There are no coincidences in the universe.

Solitary Animal: PM pledges major push for economy

Wednesday, July 13, 2005

PM pledges major push for economy


Highlights:

1. Increasing civil servants' salary & pension for retirees by 5%.
2. Allowing a minimum wage hike.
3. Tax incentives for employers giving cost-of-living allowances to
employees.
4. Increasing funding support to village defence volunteer
5. Accelerating use of state budget to create jobs upcountry.
6. Allowing diesel price to float.
7. Closing petrol stations from 10 pm � 5 am as of July 15.
8. Turning off billboard lights after 10 pm as of Aug 1.

2 Comments:

Anonymous Anonymous said...

แวะมาเช็คชื่อ

@^________^@

Wednesday, July 13, 2005 2:38:00 PM  
Blogger solitary animal said...

บ้านเขาเมืองเรา : ยุคโลกนอกตำรา

นสพ.กรุงเทพธุรกิจ 15 ก.ค.48

ดร.ไสว บุญมา

การก่อวินาศกรรมที่นครลอนดอน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 ก.ค. เกิดก่อนเวลาเปิดตลาดหลักทรัพย์ในนิวยอร์ก นักวิเคราะห์คาดกันว่า ราคาหุ้นจะตก จริงดังคาด เมื่อตลาดเปิดราคาหุ้นตกฮวบทันที แต่ก่อนสิ้นวันนั้น ราคากลับไปอยู่ในแดนบวก และยังขึ้นต่อไปในวันศุกร์


ตลาดหลักทรัพย์ใหญ่ๆ ในยุโรป แม้ราคาหุ้นจะตกในวันเกิดเหตุ แต่พอวันรุ่งขึ้นก็ฟื้นกลับคืนมาอยู่ในแดนบวก ส่วนราคาน้ำมันซึ่งนักวิเคราะห์คาดกันว่าน่าจะขึ้น กลับลดลงตลอดทั้งสองวัน พฤติกรรมของตลาดซึ่งไม่เป็นไปตามคาดดังกล่าวทำให้นักวิเคราะห์งุนงงต้องพยายามหาทางอธิบายกันจากหลายแง่หลายมุม

เมื่อไม่กี่สัปดาห์มานี้ธนาคารกลางของสหรัฐขึ้นดอกเบี้ยระยะสั้น 0.25% นักวิเคราะห์คาดกันว่าดอกเบี้ยระยะยาวในตลาดการเงินจะขึ้นตามไปด้วย แต่ตรงกันข้าม ดอกเบี้ยระยะยาวกลับลดลง นอกจากนั้นอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐน่าจะขึ้นสูงกว่าในระดับปัจจุบันมานานแล้ว เพราะสหรัฐขาดดุลจำนวนมหาศาลทั้งดุลงบประมาณ และดุลบัญชีเดินสะพัด เนื่องมาจากภาครัฐใช้จ่ายเกินกว่ารายได้ และคนอเมริกันบริโภคสูงมากจนแทบไม่มีเงินออม

นักเศรษฐศาสตร์คาดกันว่า รัฐบาล และชาวอเมริกันจะทำเช่นนั้นได้เพียงชั่วคราว แต่เขาทำเช่นนั้นติดต่อกันมาหลายปีโดยไม่มีอะไรเลวร้ายเกิดขึ้น

ดอกเบี้ยต่ำทำให้ราคาบ้านทะยานขึ้นไปเรื่อยๆ จนตอนนี้มีนักวิเคราะห์ทำนายว่า อีกไม่ช้าตลาดอสังหาริมทรัพย์จะประสบภาวะฟองสบู่ซึ่งจะแตกเมื่อไรก็ได้ แต่นักเก็งกำไรดูจะเอาหูทวนลม อัตราดอกเบี้ยต่ำประกอบกับความรู้สึกว่าตนเองร่ำรวยด้วยราคาบ้านซึ่งทะยานขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้ชาวอเมริกันตั้งหน้าตั้งตาบริโภคกันต่อไปยังผลให้เศรษฐกิจขยายตัวพร้อมกับการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่รุนแรงอีกรอบหนึ่ง

การบริโภคและการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูงติดต่อกันมาเป็นเวลานานทำให้ดูเหมือนว่า ชาวอเมริกันสามารถบริโภคได้โดยไม่ต้องผลิต นั่นเป็นเสมือนปรากฏการณ์ที่ชี้ว่า "โลกนี้มีของเปล่า" ซึ่งผิดตำราเศรษฐศาสตร์

วิวัฒนาการต่างๆ ซึ่งผิดความคาดหมายไม่เพียงทำให้นักวิเคราะห์ทั่วไปเท่านั้นที่งุนงง เมื่อไม่นานมานี้ อลัน กรีนสแปน ประธานธนาคารกลางของสหรัฐ (เฟด) ก็สารภาพว่า เขาไม่ค่อยเข้าใจพฤติกรรมซึ่งดูแล้วตรงข้ามกับตำราเศรษฐศาสตร์ ประเด็นจึงเป็นว่า ถ้าอลัน กรีนสแปน ไม่เข้าใจแล้วใครล่ะจะกล้าออกมาบอกว่า ตนรู้

ขณะนี้นักเศรษฐศาสตร์จำนวนหนึ่งออกมาชี้ว่า ตำราเศรษฐศาสตร์ล้าสมัย เพราะยังไม่ได้ปรับให้ตรงกับโลกยุคไร้พรมแดน โดยเฉพาะด้านการไหลเวียนของเงินออม ในสมัยก่อน เงินออมของประเทศไหนก็มักถูกเก็บไว้ใช้ลงทุนในประเทศนั้น แต่ในสมัยนี้การโยกย้ายเงินสะดวกมากเพราะประเทศใหญ่ๆ ไม่จำกัดการโยกย้าย และเทคโนโลยีก็เอื้อให้โยกย้ายเงินทุนได้ภายในพริบตา

ยิ่งกว่านั้นผู้บริหารจัดการเงินออม ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร กองทุนรวมหรือนักลงทุนใหญ่ ได้รับข่าวสารทันทีในขณะที่เหตุการณ์กำลังเกิดขึ้น ไม่ต้องรอกันหลายวันเช่นในสมัยก่อน ฉะนั้นผลกระทบซึ่งคาดว่าจะเกิดจากเหตุการณ์ต่างๆ ถูกนำมาหักล้างกันได้ทันทีด้วยแบบจำลอง (Model) ในคอมพิวเตอร์

ตัวอย่างหนึ่งซึ่งถูกยกมาอ้าง ได้แก่ จำนวนเงินออม จริงอยู่สหรัฐอาจไม่มีเงินออมมาก แต่กองทุนการเงินระหว่างประเทศคำนวณว่า ณ วันนี้โลกมีเงินออมรวมกันถึง 11 ล้านล้านดอลลาร์ หรือเกือบเท่ากับรายได้ประชาชาติของสหรัฐทั้งหมด เงินออมจำนวนมากพร้อมที่จะไหลเข้าไปแสวงหารายได้และความปลอดภัยในสหรัฐ ยังผลให้อัตราดอกเบี้ยถูกกดดันให้อยู่ในระดับต่ำและสหรัฐขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่อไปโดยไม่มีอะไรร้ายแรงเกิดขึ้น เช่น ค่าเงินดอลลาร์ลดลงอย่างฮวบฮาบ

ตอนนี้มีผู้อ่านบางท่านถามผมอย่างเร่งเร้าว่า สิ่งต่างๆ จะวิวัฒน์ไปทางไหน และจะทำอย่างไรในขณะที่เมืองไทยดูจะเดินเข้าสู่ภาวะคับขัน ดังที่กล่าวแล้วเมื่ออลัน กรีนสแปน ยังไม่แน่ใจว่าอะไรกำลังเกิดขึ้น ผู้มีความรู้ระดับผมคงไม่สามารถฟันธงลงไปว่า อัตราดอกเบี้ยจะเป็นเช่นนั้นหรือราคาน้ำมันจะเป็นเท่านี้ในอีก 1 ปีข้างหน้า อย่างไรก็ตามผมแน่ใจว่าตำราบางอย่างยังใช้ได้เสมอ

