อย่างน้อย The Assassination of Richard Nixon ซึ่งออกฉายปลายปี 2004 หนังที่เพนน์จองบทล่วงหน้าไว้ถึง 6 ปี กว่าจะหานายทุนได้ ก็บ่งชี้สิ่งที่อยู่ในใจเขาได้เป็นอย่างดี
The Assassination of Richard Nixon อิงจากเรื่องจริงเกี่ยวกับ "ปฏิบัติการกล่องแพนโดรา" แผนการลอบสังหารประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 1974 โดยนายแซมวล บิค เซลส์แมนตกงาน ด้วยการจี้เครื่องบินโดยสารพุ่งชนทำเนียบขาว แต่แผนการดังกล่าวล้มเหลวตั้งแต่เครื่องจะยังไม่ทันขึ้นบิน
ไม่ว่าจะเป็นการแถลงโดยกล่าววาทะอมตะที่ว่า "ข้าพเจ้าไม่ใช่คนขี้โกง" (I am not a crook) เพื่อปฏิเสธข่าวอื้อฉาวเกี่ยวกับการรับเงินบริจาคก้อนใหญ่อย่างผิดกฎหมายจากมหาเศรษฐีโฮเวิร์ด ฮิวจ์ส หรือถ้อยแถลงเกี่ยวกับคดีวอเตอร์เกต เมื่อศาลบังคับให้นิกสันมอบเทปบันทึกเสียงการสนทนาภายในทำเนียบขาว ซึ่งอาจเป็นหลักฐานชี้ว่านิกสันเจตนาปกปิดคดี
ดูจากผลงานโดยรวมแล้ว แม้จะเป็นผู้กำกับหนังมือใหม่ แต่นีลส์ มูลเลอร์ แสดงฝีมือการเล่าเรื่องได้ราบรื่นเนียนตา ช่วงเปิดเรื่องเขาเล่นกับเส้นแนวทแยงเพื่อแสดงภาวะไม่ปกติของโลกที่ตัวละครพบเจอ ไม่ว่าจะเป็นกระจกมองหลัง เส้นช่องที่จอดรถ หลอดไฟ โดยมี เอมมานูเอล ลูเบซกี้ ผู้กำกับภาพที่เคยมีงานเด่นอย่าง Great Expectation และ And Your Mother Too มาช่วยให้งานด้านภาพของหนังโดดเด่นยิ่งขึ้น
6 Comments:
คอลัมน์ อาทิตย์เธียเตอร์
นสพ. มติชน 26 มิถุนายน 2548
โดย พล พะยาบ
----------------------------------
ฌอน เพนน์ ได้ชื่อว่าเป็นนักแสดงหัวแข็งที่สุดคนหนึ่งของฮอลลีวู้ด เขามักแสดงออกหรือเปิดเผยทัศนคติด้านสังคม-การเมืองอยู่เสมอ เช่นการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุด เขาเลือกข้างแบบไม่กระมิดกระเมี้ยนโดยหนุนหลังจอห์น แคร์รี่ และต่อต้านจอร์จ ดับเบิลยู. บุช
การเลือกข้างครั้งนี้ไม่น่าแปลกใจเท่าใดนัก เพราะก่อนหน้านี้มีข่าวว่า ฌอน เพนน์เคยเดินทางไปอิรักทั้งก่อนและหลังสงคราม เพื่อเป็นประจักษ์พยานว่ารัฐบาลบุชจูเนียร์ขาดความชอบธรรมในการใช้กำลังทหารถล่มอิรัก
การแสดงออกของเพนน์ทำให้งานออสการ์ปีที่แล้ว ผู้จัดถึงกับหวั่นวิตกว่าหากเพนน์ไปร่วมงานและได้รับรางวัล (นักแสดงนำ จาก Mystic River) เขาจะกล่าวโจมตีบุชออกอากาศหรือไม่ ปรากฏว่าคืนนั้นเพนน์ขึ้นรับรางวัลด้วยความสงบผิดคาด แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเขาจะหัวอ่อนลงแต่อย่างใด
อย่างน้อย The Assassination of Richard Nixon ซึ่งออกฉายปลายปี 2004 หนังที่เพนน์จองบทล่วงหน้าไว้ถึง 6 ปี กว่าจะหานายทุนได้ ก็บ่งชี้สิ่งที่อยู่ในใจเขาได้เป็นอย่างดี
The Assassination of Richard Nixon อิงจากเรื่องจริงเกี่ยวกับ "ปฏิบัติการกล่องแพนโดรา" แผนการลอบสังหารประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 1974 โดยนายแซมวล บิค เซลส์แมนตกงาน ด้วยการจี้เครื่องบินโดยสารพุ่งชนทำเนียบขาว แต่แผนการดังกล่าวล้มเหลวตั้งแต่เครื่องจะยังไม่ทันขึ้นบิน
