริง เศรษฐศาสตร์โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันนี้ ที่ถึงยุคหัวเลี้ยวหัวต่อของสังคมมนุษย์ ก็น่าจะเปิดตัวกว้างออกไป ในการที่จะยอมรับร่วมมือกับวิทยาการและกิจกรรมสาขาอื่นๆ ของมนุษย์ ยอมรับที่จะพิจารณาเรื่องคุณค่าต่าง ๆ ในสายตาที่มองอย่างทั่วตลอดยิ่งขึ้น เพราะในเมื่อเรายอมรับเรื่องคุณค่าแล้ว คุณค่านั้นก็จะมาเป็นองค์ประกอบของวิทยาการตามฐานะที่ถูกต้องของมัน ทำให้มองเห็นตลอดกระบวนการของความจริงด้วยแต่ถ้าเราไม่ศึกษาเรื่องคุณค่านั้นให้ตลอดสาย การที่จะเป็นวิทยาศาสตร์ ก็เกิดขึ้นไม่ได้ เพราะเราจะไม่สามารถมีความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนความจริงที่มีคุณค่านั้นเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยโดยตลอด หรือโดยสมบูรณ์ เศรษฐศาสตร์นั้นต้องอิงอาศัยคุณค่าที่เป็นนามธรรม แต่ปัจจุบันนี้เศรษฐศาสตร์ยอมรับคุณค่านั้นแต่เพียงบางส่วน บางแง่ไม่ศึกษาระบบคุณค่าให้ตลอดสาย ทำให้เกิดความผิดพลาดในการคาดหมายหรือคาดคะเนผลเป็นต้น ในเมื่อมีองค์ประกอบด้านคุณค่าเข้ามาเกี่ยวข้องเกินกว่าแง่หรือเกินกว่าระดับที่ตนยอมรับพิจารณา ขอยกตัวอย่างเช่น เรามีหลักทางเศรษฐศาสตร์ข้อหนึ่งว่า คนจะยอมเสียสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ต่อเมื่อได้สิ่งอื่นมาทดแทน จึงจะได้ความพอใจเท่ากัน อันนี้เป็นหลักการทางเศรษฐศาสตร์ข้อหนึ่ง เรื่องนี้ทางฝ่ายของพวกนามธรรมก็อาจจะแย้งว่าไม่จริงเสมอไป บางทีคนเราได้คุณค่าความพอใจทางจิตใจ โดยที่เสียสิ่งหนึ่งสิ่งใดไปโดยไม่ได้สิ่งอื่นมาทดแทนก็มี อย่างเช่น พ่อแม่รักลูก พอรักลูกมาก ก็ยอมเสียสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ เมื่อลูกได้สิ่งหนึ่งสิ่งใดนั้นไป พ่อแม่ไม่จำเป็นต้องได้อะไรตอบแทน แต่พ่อแม่ก็มีความพึงพอใจมากกว่าการได้อะไรตอบแทนด้วยซ้ำ ในกรณีนี้ ที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะว่าพ่อแม่มีความรัก ทีนี้ ถ้าหากว่ามนุษย์สามารถมีความรักคนอื่นได้กว้างขวางขึ้น ไม่รักเฉพาะลูกของตัวเอง แต่ขยายออกไป รักพี่รักน้อง รักเพื่อนร่วมชาติ รักเพื่อนมนุษย์แล้ว เขาก็อาจจะเสียสละสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปโดยไม่ได้อะไรตอบแทนมา แต่กลับมีความพึงพอใจมากขึ้น ไม่ใช่ว่าไม่ได้รับความพึงพอใจหรือพึงพอใจเท่ากัน แต่พึงพอใจมากขึ้นด้วยซ้ำไป อันนี้ก็เป็นเรื่องของคุณค่าที่เข้ามาแสดงผลในทางเศรษฐศาสตร์เหมือนกันหลักอีกข้อหนึ่งบอกว่า ราคาต่ำลงคนยิ่งซื้อมาก ราคายิ่งแพงคนยิ่งซื้อน้อยลง นี้ก็เป็นหลักทางเศรษฐศาสตร์ข้อหนึ่ง และตามธรรมดาทั่วไปก็เป็นอย่างนั้น ถ้าของราคาต่ำลง คนก็มีอำนาจซื้อมาก แต่ถ้าของนั้นแพงขึ้น อำนาจซื้อของคนก็น้อยลง คนก็มาซื้อน้อยลงแต่มันไม่ใช่เป็นอย่างนั้นเสมอไป ถ้าเรารู้ว่าคนในสังคมมีค่านิยมชอบอวดโก้ อวดฐานะกันมาก เราก็เอาค่านิยมมาใช้เร้าให้เกิดความรู้สึกว่าของแพงนี่มันโก้มาก คนไหนซื้อของแพงได้ คนนั้นเด่นมีฐานะสูง ปรากฏว่า ยิ่งขึ้นราคาของแพงขึ้น คนกลับยิ่งไปซื้อมากใหญ่ เพราะอยากจะโก้แสดงว่าตัวมีฐานะ ฉะนั้นหลักเศรษฐศาสตร์บางอย่างจึงต้องขึ้นต่อเรื่องคุณค่าเป็นอย่างมากว่าที่จริง ตัวอย่างต่างๆ ก็มีทั่วๆไป ที่แสดงให้เห็นว่า ค่านิยมหรือคุณค่าต่างๆในสังคมนี้เป็นตัวกำหนดราคา ซึ่งเศรษฐศาสตร์ก็เอามาใช้ ดังจะเห็นได้ในตัวอย่างง่าย ๆ สมมุติว่ามีคนสองคนเรือแตก ไปติดอยู่บนเกาะหนึ่ง คนหนึ่งมีข้าวตาก 1 กระสอบ อีกคนหนึ่งมีสายสร้อยทองคำ 100 สาย ตามปกติ ในสังคมทั่วไปคนที่มีสายสร้อยทองคำ 1 สาย อาจจะซื้อข้าวตังหรือข้าวตากได้หมดทั้งกระสอบ หรือว่าข้าวตากทั้งกระสอบนั้น อาจจะไม่พอกับราคาค่าสายสร้อยทองคำสายเดียวด้วยซ้ำ แต่ตอนนี้เขาไปติดอยู่บนเกาะ มองไม่เห็นทางว่าจะรอด ไม่เห็นว่าจะมีเรืออะไรมาช่วยเหลือ ตอนนี้มูลค่าจะต่างไป ผิดจากเดิมแล้ว ตอนนี้คนที่มีข้าวตากหนึ่งกระสอบอาจจะใช้ข้าวตากเพียง 1 ชิ้น แลกเอาสายสร้อยทองคำทั้ง 100 สายก็ได้ บางทีไม่ยอมรับด้วยซ้ำไป คุณค่าจึงเป็นไปตามความต้องการแต่ที่ต้องการชี้ในที่นี้ก็คือว่า เศรษฐศาสตร์จะต้องแยกแยะเกี่ยวกับความหมายของความต้องการ ตลอดจนคุณภาพของความต้องการด้วย เศรษฐศาสตร์บอกว่า เราเกี่ยวข้องแต่ความต้องการอย่างเดียว เราไม่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของความต้องการ นี้เป็นหลักการของเศรษฐศาสตร์ แต่คุณภาพของความต้องการนั้นก็มีผลต่อเศรษฐศาสตร์ นอกจากนั้น คนสองคนนี้อาจจะไม่แลกเปลี่ยนกันก็ได้ คนที่มีสายสร้อยทองคำอาจจะถือโอกาสตอนที่คนมีข้าวตากไม่อยู่มาลักเอาข้าวตากไปเสียก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องแลกกับคนอื่น หรือดีไม่ดีแกอาจจะฆ่านายคนมีข้าวตากเสียเลย เพื่อจะเอาข้าวตากไปเสียทั้งหมดกระสอบ ในทางตรงกันข้าม สองคนนั้นอาจจะเกิดมีความรักกันขึ้นมา ก็เลยร่วมมือกัน เลยไม่ต้องซื้อต้องขาย ไม่ต้องแลกเปลี่ยน ก็กินข้าวตากด้วยกันจนหมดกระสอบ อันนี้ก็อาจจะเป็นไปได้ทั้งสิ้นเพราะฉะนั้น นอกจากการแลกเปลี่ยน กิจกรรมอาจจะมาในรูปของการทำร้าย การร่วมมือกัน ช่วยเหลือกัน หรืออะไรก็ได้ เพื่อแสดงให้เห็นว่า เศรษฐศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์เป็น objective คือ มองอะไรๆตามสภาววิสัย ไม่เอาคุณค่าความรู้สึกทางจิตใจเข้าไปปะปน นักเศรษฐศาสตร์บางทีก็จะยกตัวอย่างต่างๆมาให้ดู เช่นบอกว่า เหล้าหรือสุรา 1 ขวด กับก๋วยเตี๋ยว 1 หม้ออาจจะมีคุณค่าหรือมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์เท่ากัน การเสียเงินไปเข้าไนท์คลับครั้งหนึ่ง อาจมีค่าทางเศรษฐกิจสูงกว่าการเข้าฟังปาฐกถาครั้งหนึ่งในเวลาเท่ากัน อันนี้เป็นความจริงในทางเศรษฐศาสตร์เศรษฐศาสตร์ไม่พิจารณาคุณค่าใด ๆ ทั้งสิ้น เขาจะไม่พิจารณาว่า สินค้านั้น หรือการกระทำนั้น การผลิต การบริโภค หรือการซื้อขายนั้น จะก่อให้เกิดคุณประโยชน์หรือโทษอะไรขึ้นหรือไม่ เข้าไนท์คลับแล้วจะสิ้นเปลืองเงินทำให้หมกมุ่นมัวเมาเป็นอบายมุข