ผมคิดว่า มาตรการของรัฐบาลเท่าที่ผ่านมาจำนวนมากเป็นจำพวกจับแพะชนแกะเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปวันๆ ฉะนั้นปัญหาน่าจะร้ายแรงกว่าที่ควรจะเป็น เช่น เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อหวังดึงเงินทุนจากต่างประเทศ มาตรการนี้มีอันตรายเพราะเงินที่ไหลเข้ามาจะเป็นเงินทุนชั่วคราว ไม่ใช่เงินลงทุนระยะยาวซึ่งเราต้องการ การไหลเข้าออกโดยฉับพลันของเงินทุนระยะสั้นให้บทเรียนราคาแพงแก่เรามาแล้วเมื่อปี 2540

ยิ่งกว่านั้น ณ วันนี้กองทุนจำพวกเก็งกำไร (Hedge Funds) มีกระสุนในมือกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งสูงกว่าเมื่อปี 2540 หลายเท่า หากเราทำอะไรผิดพลาดโอกาสที่จะถูกโจมตีมีอยู่สูง ฉะนั้นถ้าค่าเงินบาทจะลดลงบ้างเพราะการขาดดุลการชำระเงิน เราจำเป็นต้องปล่อยให้มันลดลงไป ไม่ใช่พยายามพยุงมันไว้ด้วยการแทรกแซงหรือการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อดึงดูดเงินทุนระยะสั้นจากต่างประเทศ

ผมคิดว่า ภาวะเศรษฐกิจจะไม่ดีขึ้นในครึ่งปีหลังดังที่รัฐมนตรีคลังต้องการชักชวนให้เราเชื่อ ปัจจัยที่ทำให้ผมคิดเช่นนั้นมีหลายอย่าง

ด้านปัจจัยภายนอก ผมไม่คิดว่าจะมีอะไรดีขึ้นกว่าเมื่อตอนครึ่งปีแรก ตรงข้ามอาจเลวร้ายลงเพราะการก่อวินาศกรรมในลอนดอน

ด้านปัจจัยภายใน เท่าที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยขยายตัวสูงเพราะเรามีบุญเก่าอำนวย เช่น เรามีศักยภาพในการผลิตเหลืออยู่ประมาณครึ่งหนึ่ง ซึ่งถูกนำมาใช้โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนเพิ่ม สภาพคล่องมีอยู่จำนวนมาก รัฐบาลนำไปใช้ได้ทันทีโดยวิธีนอกงบประมาณ เช่น ผ่านธนาคารของรัฐ และกองทุนวายุภักษ์ บุญเก่าเหล่านี้ไม่มีเหลืออยู่มากนัก หรืออาจไม่เหลืออยู่เลย

ผู้ที่สนใจในเรื่องการบริหารจัดการเงินในภาวะปัจจุบัน คำตอบคงอยู่ในกรอบของตำราซึ่งผมเคยเขียนไว้ในคอลัมน์นี้เมื่อเดือน มี.ค. นั่นคือ หากเป็นไปได้ควรส่งเงินออมไปหารายได้จากหลายๆ แหล่ง เช่น ฝากธนาคาร ซื้อพันธบัตร ซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เกิดค่าเช่า ซื้อหุ้นของกองทุนรวม และหุ้นของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ หุ้นควรเป็นของกองทุนรวม และของบริษัทที่มีชื่อเสียงมานาน หลีกเลี่ยงหุ้นของผู้ทำธุรกิจการเมืองซึ่งอาจให้ผลตอบแทนสูงในระยะสั้นแต่จะมีปัญหาในระยะยาวดังที่เราเห็นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

ผู้ที่ถามเรื่องการซื้อทอง ของมีค่า และเงินตราต่างประเทศ เพื่อเก็งกำไร ผมแนะนำว่า อย่าทำเพราะนอกจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญจริงๆ แล้วโอกาสทำกำไรในระยะยาวมีน้อย

Friday, July 15, 2005 1:47:00 PM  

Post a Comment

<< Home

Gabu on Facebook