หรือจะดีจะชั่วในแง่หนึ่งแง่ใดก็ตาม เศรษฐศาสตร์ไม่เกี่ยว หรือว่าเข้าฟังปาฐกถาแล้วจะได้ความรู้เจริญปัญญา เป็นประโยชน์แก่จิตใจ ก็ไม่ใช่เรื่องของเศรษฐศาสตร์ เราอาจจะพิจารณาคุณหรือโทษในแง่อื่น ๆ แต่เศรษฐศาสตร์จะไม่พิจารณาด้วยในกรณีตัวอย่างที่ยกมานี้ ถ้าพิจารณาให้ดีจะเห็นว่า ความเป็นวิทยาศาสตร์ และความเป็น objective ของเศรษฐศาสตร์นั้นออกจะผิวเผินและคับแคบมาก คือมองความจริงช่วงเดียวสั้น ๆ แบบตัดตอนขาดลอยเท่าที่ตัวต้องการ ไม่มองกระบวนการแห่งเหตุปัจจัยที่เป็นจริงให้ทั่วถึงตลอดสาย ซึ่งเป็นลักษณะของเศรษฐศาสตร์ในยุคอุตสาหกรรม ทำให้เศรษฐศาสตร์ไม่อาจจะเป็นวิทยาศาสตร์ได้จริง และไม่เป็น objective เพียงพอ เศรษฐศาสตร์ยุคต่อไปอาจจะขยายการมองให้ทั่วถึงตลอดกระบวนการของเหตุปัจจัย โดยสอดคล้องกับความจริงมากยิ่งขึ้น ดังที่มีแนวโน้มขึ้นบ้างแล้วในปัจจุบัน ดังในตัวอย่างที่ยกขึ้นมาพูดเรื่องเหล้า 1 ขวด กับก๋วยเตี๋ยว 1 หม้อ เรามองได้ว่า มูลค่าในทางตลาดซื้อขายนั้นเท่ากันจริง แต่มูลค่าแม้ในทางเศรษฐกิจนั้นเอง ความจริงก็ไม่เท่ากัน ถ้าพิจารณาลึกซึ้งลงไป จะมองเห็นว่า สุรา 1 ขวดนั้นมีมูลค่าทางเศรษฐกิจอีกมากมาย มูลค่าทางเศรษฐกิจที่มาจากการเสียคุณภาพชีวิต สุราขวดนั้นอาจจะทำลายสุขภาพของคน และทำให้ต้องเสียเงินรักษาสุขภาพของคนนั้น จะสิ้นเปลืองเงินไปอีกเท่าไร นี่เป็นความสูญเสียในด้านคุณภาพชีวิต แต่มีผลทางเศรษฐกิจด้วย ในการผลิตสุรานั้น โรงงานสุราอาจจะทำให้เกิดควันที่มีกลิ่นเหม็น ควันที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทำให้เกิดส่าเหล้า เป็นต้น ซึ่งเป็นการทำลายสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ แล้วมูลค่าความเสียหายทางธรรมชาตินี้ก็กลับมามีผลต่อเศรษฐกิจอีก อาจจะทำให้รัฐต้องสิ้นเปลืองงบประมาณระยะยาวในการแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อม คนที่กินสุราแล้วนั้น อาจจะขับรถไปแล้วก็เกิดรถชนกัน ก็ทำให้เกิดผลเสียหายทางเศรษฐกิจอีก ผลเสียหายในทางสังคม เช่น ทำให้เกิดอาชญากรรม ซึ่งคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจอีกจำนวนมาก เหล้า 1 ขวดนี้ อาจจะทำให้คนนั้นเมามาย มีสติไม่ค่อยดี ทำให้สูญเสียประสิทธิภาพในการทำงาน ก็กระทบต่อ Productivity คือ การเพิ่มผลผลิตอีก ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของเศรษฐกิจทั้งสิ้น เป็นอันว่า เราจะต้องคิดเรื่องเศรษฐกิจ หรือมูลค่าทางเศรษฐกิจกว้างออกไป ไม่ใช่เฉพาะราคาที่ตีในตลาดเท่านั้น ปัจจุบันนี้ก็มีความโน้มเอียงในการที่จะเอามูลค่าในด้านอื่นนี้เข้ามารวมด้วย เรียกว่าเป็น External costs แต่ปัจจุบันนี้ยังมองเฉพาะเรื่องมูลค่าทางด้านสภาพแวดล้อม คือมลภาวะดังที่นักเศรษฐศาสตร์บางกลุ่มให้นำเอามูลค่าในการทำลายสภาพแวดล้อมนี้ รวมเข้าในมูลค่าทางเศรษฐกิจแม้แต่ในการที่จะตีราคาสินค้าด้วย แต่ว่าที่จริงแล้วยังไม่พอหรอก ก็อย่างสุรา 1 ขวดที่ว่าเมื่อกี้ เราอาจจะคิดแต่ค่าสภาพแวดล้อม แต่ค่าทางสังคมศีลธรรมและสุขภาพ (เช่น อาชญากรรม ประสิทธิภาพในการผลิต) อีกเท่าไร ซึ่งมูลค่าเหล่านี้ล้วนย้อนกลับมามีผลทางเศรษฐกิจอีกทั้งสิ้น
Post a Comment
<< Home
10 Comments:
วันนี้ ทางคณะผู้จัดงานได้ตั้งชื่อเรื่องปาฐกถาให้อาตมภาพว่า เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ เริ่มต้นผู้ฟังบางท่านก็อาจจะสงสัยว่าเศรษฐศาสตร์แนวพุทธนั้นมีจริงหรือเป็นไปได้จริงหรือ
ปัจจุบันนี้ วิชาเศรษฐศาสตร์ที่เรารู้จักกันอยู่ เป็นวิชาเศรษฐศาสตร์แบบตะวันตก เมื่อพูดถึงเศรษฐศาสตร์และเรื่องราวเนื้อหาวิชาเศรษฐศาสตร์ เราก็ใช้ภาษาเศรษฐศาสตร์แบบตะวันตก เมื่อคิดถึงเรื่องเศรษฐศาสตร์ เราก็คิดในกรอบความคิดของเศรษฐศาสตร์แบบตะวันตกด้วย ดังนั้น ถ้าจะมาพูดถึงเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ ก็ยากที่จะทำตัวเองให้พ้นออกไปจากกรอบความคิดของเศรษฐศาสตร์และภาษาเศรษฐศาสตร์แบบตะวันตกนั้น เพราะฉะนั้นการพูดถึงเศรษฐศาสตร์แนวพุทธก็อาจจะเป็นการพูดถึงพระพุทธศาสนาด้วยภาษาเศรษฐศาสตร์ตะวันตก ภายในกรอบความคิดของเศรษฐศาสตร์ตะวันตกนั้นเอง
อย่างไรก็ตาม ก็ถือว่าให้เราลองมาช่วยกันพิจารณาเรื่องนี้ บางทีอาจจะได้รับข้อคิดบางอย่าง ถึงแม้จะไม่ได้เป็นเศรษฐศาสตร์แนวพุทธจริง ก็อาจจะมีแนวคิดทางพุทธบางอย่างที่เอามาใช้ประโยชน์ในทางเศรษฐศาสตร์ได้บ้าง
เมื่อประมาณ 18 ปีมาแล้ว นักเศรษฐศาสตร์ฝรั่งคนหนึ่งชื่อว่า นาย อี.เอฟ ชูมาเกอร์ (E.F. Schumacher) ได้พิมพ์หนังสือออกมาเล่มหนึ่ง ชื่อว่า Small Is Beautiful มีผู้แปลเป็นภาษาไทยดูเหมือนจะใช้ชื่อว่า จิ๋วแต่แจ๋ว ในหนังสือเล่มนี้ บทหนึ่งคือ บทที่ 4 ได้ตั้งชื่อว่า "Buddhist Economics" แปลว่า เศรษฐศาสตร์ชาวพุทธ หนังสือเล่มนี้ และโดยเฉพาะบทความบทนี้ ได้ทำให้คนจำนวนมากทั้งในตะวันออก และตะวันตกเกิดความสนใจในเรื่องพุทธศาสนาด้านที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจขึ้นมา จึงนับว่าท่านชูมาเกอร์นี้เป็นผู้มีอุปการคุณอย่างหนึ่ง ในการที่ทำให้เกิดความสนใจพุทธศาสนาในแง่เศรษฐศาสตร์ขึ้น
แต่ถ้าพิจารณาให้ลึกลงไปอีก การที่ท่านชูมาเกอร์ได้เขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นโดยมีบทความเรื่องเศรษฐศาสตร์ชาวพุทธนั้น และการที่ฝรั่งในสถานศึกษาต่างๆ หันมาสนใจเรื่องพุทธเศรษฐศาสตร์ หรือเศรษฐศาสตร์แนวพุทธนี้ ก็มีภูมิหลังที่ว่า มาถึงปัจจุบันนี้วิทยาการ และระบบการต่างๆของตะวันตก ได้มาถึงจุดหนึ่งที่เขาเกิดความรู้สึกกันว่ามีความติดตัน หรือความอับจนเกิดขึ้น หรือสำหรับบางคนอาจจะไม่ยอมรับภาวะนี้ ก็อาจจะเรียกว่ามาถึงจุดหัวเลี้ยวหัวต่อจุดหนึ่ง ที่อาจจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดและวิธีปฏิบัติในวิทยาการสาขาต่างๆ คือมีความรู้สึกกันว่า วิชาการต่างๆ ที่ได้พัฒนากันมาจนถึงปัจจุบันนี้ ไม่สามารถแก้ปัญหาของโลกและชีวิตให้สำเร็จได้ จะต้องมีการขยายแนวความคิดกันใหม่หรือหาช่องทางกันใหม่
เมื่อเกิดความรู้สึกอย่างนี้กันขึ้น ก็จึงมีการแสวงหาแนวความคิดที่นอกจากวงวิชาการของตนออกไป อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีการสนใจในพุทธศาสนารวมทั้งปรัชญาอะไรต่ออะไรเก่าๆ โดยเฉพาะที่เป็นของตะวันออกขึ้นด้วย อันนี้ก็เป็นปรากฏการณ์ที่เห็นกันชัดเจนในประเทศตะวันตกปัจจุบัน ที่ว่าได้หันมาสนใจตะวันออก ทีนี้ การที่ชูมาเกอร์จับหลักการของพุทธธรรมโดยพูดถึง Buddhist economics หรือพุทธเศรษฐศาสตร์นั้น เขาก็จับเอาที่เรื่องมรรคนั่นเอง มรรคนั้นเรารู้จักกันว่าเป็นข้อหนึ่งในอริยสัจ 4 ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค มรรคนั้นเป็นข้อปฏิบัติทั้งหมดในพุทธศาสนา
ชูมาเกอร์กล่าวว่า มรรคคือวิถีชีวิตของชาวพุทธนั้นมีองค์ประกอบอยู่ข้อหนึ่ง คือ สัมมาอาชีวะ ซึ่งแปลว่า การเลี้ยงชีพชอบ ในเมื่อสัมมาอาชีวะนี้เป็นองค์ประกอบอยู่ข้อหนึ่งในมรรคหรือวิถีชีวิตของชาวพุทธ ก็แสดงว่าจะต้องมีสิ่งที่เรียกว่า Buddhist economics คือ เศรษฐศาสตร์ชาวพุทธ อันนี้คือจุดเริ่มต้นของท่านชูมาเกอร์
แต่ท่านชูมาเกอร์จะมีทัศนะอย่างไร เศรษฐศาสตร์ชาวพุทธเป็นอย่างไร ตอนนี้ อาตมภาพจะยังไม่พูดก่อน จะขอเล่าเรื่องคล้ายๆนิทานเรื่องหนึ่ง จากคัมภีร์พุทธศาสนาให้ฟัง ที่จริงไม่ใช่นิทานแต่เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสมัยพุทธกาล เรื่องราวเรื่องนี้จะบอกอะไรหลายอย่างที่เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ในพุทธศาสนา และผู้ฟังก็อาจจะตีความของตนเองว่า พุทธเศรษฐศาสตร์เป็นอย่างไร เรื่องมีอยู่ว่า
สมัยหนึ่งในพุทธกาลเมื่อพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ขณะที่พระองค์เสด็จประทับ ณ พระเชตวัน ในพระนครสาวัตถี วันหนึ่งตอนเช้า พระองค์ได้ทรงพิจารณาว่า มีคนเข็ญใจคนหนึ่งอยู่ในเมืองอาฬวีห่างไกลออกไป เป็นผู้มีความพร้อม มีอินทรีย์แก่กล้าพอที่จะฟังธรรม พระองค์สมควรจะเสด็จไปโปรด ดังนั้น วันนั้นตอนสาย พระองค์ก็เสด็จเดินทางไปยังเมืองอาฬวี ซึ่งอยู่ห่างไกลออกไป 30 โยชน์ ตีเสียว่าประมาณ 480 กิโลเมตร เมื่อเสด็จถึงเมืองอาฬวี ชาวเมืองอาฬวี มีความนับถือพระองค์อยู่แล้ว ก็ต้อนรับ และในที่สุดก็จัดสถานที่เตรียมที่จะฟังธรรมกัน แต่จุดมุ่งของพระพุทธเจ้านั้น เสด็จไปเพื่อจะโปรดคนคนเดียวที่เป็นคนเข็ญใจนั้น พระองค์จึงทรงรั้งรอไว้ก่อน รอให้นายคนเข็ญใจคนนี้มา
ฝ่ายนายคนเข็ญใจนี้ได้ทราบข่าวว่า พระพุทธเจ้าเสด็จมา เขามีความสนใจอยู่แล้ว อยากจะฟังธรรม แต่พอดีว่าวัวตัวหนึ่งของเขาหายไป เขาจึงคิด เอ! เราจะฟังธรรมก่อนหรือหาวัวก่อนดีนะ คิดแล้วก็ตัดสินใจว่าหาวัวก่อน หาวัวเสร็จแล้วค่อยไปฟังธรรม ตกลงเขาก็ออกเดินทางเข้าไปในป่า ไปหาวัวของเขา ในที่สุดก็ได้พบวัวนั้นและต้อนกลับมาเข้าฝูงของมันได้ แต่กว่าเขาจะทำอย่างนี้สำเร็จก็เหนื่อยมาก ครั้งแล้วเขาจึงคิดว่า เอ! เวลาก็ล่วงไปมากแล้ว ถ้าเราจะกลับไปบ้านก่อนก็จะยิ่งเสียเวลา เราจะไปฟังธรรมเลยทีเดียว ตกลงนายคนเข็ญใจคนนี้ก็เดินทางไปยังที่เขาจัดเพื่อการแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า เข้าไปฟังธรรม แต่มีความเหนื่อยและหิวเป็นอันมาก
พระพุทธเจ้า เมื่อทอดพระเนตรเห็นนายคนเข็ญใจนี้มา พระองค์ทรงทราบดีว่า เขาเหนื่อยและหิว พระองค์จึงได้ตรัสบอกให้คนจัดแจงทาน จัดอาหารมาให้นายคนเข็ญใจนี้กินเสียก่อน เมื่อคนเข็ญใจคนนี้กินอาหารเรียบร้อยอิ่มสบายใจดีแล้ว พระองค์ก็แสดงธรรมให้ฟัง นายคนเข็ญใจนี้ฟังธรรมแล้วได้บรรลุโสดาปัตติผล ก็เป็นอันว่าบรรลุความมุ่งหมายในการเดินทางของพระพุทธเจ้า พระองค์แสดงธรรมครั้งนี้เสร็จก็ลาชาวเมืองอาฬวีเสด็จกลับยังพระเชตวัน แต่ในระหว่างทางนั้น พระภิกษุสงฆ์ที่เดินทางไปด้วยก็วิพากษ์วิจารณ์พระพุทธเจ้าว่า เอ๊ะ! วันนี้เรื่องอะไรนะพระพุทธเจ้าทรงค่อนข้างจะวุ่นวายมีการให้คนจัดอาหารให้คนเข็ญใจรับประทาน
พระพุทธเจ้าได้ทรงรับทราบ ก็ได้ทรงหันมาตรัสชี้แจงแก่พระภิกษุเหล่านั้น ตอนหนึ่งพระองค์ตรัสว่า คนที่ถูกความหิวครอบงำ มีความทุกข์จากความหิว แม้จะแสดงธรรมให้เขาฟัง เขาก็จะไม่สามารถเข้าใจได้ แล้วพระองค์ก็ตรัสต่อไปว่า ชิมฆจฉา ปรมา โรคา เป็นต้น แปลว่า ความหิวเป็นโรคที่ร้ายแรงที่สุด สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ที่หนักหน่วงที่สุด เมื่อทราบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว จึงจะบรรลุนิพพานที่เป็นบรมสุข
นี่คือเรื่องที่อาตมภาพเล่าให้ฟัง ลักษณะทั่วไปของเศรษฐศาสตร์ชาวพุทธนั้นคิดว่าปรากฏอยู่ในเรื่องที่เล่ามานี้แล้ว แต่ผู้ฟังก็อาจจะตีความไปได้ต่าง ๆกัน ถ้าหากมีเวลา เราอาจจะได้หันกลับมาวิเคราะห์เรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง แต่ตอนนี้จะขอผ่านไปก่อน ขอให้เป็นเรื่องของผู้ฟังที่จะตีความกันเอาเอง
ข้อจำกัดของเศรษฐศาสตร์แห่งยุคอุตสาหกรรม
1. การแยกตัวโดดเดี่ยว เป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
ทีนี้หันกลับมาพูดถึงเศรษฐศาสตร์ในปัจจุบัน เศรษฐศาสตร์ในปัจจุบันนี้ได้แยกเอากิจกรรมทางเศรษฐกิจอกมาพิจารณาต่างหากโดดเดี่ยวจากกิจกรรมด้านอื่นๆของชีวิตมนุษย์ และจากวิทยาการด้านอื่นๆ เขาเรียกว่าเป็นไปตามแนวของ specialization คือ ความชำนาญพิเศษในทางวิชาการ หรือความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ซึ่งเป็นลักษณะของความเจริญในยุคอุตสาหกรรม เพราะฉะนั้น ในการพิจารณากิจกรรมของมนุษย์ เศรษฐศาสตร์จึงได้พยายามตัดนัย หรือแง่ความหมายอื่นๆ ที่ไม่ใช่เรื่องทางเศรษฐกิจออกไปเสีย เมื่อจะพิจารณาเรื่องกิจกรรมการดำเนินชีวิตอะไรก็ตามของมนุษย์ ก็จะพิจารณาในแง่เดียว คือแง่ที่เกี่ยวกับวิชาการของตนเองเท่านั้น การที่เศรษฐศาสตร์แยกตัวออกมาโดดเดี่ยวอย่างนี้นี่แหละ นับว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่ได้ทำให้เกิดปัญหาขึ้นมา ซึ่งจะต้องมาพิจารณาว่า ทัศนะของพุทธศาสนาเป็นอย่างไร?
ถ้ามองในแง่ของพุทธศาสนา เศรษฐศาสตร์แนวพุทธไม่แยกโดดเดี่ยวจากความรู้และความจัดเจนด้านอื่นๆของมนุษย์ กิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่แยกโดดเดี่ยวจากกิจกรรมด้านอื่นๆในการแก้ปัญหาของมนุษย์ เพราะฉะนั้นเศรษฐศาสตร์ไม่เป็นศาสตร์ที่เสร็จสิ้นในตัวโดยลำพัง แต่อิงอาศัยกันกับวิทยาการด้านอื่นๆ ในระบบความสัมพันธ์ของชีวิตและสังคม ถ้ามีกิจกรรมอันใดอันหนึ่งขึ้นมา เราก็สามารถมองได้หลายแง่ ยกตัวอย่างเช่น การโฆษณา การโฆษณาเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่ปรากฏในสังคม และเป็นกิจกรรมที่เป็นเรื่องของเศรษฐกิจได้แน่นอน ในแง่ของเศรษฐกิจนั้น การโฆษณาเป็นการชักจูงใจให้คนมาซื้อของ ซึ่งจะทำให้ขายของได้ดีขึ้น แต่ในเวลาเดียวกัน ก็เป็นการเพิ่มต้นทุนทำให้ของนั้นแพงขึ้นไปด้วย
ทีนี้ ถ้าพิจารณาในแง่สังคม การโฆษณาก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับค่านิยมของสังคมด้วย โดยที่ว่าคนที่จะโฆษณานั้นเขามักจะอาศัยค่านิยมของสังคมนั้นเอง มาเป็นเครื่องช่วยในการที่จะจัดวิธีการโฆษณาให้ดึงดูดใจคนโดยสัมพันธ์กับจิตวิทยา คือใช้จิตวิทยาสังคมเป็นเครื่องมือเอาค่านิยมไปใช้ในทางเศรษฐกิจ ในทางจริยธรรม การโฆษณาก็มีความหมายเหมือนกัน เช่น อาจจะต้องคิดว่า วิธีการโฆษณาของบริษัท หรือกิจการ หรือธุรกิจนั้น เป็นการชักจูงให้คนมัวเมาในวัตถุมากขึ้นหรือไม่ อาจจะมีผลไม่ดีทางจิตใจอะไรบ้าง หรืออาจจะใช้ภาพที่ไม่เหมาะไม่ควร ทำให้เกิดผลเสียทางศีลธรรมอย่างไร หรือทางฝ่ายการเมืองก็มีเรื่องต้องพิจารณาว่า จะมีนโยบายอย่างไรเกี่ยวกับการโฆษณานี้ เช่นว่า จะควรควบคุมหรือไม่อย่างไร เพื่อผลดีในทางเศรษฐกิจก็ตาม หรือในทางศีลธรรมก็ตาม
แม้แต่ในทางการศึกษาก็ต้องเกี่ยวข้อง เพราะอาจจะต้องพยายามหาทางสอนคนให้รู้เท่าทัน ให้พิจารณาการโฆษณาอย่างมีวิจารณญาณว่า ควรจะเชื่อคำโฆษณาแค่ไหน ซึ่งเมื่อให้การศึกษาดีแล้ว ก็มีผลย้อนกลับมาทางเศรษฐกิจอีก ทำให้คนนั้นมีการตัดสินใจที่ดีขึ้นในการที่จะซื้อข้าวของ เป็นต้น อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ว่า กิจกรรมต่างๆ ในสังคมมนุษย์นั้นมีแง่พิจารณาหลายแง่ ซึ่งสัมพันธ์โยงกันไปหมด จะพิจารณาแง่หนึ่งแง่เดียวไม่ได้
Specialization หรือความชำนาญพิเศษในวิทยาการเฉพาะแง่ใดแง่หนึ่งนั้น ความจริงก็เป็นสิ่งที่มีประโยชน์มาก ตราบเท่าที่เรายังไม่ลืมความมุ่งหมายเดิม กล่าวคือ การที่เรามีกิจกรรมหรือวิทยาการพิเศษต่าง ๆ ขึ้นมานั้น ก็เพื่อเป็นส่วนร่วมกันในการที่จะแก้ปัญหาของมนุษย์ ถ้าเรากำหนดขอบเขตของตัวเองให้ดี กำหนดจุดที่เป็นหน้าที่ของตัวเองให้ดี ทำหน้าที่ให้ถูกต้อง และกำหนดจุดที่จะประสานกับวิทยาการสาขาอื่นๆ ให้ดีแล้ว ก็จะเป็นการร่วมกันทำงานในการแก้ปัญหาของมนุษย์ให้ได้ผลดียิ่งขึ้น จุดผิดพลาดก็อยู่ที่ว่า จะเกิดความลืมตัว นึกว่าวิทยาการของตัวเองนั้นแก้ปัญหาของมนุษย์ได้หมด ถ้าถึงอย่างนั้นแล้วก็จะเกิดความผิดพลาดขึ้น และจะแก้ปัญหาไม่สำเร็จด้วย
เมื่อยอมรับกันอย่างนี้แล้ว ข้อสำคัญก็อยู่ที่จะต้องจับจุดให้ได้ว่า เศรษฐศาสตร์นี้จะโยงต่อกับศาสตร์ หรือวิทยาการอื่น ๆ หรือกิจกรรมอื่นๆ ของมนุษย์ที่จุดไหน เช่นว่าเศรษฐศาสตร์จะเชื่อมโยงกับการศึกษาที่จุดไหน จะเชื่อมโยงกับจริยธรรมที่จุดไหน ในการร่วมกันแก้ปัญหาของมนุษย์ ถ้าจับอย่างนี้ได้ ก็มีทางที่จะทำให้การที่ตนเป็นศาสตรวิทยาที่ชำนาญพิเศษโดยเฉพาะนั้น เกิดประโยชน์ขึ้นอย่างแท้จริง
การที่ชูมาเกอร์พูดว่าในเมื่อสัมมาอาชีวะเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของมรรคมีองค์ 8 ก็ทำให้เห็นว่าจะต้องมี Buddhist economics คำของชูมาเกอร์นี้ยังมีความหมายแฝงต่อไปอีกด้วย คือ ข้อที่ 1 แสดงว่า สัมมาอาชีวะนั้นมีความสำคัญมาก หรือว่าเศรษฐกิจนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ในทางพุทธศาสนาจึงได้จัดเป็นองค์มรรคขึ้นมาข้อหนึ่ง แสดงว่าพระพุทธศาสนายอมรับความสำคัญของเศรษฐกิจ ยกให้เป็นองค์มรรคข้อหนึ่งเลยทีเดียว แต่ข้อที่ 2 มองในทางกลับตรงกันข้ามก็มีความหมายว่า สัมมาอาชีวะหรือเรื่องราวทางเศรษฐกิจนั้น ก็เป็นเพียงองค์ประกอบอย่างหนึ่งในบรรดาองค์ประกอบหลายอย่างของวิถีชีวิตที่ถูกต้องที่จะแก้ปัญหาของชีวิตได้ ซึ่งในทางพุทธศาสนานั้นก็ได้บอกไว้ว่า มีองค์ประกอบถึง 8 ประการด้วยกัน
2. ไม่เป็นอิสระจากจริยธรรม แต่ไม่ใส่ใจจริยธรรม
ในบรรดาองค์ประกอบที่เกี่ยวกับการแก้ปัญหาของมนุษย์ซึ่งมีหลายอย่างนั้น ในที่นี้จะยกขึ้นมาพูดสักอย่างหนึ่ง คือเรื่อง จริยธรรม เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพระ ในฐานะที่เป็นบุคคลผู้ทำหน้าที่ทางจริยธรรมมากสักหน่อย เรามาพิจารณาโดยยกเอาจริยธรรมเป็นตัวอย่างว่า จริยธรรมซึ่งเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของการดำเนินชีวิตของมนุษย์นั้น มีผลสัมพันธ์กับเศรษฐกิจอย่างไร โดยทั่วไปเราก็มองเห็นกันชัดเจนอยู่แล้วว่าเรื่องจริยธรรมนั้น มีความหมายสำคัญต่อเรื่องเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก
แต่ในที่นี้ จะขอให้เรามายอมเสียเวลากันสักนิดหน่อย ดูตัวอย่างบางอย่างที่แสดงให้เห็นว่า จริยธรรมนั้นมีความสัมพันธ์และสำคัญต่อเรื่องเศรษฐกิจและเศรษฐศาสตร์อย่างไร สภาพทางจริยธรรมย่อมมีผลต่อเศรษฐกิจทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ยกตัวอย่างเช่นว่า ถ้าท้องถิ่นไม่ปลอดภัย สังคมไม่ปลอดภัย มีโจรผู้ร้ายมาก มีการลักขโมยปล้นฆ่าทำร้ายร่างกายกันมาก ตลอดกระทั่งว่าการคมนาคมขนส่งไม่ปลอดภัย ก็เห็นได้ชัดว่า พ่อค้าหรือบริษัทห้างร้านต่างๆ จะไม่กล้าไปตั้งร้าน ไม่กล้าไปลงทุน คนก็อาจจะไม่กล้าเดินทางไปเที่ยว ชาวต่างชาติก็ไม่กล้าที่จะมาทัศนาจร อะไรอย่างนี้ ผลเสียทางเศรษฐกิจก็เกิดขึ้น อันนี้เป็นเรื่องหนึ่งที่มองเห็นได้ง่าย ในการโดยสารรถยนต์อย่างในกรุงเทพฯ ถ้าคนโดยสารซื่อสัตย์ คนเก็บตั๋วซื่อสัตย์ คนรถซื่อสัตย์ นอกจากว่ารัฐจะได้เงินเข้าเป็นผลประโยชน์ของรัฐอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยแล้ว ก็อาจจะทุ่นเงิน ประหยัดทรัพย์ ไม่ต้องมาเสียเงินจ้างคนคุม นายตรวจ ตลอดจนกระทั่งว่าบางทีไม่ต้องมีคนเก็บตั๋วก็ได้ เพราะใช้วิธีของความซื่อสัตย์ อาจจะให้จ่ายตั๋วใส่ในกล่องเองอะไรทำนองนี้
ในเรื่องของบ้านเมืองโดยทั่วไป ถ้าพลเมืองเป็นคนมีระเบียบวินัย ช่วยกันรักษาความสะอาด รัฐก็อาจจะไม่ต้องเสียเงินมากเพื่อจ้างคนกวาดขยะจำนวนมากมาย และการใช้อุปกรณ์ก็สิ้นเปลืองน้อย ทำให้ประหยัดเงินที่จะใช้จ่าย ในทางตรงข้ามหรือในทางลบ พ่อค้าเห็นแก่ได้ ต้องการลงทุนน้อย แต่ให้ขายของได้ดี ใช้ส่วนประกอบที่ไม่ได้มาตรฐานปรุงเข้าไปในอาหาร เช่น ใช้สีย้อมผ้าใส่ในขนมเด็ก เป็นต้น หรือใช้น้ำส้มที่ไม่ใช่น้ำส้มสายชูจริง แต่เป็นน้ำกรด หรือใช้น้ำยาประสานทองใส่ในลูกชิ้นเด้งอะไรทำนองนี้ ก็อาจจะทำให้เกิดอันตราย มีผลเสียต่อสุขภาพของคน เมื่อคนเสียสุขภาพแล้วก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายสิ้นเปลืองในการรักษาพยาบาลคนนั้นอีก แล้วเราก็จะต้องใช้เงินมากมายในการตรวจจับ และดำเนินคดี นอกจากนั้น คนที่เสียสุขภาพแล้ว ก็เสียประสิทธิภาพในทางแรงงาน ทำให้การผลิตลดลงหรือเสื่อมเสียไปอีก
พ่อค้าที่เห็นแก่ได้อย่างเดียวนั้น ทำการในขอบเขตกว้างขวางออกไป โดยปลอมปนสินค้าที่ส่งไปขายต่างประเทศ ก็อาจจะทำให้สูญเสียความไว้วางใจ ในที่สุดผลเสียหายทางเศรษฐกิจก็สะท้อนกลับมา คืออาจจะสูญเสียตลาดการค้าขายในต่างประเทศ เสียรายได้ที่จะเข้าประเทศ พ่อค้าที่เห็นแก่ได้นั้น เมื่อทำธุรกิจในระบบการแข่งขันเสรี ก็อาจจะทำให้การค้าเสรีกลายเป็นไม่เสรีไป ด้วยความเห็นแก่ได้ของตัวเอง โดยใช้วิธีแข่งขันนอกแบบ ทำให้การแข่งขันเสรีนำไปสู่ความหมดเสรีภาพ เพราะอาจจะใช้อิทธิพลทำให้เกิดการผูกขาดในทางตลาดขึ้น อาจจะเป็นการทำให้หมดเสรีในแบบ หรือหมดเสรีนอกแบบก็ได้ หมดเสรีนอกแบบก็เช่นว่า ใช้เงินจ้างมือปืนรับจ้างฆ่าผู้แข่งขันในทางเศรษฐกิจเสีย อย่างนี้เป็นต้น นี่ก็หมดเสรีเหมือนกัน แต่หมดเสรีนอกแบบ บางทีในตำราเศรษฐศาสตร์ก็ไม่ได้เขียนไว้ด้วยซ้ำ
ในทางต่างประเทศ บริษัทต่างประเทศส่งยาที่ห้ามขายในประเทศของตน เข้ามาขายในประเทศด้อยพัฒนา ก็เกิดเป็นอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพของประชาชน เสื่อมเสียคุณภาพและประสิทธิภาพของแรงงานในทางเศรษฐกิจ และเสียค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น สิ้นเปลืองงบประมาณของประเทศ
ในอีกด้านหนึ่ง พ่อค้าโฆษณาเร้าความต้องการให้คนอยากซื้อสินค้า ก็สิ้นเปลืองค่าโฆษณา เอามาบวกเข้าในต้นทุน ทำให้สินค้าแพงขึ้น คนก็พากันซื้อสินค้าทั้งที่ไม่จำเป็น และแพงโดยไม่จำเป็นด้วย มีความฟุ่มเฟือย ใช้ทิ้งใช้ขว้าง โดยไม่คุ้มค่า บางทีใช้เดี๋ยวหนึ่งก็เปลี่ยน เดี๋ยวหนึ่งก็เปลี่ยน อันนี้ก็เป็นความสิ้นเปลืองในทางเศรษฐกิจ ซึ่งมาสัมพันธ์กับค่านิยมของคนที่ชอบอวดโก้ ชอบอวดฐานะ ทำให้พ่อค้าได้โอกาสเอาไปใช้ประโยชน์ เอากลับมาหาเงินจากลูกค้าอีก คนที่มีค่านิยมชอบอวดโก้ อวดฐานะ ก็อาจจะซื้อสินค้าที่แพงโดยไม่จำเป็น โดยไม่พิจารณาถึงคุณภาพ เอาความโก้เก๋นี้มาเป็นเกณฑ์ ทั้ง ๆที่แพงก็ซื้อเอามา ยิ่งกว่านั้น คนจำนวนมากในสังคมของเรา ซึ่งชอบอวดโก้แข่งฐานะกัน พอมีสินค้าใหม่เข้ามา แต่เงินยังไม่พอ ก็รอไม่ได้ ต้องรีบกู้ยืมเงินเขามาซื้อ เป็นหนี้เขา ทำให้เกิดผลเสียร้ายแรงในทางเศรษฐกิจ เสร็จแล้วตัวเองก็มีฐานะแย่ เศรษฐกิจของชาติก็แย่ ดุลการค้าของประเทศก็เสียเปรียบเขาไป ฉะนั้น ค่านิยมของคนจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเสียดุลการค้าระหว่างประเทศ ค่านิยมไม่ใช่เรื่องของเศรษฐกิจโดยตรง แต่มีผลต่อเศรษฐกิจมาก
คนที่อยู่ในวงการธุรกิจคนหนึ่งเคยพูดให้ฟังว่า ถ้าเห็นพี่น้องชาวซิกส์คนหนึ่งนั่งรถมอเตอร์ไซด์ ให้สันนิษฐานได้เลยว่ามีเงินล้าน ถ้าหากเห็นพ่อค้าชาวซิกส์นั่งรถเก๋งให้สันนิษฐานว่ามีเงินเป็นสิบเป็นร้อยล้าน แต่ถ้าเห็นคนไทยนั่งรถมอเตอร์ไซด์ ท่านลองไปบ้านนอกดู 50% อาจจะกู้ยืมเงินเขามาซื้อ นี่ก็เป็นเรื่องของค่านิยมเหมือนกัน ทีนี้ ถึงแม้นั่งรถยนต์ก็เหมือนกัน บางทีมีเงินไม่เท่าไรหรอกก็ไปกู้ยืมเขามา หรือใช้ระบบผ่อนส่ง เราก็มีรถเก๋งนั่งกันเกร่อไปหมด แล้วก็ทำให้เกิดปัญหาจราจรติดขัดมาก จราจรติดขัดมากก็มีผลเสียทางเศรษฐกิจอีก ผลที่สุดมันวุ่นกันไปหมด เรื่องทางสังคมกับเศรษฐกิจนี้หนีกันไม่พ้น
เรื่องค่านิยมอวดเด่นอวดโก้ถือหน้าถือตานี้ ในสังคมไทยเรามีเรื่องพูดได้มาก คนไทยบางคนทั้ง ๆที่มีเงินมีฐานะดีพอสมควร แต่จะตีตั๋วเข้าไปดูการแสดงเพียงค่าตั๋ว 20 บาท หรือ 100 บาท เสียไม่ได้ ต้องการจะแสดงว่าฉันมีอิทธิพล ก็ไปหาทางเข้าดูฟรี ไปเอาบัตรเบ่ง วางโต อวดโก้เข้าดูฟรี ไม่ยอมเสียเงิน 20 บาท หรือ 100 บาท แต่คนๆเดียวกันนี้แหละ อีกคราวหนึ่ง ต้องการแสดงความมีฐานะมีหน้ามีตา จัดงานใหญ่โตเลี้ยงคนจำนวนมากมาย เสียเงินเป็นหมื่นเป็นแสนเสียได้ ลักษณะจิตใจหรือคุณค่าทางจิตใจแบบนี้ มีผลต่อเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ซึ่งบางทีนักเศรษฐศาสตร์ตะวันตกเข้ามาเมืองไทย เจอเข้าแล้ว ต้องขออภัยพูดว่า หงายหลังไปเลย คือแก้ปัญหาเศรษฐกิจไม่ตก เพราะว่ามาเจอลักษณะนิสัยจิตใจและพฤติกรรมแปลกใหม่ที่ไม่เคยเจอเข้าแบบนี้แล้วคิดไม่ทัน ไม่รู้จะแก้อย่างไร
เพราะฉะนั้น ในเรื่องเศรษฐกิจนี้ เราจะต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบต่างๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องเหล่านี้ด้วย เราจะเห็นว่า เรื่องศรัทธาความเชื่อต่าง ๆ มีผลในทางเศรษฐกิจเป็นอันมาก เราต้องมีความเชื่อถือต่อธนาคาร มีความเชื่อถือตลาดหุ้น ถ้าเกิดความไม่เชื่อถือ หมดศรัทธาเมื่อไร บางทีตลาดหุ้นแทบจะล้มเลย ธนาคารบางทีก็ล้มไปได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น การมีศรัทธาก็ดี การเชื่อแม้แต่คำโฆษณาก็ดี จึงมีผลต่อพฤติกรรมและกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งสิ้น และความมีศรัทธาก็ดี ความหมดศรัทธาก็ดี ในหลายกรณี เป็นอาการที่ปลุกเร้ากันขึ้น เช่น ด้วยการโฆษณา เป็นต้น
ในวงงานของเรา ถ้านายงานวางตัวดี มีความสามารถ หรือมีน้ำใจ ลูกน้องรักใคร่ศรัทธา ลูกน้องมีความสามัคคี ขยัน ตั้งใจทำงาน ก็ทำให้ผลผลิตสูงขึ้น ถ้านายจ้างนั้นมีความดีมากให้ลูกน้องเห็นใจ บางทีกิจการของบริษัทจะล้ม ลูกน้องก็พากันเสียสละช่วยกันทุ่มเททำงานเต็มกำลังเพื่อกู้ฐานะของบริษัท ไม่หลีกหนีไป แม้กระทั่งยอมสละค่าแรงงานที่ตนได้ก็มี แทนที่จะเรียกร้องเอาอย่างเดียว
ฉะนั้น คุณค่าทางจิตใจเหล่านี้จึงเป็นตัวแปรในทางเศรษฐกิจได้ทั้งสิ้น ซึ่งเราก็เห็นกันชัดๆว่า ความขยัน ความซื่อสัตย์ ความรักงาน ความตรงต่อเวลา มีผลต่อสิ่งที่เราเรียกว่า Productivity คือการเพิ่มผลผลิต รวมทั้ง Efficiency คือความมีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก ในทางตรงข้าม ความเบื่อหน่าย การคดโกง ทุจริต ความรู้สึกแปลกแยก ท้อถอย ความขัดแย้ง แม้แต่ความกลุ้มใจกังวลในเรื่องส่วนตัว ก็มีผลลบต่อ Productivity ทำลายการเพิ่มผลผลิตนั้นได้ เรื่องนี้ไม่จำเห็นจะต้องพรรณนาในวงกว้างออกไป เกี่ยวกับลัทธิชาตินิยม ความรู้สึกชาตินิยม ถ้าปลูกฝังให้มีขึ้นในคนได้ ก็อาจจะทำให้คนในชาตินั้น ไม่ยอมซื้อของนอกใช้ ทั้งๆที่ว่าของนั้นดี ล่อใจให้อยากจะซื้อ อยากจะบริโภค เขาจะสลัดความต้องการส่วนตัวได้ เพื่อเห็นแก่ความยิ่งใหญ่แห่งชาติของตน จะใช้แต่ของที่ผลิตในชาติ และตั้งใจช่วยกันผลิต เพื่อให้ชาติของตนมีความเจริญรุ่งเรือง มีความเป็นเอก มีความยิ่งใหญ่ จนกระทั่งบางทีถึงกับว่า รัฐบาลอาจจะต้องชักชวนให้คนในชาติหันไปซื้อของต่างประเทศก็มี เช่น อย่างเรื่องที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นเป็นต้น ชาตินิยมนี้ก็เป็นเรื่องของคุณค่าทางจิตใจที่มีผลต่อเศรษฐกิจอย่างมาก
เยี่ยมยอด !!! นึกถึงท่าพระจันทร์จัง
มาต่อๆ กันนะ (ชอบมากๆ บทความนี้ ขอบอกๆ)
3. ไม่อาจจะเป็น แต่อยากจะเป็นวิทยาศาสตร์
อาตมภาพได้พูดยกตัวอย่างมานี้ก็มากมายแล้ว ความมุ่งหมายก็เพียงเพื่อให้เห็นว่าเรื่องจริยธรรมและค่านิยม หรือคุณค่าทางจิตใจนั้น มีผลเกี่ยวข้องสัมพันธ์ และสำคัญต่อเศรษฐกิจอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม เท่าที่ว่ามาทั้งหมดนั้น ก็เป็นความสัมพันธ์และความสำคัญของธรรมในแง่ความดีความชั่ว ที่เรียกว่าจริยธรรม แต่ธรรมที่สัมพันธ์กับเศรษฐกิจ ไม่ใช่จำกัดอยู่แค่จริยธรรมเท่านั้น นอกจากจริยธรรมแล้ว ธรรมอีกแง่หนึ่งที่สัมพันธ์กับเศรษฐกิจ ก็คือ ธรรมในแง่สัจธรรม หรือสภาวธรรม
ความจริง ธรรมในแง่ "สภาวธรรมหรือสัจธรรม"นี้ มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้นไปอีก เพราะว่ามันเป็นแก่น เป็นตัว เป็นเนื้อของเศรษฐศาสตร์เอง ธรรมในที่นี้ก็คือ ความจริง ในแง่ของกระบวนการแห่งเหตุปัจจัยตามธรรมชาติ ถ้าหากว่าเศรษฐศาสตร์รู้ เข้าใจ และปฏิบัติการไม่ทั่วถึง ไม่ตลอดสายกระบวนการของเหตุปัจจัยแล้ว วิชาการเศรษฐศาสตร์นั้นก็จะไม่สามารถแก้ปัญหาและสร้างผลดีให้สำเร็จตามความประสงค์ได้ เรียกว่าเป็นเศรษฐกิจที่ไม่ถูกธรรมในแง่ที่สอง คือ แง่ของสัจธรรม
ธรรมในแง่ของสัจธรรมนี้ ก็คือ ธรรมดาของธรรมชาติ หรือสภาวะที่มีอยู่ในวิชาการ และกิจกรรมทุกอย่าง มันไม่ได้เป็นสาขาอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งที่แยกออกไปต่างหากจากวิชาการอื่นๆเลย แต่เป็นแก่นแท้ของวิทยาศาสตร์ หรือเป็นสาระที่วิทยาศาสตร์ต้องการจะเข้าถึง การที่ปัจจุบันนี้เรามีแนวโน้มทางความคิดที่ชอบแยกอะไรต่ออะไรออกไปต่างหากจากกัน แม้กระทั่งในเรื่องธรรม คือสภาวะความเป็นจริง จึงเป็นอันตรายที่ทำให้เราอาจจะคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงที่ควรจะเป็น ดังนั้น จะต้องมีความเข้าใจในความเป็นจริงที่กล่าวแล้วนี้ไว้ด้วย
เศรษฐศาสตร์นั้นได้กล่าวกันมาว่า เป็นสังคมศาสตร์ที่เป็นวิทยาศาสตร์มากที่สุด และเศรษฐศาสตร์ก็มีความภูมิใจในเรื่องนี้ด้วยว่า ตนเป็นวิทยาการที่เป็นวิทยาศาสตร์มากที่สุด เอาแต่สิ่งที่วัดได้ คำนวณได้ จนกระทั่งมีผู้กล่าวว่า เศรษฐศาสตร์นี้เป็นศาสตร์แห่งตัวเลข มีแต่สมการล้วน ๆ ในการพยายามที่จะเป็นวิทยาศาสตร์นี้ เศรษฐศาสตร์ก็เลยพยายามตัดเรื่องคุณค่าที่เป็นนามธรรมออกไปให้หมด เพราะคำนวณไม่ได้ จะทำให้ตนเองเป็น value-free คือเป็นศาสตร์ที่เป็นอิสระ หรือปลอดจากคุณค่า แต่ก็มีฝ่ายตรงข้าม ซึ่งเป็นนักวิจารณ์เศรษฐศาสตร์ หรือแม้แต่นักเศรษฐศาสตร์เองบางคนบอกว่า ความจริงแล้วเศรษฐศาสตร์นี้เป็นสังคมศาสตร์ที่ขึ้นต่อ value มากที่สุด เรียกว่าเป็น value-dependent มากที่สุด ในบรรดาสังคมศาสตร์ทั้งหลาย จะเป็นวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร เพราะจุดเริ่มของเศรษฐศาสตร์นั้นอยู่ที่ความต้องการของคน ความต้องการของคนนี้เป็นคุณค่าอยู่ในจิตใจ แล้วในเวลาเดียวกัน จุดหมายของเศรษฐศาสตร์ก็เพื่อสนองความต้องการให้เกิดความพอใจ ความพอใจนี้ก็เป็นคุณค่าอยู่ในจิตใจของคน เศรษฐศาสตร์จึงทั้งขึ้นต้นและลงท้ายด้วยเรื่องคุณค่าในจิตใจ
นอกจากนั้น การตัดสินใจอะไรต่างๆ ในทางเศรษฐกิจ ก็ต้องอาศัยคุณค่าต่างๆเป็นอันมาก ฉะนั้น การที่เศรษฐศาสตร์จะเป็น value-free หรือเป็นอิสระจากคุณค่านั้นจึงเป็นไปไม่ได้ รวมความว่า เศรษฐศาสตร์ไม่สามารถจะเป็นวิทยาศาสตร์ที่สมบูรณ์ได้ เพราะจะต้องขึ้นต่อคุณค่าบางอย่าง เมื่อมองในแง่นี้ จะขอตั้งข้อสังเกตเป็น 2 อย่าง คือ
ในแง่ที่หนึ่ง เศรษฐศาสตร์ไม่สามารถเป็นวิทยาศาสตร์ได้โดยสมบูรณ์ หรือไม่สามารถเป็นวิทยาศาสตร์ได้แท้จริง เพราะไม่อาจเป็นอิสระจากคุณค่าต่างๆ นอกจากนั้น ในหลักการและทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ จะเต็มไปด้วยอัสซัมชั่น (assumptions) คือข้อที่ถือว่ายุติเป็นอย่างนั้น เป็นความจริงโดยที่ยังไม่ได้พิสูจน์ เมื่อยังเต็มไปด้วยอัสซัมชั่นต่าง ๆ แล้ว จะเป็นวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร อันนี้ก็เป็นข้อแย้งที่สำคัญ
ในแง่ที่สอง การเป็นวิทยาศาสตร์นั้นก็ไม่ใช่เรื่องที่ดี เพราะว่าวิทยาศาสตร์ไม่สามารถแก้ปัญหาของมนุษย์ได้ทุกอย่าง วิทยาศาสตร์นั้นมีขีดจำกัดมากในการกแก้ปัญหาของมนุษย์ วิทยาศาสตร์แสดงความจริงได้แง่หนึ่งด้านหนึ่ง โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับวัตถุเป็นสำคัญ ถ้าหากว่าเศรษฐศาสตร์จะเป็นวิทยาศาสตร์แล้ว ก็จะพ่วงตัวเข้าไปอยู่ในแนวเดียวกับวิทยาศาสตร์ คือสามารถแก้ปัญหาของมนุษย์ได้เพียงในวงจำกัดด้วย
ท่าทีที่ดีของเศรษฐศาสตร์ก็คือ การมองและยอมรับตามเป็นจริง การที่เศรษฐศาสตร์จะเป็นวิทยาศาสตร์หรือพยายามเป็นวิทยาศาสตร์นั้น ก็เป็นความดีอย่างหนึ่งของเศรษฐศาสตร์ ซึ่งก็เป็นคุณค่าที่น่าจะรักษาเอาไว้ด้วย แต่ในเวลาเดียวกัน เพื่อการแก้ปัญหาของมนุษย์ให้ได้ผลดียิ่งขึ้น หรือให้ได้ผลจริง เศรษฐศาสตร์โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันนี้ ที่ถึงยุคหัวเลี้ยวหัวต่อของสังคมมนุษย์ ก็น่าจะเปิดตัวกว้างออกไป ในการที่จะยอมรับร่วมมือกับวิทยาการและกิจกรรมสาขาอื่นๆ ของมนุษย์ ยอมรับที่จะพิจารณาเรื่องคุณค่าต่าง ๆ ในสายตาที่มองอย่างทั่วตลอดยิ่งขึ้น เพราะในเมื่อเรายอมรับเรื่องคุณค่าแล้ว คุณค่านั้นก็จะมาเป็นองค์ประกอบของวิทยาการตามฐานะที่ถูกต้องของมัน ทำให้มองเห็นตลอดกระบวนการของความจริงด้วย
แต่ถ้าเราไม่ศึกษาเรื่องคุณค่านั้นให้ตลอดสาย การที่จะเป็นวิทยาศาสตร์ ก็เกิดขึ้นไม่ได้ เพราะเราจะไม่สามารถมีความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนความจริงที่มีคุณค่านั้นเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยโดยตลอด หรือโดยสมบูรณ์ เศรษฐศาสตร์นั้นต้องอิงอาศัยคุณค่าที่เป็นนามธรรม แต่ปัจจุบันนี้เศรษฐศาสตร์ยอมรับคุณค่านั้นแต่เพียงบางส่วน บางแง่ไม่ศึกษาระบบคุณค่าให้ตลอดสาย ทำให้เกิดความผิดพลาดในการคาดหมายหรือคาดคะเนผลเป็นต้น ในเมื่อมีองค์ประกอบด้านคุณค่าเข้ามาเกี่ยวข้องเกินกว่าแง่หรือเกินกว่าระดับที่ตนยอมรับพิจารณา ขอยกตัวอย่างเช่น เรามีหลักทางเศรษฐศาสตร์ข้อหนึ่งว่า คนจะยอมเสียสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ต่อเมื่อได้สิ่งอื่นมาทดแทน จึงจะได้ความพอใจเท่ากัน อันนี้เป็นหลักการทางเศรษฐศาสตร์ข้อหนึ่ง
เรื่องนี้ทางฝ่ายของพวกนามธรรมก็อาจจะแย้งว่าไม่จริงเสมอไป บางทีคนเราได้คุณค่าความพอใจทางจิตใจ โดยที่เสียสิ่งหนึ่งสิ่งใดไปโดยไม่ได้สิ่งอื่นมาทดแทนก็มี อย่างเช่น พ่อแม่รักลูก พอรักลูกมาก ก็ยอมเสียสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ เมื่อลูกได้สิ่งหนึ่งสิ่งใดนั้นไป พ่อแม่ไม่จำเป็นต้องได้อะไรตอบแทน แต่พ่อแม่ก็มีความพึงพอใจมากกว่าการได้อะไรตอบแทนด้วยซ้ำ ในกรณีนี้ ที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะว่าพ่อแม่มีความรัก ทีนี้ ถ้าหากว่ามนุษย์สามารถมีความรักคนอื่นได้กว้างขวางขึ้น ไม่รักเฉพาะลูกของตัวเอง แต่ขยายออกไป รักพี่รักน้อง รักเพื่อนร่วมชาติ รักเพื่อนมนุษย์แล้ว เขาก็อาจจะเสียสละสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปโดยไม่ได้อะไรตอบแทนมา แต่กลับมีความพึงพอใจมากขึ้น ไม่ใช่ว่าไม่ได้รับความพึงพอใจหรือพึงพอใจเท่ากัน แต่พึงพอใจมากขึ้นด้วยซ้ำไป อันนี้ก็เป็นเรื่องของคุณค่าที่เข้ามาแสดงผลในทางเศรษฐศาสตร์เหมือนกัน
หลักอีกข้อหนึ่งบอกว่า ราคาต่ำลงคนยิ่งซื้อมาก ราคายิ่งแพงคนยิ่งซื้อน้อยลง นี้ก็เป็นหลักทางเศรษฐศาสตร์ข้อหนึ่ง และตามธรรมดาทั่วไปก็เป็นอย่างนั้น ถ้าของราคาต่ำลง คนก็มีอำนาจซื้อมาก แต่ถ้าของนั้นแพงขึ้น อำนาจซื้อของคนก็น้อยลง คนก็มาซื้อน้อยลง
แต่มันไม่ใช่เป็นอย่างนั้นเสมอไป ถ้าเรารู้ว่าคนในสังคมมีค่านิยมชอบอวดโก้ อวดฐานะกันมาก เราก็เอาค่านิยมมาใช้เร้าให้เกิดความรู้สึกว่าของแพงนี่มันโก้มาก คนไหนซื้อของแพงได้ คนนั้นเด่นมีฐานะสูง ปรากฏว่า ยิ่งขึ้นราคาของแพงขึ้น คนกลับยิ่งไปซื้อมากใหญ่ เพราะอยากจะโก้แสดงว่าตัวมีฐานะ ฉะนั้นหลักเศรษฐศาสตร์บางอย่างจึงต้องขึ้นต่อเรื่องคุณค่าเป็นอย่างมาก
ว่าที่จริง ตัวอย่างต่างๆ ก็มีทั่วๆไป ที่แสดงให้เห็นว่า ค่านิยมหรือคุณค่าต่างๆในสังคมนี้เป็นตัวกำหนดราคา ซึ่งเศรษฐศาสตร์ก็เอามาใช้ ดังจะเห็นได้ในตัวอย่างง่าย ๆ สมมุติว่ามีคนสองคนเรือแตก ไปติดอยู่บนเกาะหนึ่ง คนหนึ่งมีข้าวตาก 1 กระสอบ อีกคนหนึ่งมีสายสร้อยทองคำ 100 สาย ตามปกติ ในสังคมทั่วไปคนที่มีสายสร้อยทองคำ 1 สาย อาจจะซื้อข้าวตังหรือข้าวตากได้หมดทั้งกระสอบ หรือว่าข้าวตากทั้งกระสอบนั้น อาจจะไม่พอกับราคาค่าสายสร้อยทองคำสายเดียวด้วยซ้ำ แต่ตอนนี้เขาไปติดอยู่บนเกาะ มองไม่เห็นทางว่าจะรอด ไม่เห็นว่าจะมีเรืออะไรมาช่วยเหลือ ตอนนี้มูลค่าจะต่างไป ผิดจากเดิมแล้ว ตอนนี้คนที่มีข้าวตากหนึ่งกระสอบอาจจะใช้ข้าวตากเพียง 1 ชิ้น แลกเอาสายสร้อยทองคำทั้ง 100 สายก็ได้ บางทีไม่ยอมรับด้วยซ้ำไป คุณค่าจึงเป็นไปตามความต้องการ
แต่ที่ต้องการชี้ในที่นี้ก็คือว่า เศรษฐศาสตร์จะต้องแยกแยะเกี่ยวกับความหมายของความต้องการ ตลอดจนคุณภาพของความต้องการด้วย เศรษฐศาสตร์บอกว่า เราเกี่ยวข้องแต่ความต้องการอย่างเดียว เราไม่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของความต้องการ นี้เป็นหลักการของเศรษฐศาสตร์ แต่คุณภาพของความต้องการนั้นก็มีผลต่อเศรษฐศาสตร์ นอกจากนั้น คนสองคนนี้อาจจะไม่แลกเปลี่ยนกันก็ได้ คนที่มีสายสร้อยทองคำอาจจะถือโอกาสตอนที่คนมีข้าวตากไม่อยู่มาลักเอาข้าวตากไปเสียก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องแลกกับคนอื่น หรือดีไม่ดีแกอาจจะฆ่านายคนมีข้าวตากเสียเลย เพื่อจะเอาข้าวตากไปเสียทั้งหมดกระสอบ ในทางตรงกันข้าม สองคนนั้นอาจจะเกิดมีความรักกันขึ้นมา ก็เลยร่วมมือกัน เลยไม่ต้องซื้อต้องขาย ไม่ต้องแลกเปลี่ยน ก็กินข้าวตากด้วยกันจนหมดกระสอบ อันนี้ก็อาจจะเป็นไปได้ทั้งสิ้น
เพราะฉะนั้น นอกจากการแลกเปลี่ยน กิจกรรมอาจจะมาในรูปของการทำร้าย การร่วมมือกัน ช่วยเหลือกัน หรืออะไรก็ได้ เพื่อแสดงให้เห็นว่า เศรษฐศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์เป็น objective คือ มองอะไรๆตามสภาววิสัย ไม่เอาคุณค่าความรู้สึกทางจิตใจเข้าไปปะปน นักเศรษฐศาสตร์บางทีก็จะยกตัวอย่างต่างๆมาให้ดู เช่นบอกว่า เหล้าหรือสุรา 1 ขวด กับก๋วยเตี๋ยว 1 หม้ออาจจะมีคุณค่าหรือมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์เท่ากัน การเสียเงินไปเข้าไนท์คลับครั้งหนึ่ง อาจมีค่าทางเศรษฐกิจสูงกว่าการเข้าฟังปาฐกถาครั้งหนึ่งในเวลาเท่ากัน อันนี้เป็นความจริงในทางเศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์ไม่พิจารณาคุณค่าใด ๆ ทั้งสิ้น เขาจะไม่พิจารณาว่า สินค้านั้น หรือการกระทำนั้น การผลิต การบริโภค หรือการซื้อขายนั้น จะก่อให้เกิดคุณประโยชน์หรือโทษอะไรขึ้นหรือไม่ เข้าไนท์คลับแล้วจะสิ้นเปลืองเงินทำให้หมกมุ่นมัวเมาเป็นอบายมุข หรือจะดีจะชั่วในแง่หนึ่งแง่ใดก็ตาม เศรษฐศาสตร์ไม่เกี่ยว หรือว่าเข้าฟังปาฐกถาแล้วจะได้ความรู้เจริญปัญญา เป็นประโยชน์แก่จิตใจ ก็ไม่ใช่เรื่องของเศรษฐศาสตร์ เราอาจจะพิจารณาคุณหรือโทษในแง่อื่น ๆ แต่เศรษฐศาสตร์จะไม่พิจารณาด้วย
ในกรณีตัวอย่างที่ยกมานี้ ถ้าพิจารณาให้ดีจะเห็นว่า ความเป็นวิทยาศาสตร์ และความเป็น objective ของเศรษฐศาสตร์นั้นออกจะผิวเผินและคับแคบมาก คือมองความจริงช่วงเดียวสั้น ๆ แบบตัดตอนขาดลอยเท่าที่ตัวต้องการ ไม่มองกระบวนการแห่งเหตุปัจจัยที่เป็นจริงให้ทั่วถึงตลอดสาย ซึ่งเป็นลักษณะของเศรษฐศาสตร์ในยุคอุตสาหกรรม ทำให้เศรษฐศาสตร์ไม่อาจจะเป็นวิทยาศาสตร์ได้จริง และไม่เป็น objective เพียงพอ เศรษฐศาสตร์ยุคต่อไปอาจจะขยายการมองให้ทั่วถึงตลอดกระบวนการของเหตุปัจจัย โดยสอดคล้องกับความจริงมากยิ่งขึ้น ดังที่มีแนวโน้มขึ้นบ้างแล้วในปัจจุบัน ดังในตัวอย่างที่ยกขึ้นมาพูดเรื่องเหล้า 1 ขวด กับก๋วยเตี๋ยว 1 หม้อ เรามองได้ว่า มูลค่าในทางตลาดซื้อขายนั้นเท่ากันจริง แต่มูลค่าแม้ในทางเศรษฐกิจนั้นเอง ความจริงก็ไม่เท่ากัน ถ้าพิจารณาลึกซึ้งลงไป จะมองเห็นว่า สุรา 1 ขวดนั้นมีมูลค่าทางเศรษฐกิจอีกมากมาย
มูลค่าทางเศรษฐกิจที่มาจากการเสียคุณภาพชีวิต สุราขวดนั้นอาจจะทำลายสุขภาพของคน และทำให้ต้องเสียเงินรักษาสุขภาพของคนนั้น จะสิ้นเปลืองเงินไปอีกเท่าไร นี่เป็นความสูญเสียในด้านคุณภาพชีวิต แต่มีผลทางเศรษฐกิจด้วย
ในการผลิตสุรานั้น โรงงานสุราอาจจะทำให้เกิดควันที่มีกลิ่นเหม็น ควันที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทำให้เกิดส่าเหล้า เป็นต้น ซึ่งเป็นการทำลายสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ แล้วมูลค่าความเสียหายทางธรรมชาตินี้ก็กลับมามีผลต่อเศรษฐกิจอีก อาจจะทำให้รัฐต้องสิ้นเปลืองงบประมาณระยะยาวในการแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อม
คนที่กินสุราแล้วนั้น อาจจะขับรถไปแล้วก็เกิดรถชนกัน ก็ทำให้เกิดผลเสียหายทางเศรษฐกิจอีก
ผลเสียหายในทางสังคม เช่น ทำให้เกิดอาชญากรรม ซึ่งคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจอีกจำนวนมาก
เหล้า 1 ขวดนี้ อาจจะทำให้คนนั้นเมามาย มีสติไม่ค่อยดี ทำให้สูญเสียประสิทธิภาพในการทำงาน ก็กระทบต่อ Productivity คือ การเพิ่มผลผลิตอีก
ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของเศรษฐกิจทั้งสิ้น เป็นอันว่า เราจะต้องคิดเรื่องเศรษฐกิจ หรือมูลค่าทางเศรษฐกิจกว้างออกไป ไม่ใช่เฉพาะราคาที่ตีในตลาดเท่านั้น ปัจจุบันนี้ก็มีความโน้มเอียงในการที่จะเอามูลค่าในด้านอื่นนี้เข้ามารวมด้วย เรียกว่าเป็น External costs แต่ปัจจุบันนี้ยังมองเฉพาะเรื่องมูลค่าทางด้านสภาพแวดล้อม คือมลภาวะดังที่นักเศรษฐศาสตร์บางกลุ่มให้นำเอามูลค่าในการทำลายสภาพแวดล้อมนี้ รวมเข้าในมูลค่าทางเศรษฐกิจแม้แต่ในการที่จะตีราคาสินค้าด้วย แต่ว่าที่จริงแล้วยังไม่พอหรอก ก็อย่างสุรา 1 ขวดที่ว่าเมื่อกี้ เราอาจจะคิดแต่ค่าสภาพแวดล้อม แต่ค่าทางสังคมศีลธรรมและสุขภาพ (เช่น อาชญากรรม ประสิทธิภาพในการผลิต) อีกเท่าไร ซึ่งมูลค่าเหล่านี้ล้วนย้อนกลับมามีผลทางเศรษฐกิจอีกทั้งสิ้น
Post a Comment
<< Home