เหตุการณ์นี้ถูกบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ว่าเป็นหนึ่งในการลอบสังหารผู้นำที่ไม่ประสบผลสำเร็จ ทำให้มีข้อมูลให้ค้นคว้าเพียงน้อยนิด และแทบจะถูกชาวอเมริกันลืมเลือนไปหมดแล้ว
กระนั้น เมื่อหนังนำเรื่องนี้มาขยายความ เล่าถึงเบื้องหน้า-เบื้องหลังของแซมวล บิค โดยดึงเหตุการณ์ทางการเมืองช่วง 1-2 ปีสุดท้ายของอดีตประธานาธิบดีนิกสัน มาปะติดปะต่อเป็นฉากหลัง อย่างน้อยก็ทำให้เห็นภาพสังคมอเมริกันช่วงปลายทศวรรษแห่งความสับสน(นับจากปี 1963 ที่จอห์น เอฟ. เคนเนดี ถูกลอบยิง ถึงปี 1974 นิกสันลาออก) ชัดเจนยิ่งขึ้น
หนังเริ่มต้นในวันเกิดเหตุ คือ 22 กุมภาพันธ์ 1974 แซมวล บิค(เพนน์) อยู่ที่สนามบินบัลติมอร์/วอชิงตัน กำลังเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับปฏิบัติการ ก่อนจะย้อนไป 2 สัปดาห์ก่อนหน้า ซึ่งบิคเริ่มต้นวางแผน โดยเขาบันทึกเสียงตนเอง บอกเล่าความรู้สึกนึกคิดและเหตุผล เตรียมส่งไปให้เลียวนาร์ด เบิร์นสไตน์ ประพันธกรซึ่งเขาเคารพชื่นชม เพื่อเผยแพร่สู่สาธารณะหลังจากเขาสละชีวิตตนเองแล้ว
บิคเริ่มต้นบันทึกเสียงโดยพูดเปรียบตนเองเป็นเม็ดทราย อยู่บนชายหาดที่ชื่อว่าอเมริกา และเม็ดทรายเม็ดเล็กๆ นี้จะแสดงพลังให้ทุกคนได้เห็น
จากนั้นหนังเล่าย้อนไป 1 ปีก่อน เมื่อบิคเริ่มทำงานเป็นเซลส์แมนขายเฟอร์นิเจอร์สำนักงาน หัวหน้างานสอนเคล็ดลับการขายให้บิคว่าเขาต้องมีความเชื่อ โดยยกตัวอย่างประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ว่าเป็นเซลส์แมนชั้นเยี่ยม มีอเมริกันชนกว่า 200 ล้านคนเป็นลูกค้า
นิกสันสัญญาว่าจะยุติสงครามเวียดนามเมื่อตอนหาเสียงปี 1968 แต่เมื่อได้เป็นประธานาธิบดีแล้ว เขากลับไม่ทำตามสัญญาซ้ำยังเพิ่มกำลังทหารในอินโดจีน กระทั่งใกล้การเลือกตั้งอีกครั้งในปี 1972 แผนยุติสงครามจึงเดินหน้าเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา จนทำให้นิกสันกลับเข้าทำเนียบขาวด้วยชัยชนะแบบถล่มทลาย
นั่นหมายถึงปรัชญาการขายกับการสร้างเรื่องหลอกลวงอยู่ในขอบเขตเดียวกันจนแทบจะแยกไม่ออก
บิคไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้ เขาเกลียดการหลอกลวง เชื่อในความจริงว่าเป็นสิ่งที่สมควรได้รับผลตอบแทน จากทัศนคติดังกล่าว ผนวกกับบุคลิกท่าทางการเป็นคนพูดไม่เก่ง เข้าสังคมยาก ซ้ำยังจิตใจห่อเหี่ยวจากปัญหาครอบครัว เมื่อภรรยา(นาโอมิ วัตต์) พาลูกๆ ย้ายหนีไป ทำให้เขาไม่เหมาะกับงานนี้โดยสิ้นเชิง
แม้จะมีพี่ชายทำธุรกิจอู่รถใหญ่โต แต่เขาชอบไปขลุกอยู่กับบอนนี่(ดอน ชีเดิล) เพื่อนรักผิวสี ซึ่งมีร้านซ่อมรถเล็กๆ บิคมีแผนจะเปิดร้านขายยางเคลื่อนที่กับบอนนี่ โดยยื่นขอกู้เงินเพื่อมาดำเนินการ ถ้าสำเร็จเขาจะได้หันหลังให้กับงานเซลส์แมนซึ่งเต็มไปด้วยการโกหกหลอกลวงอันน่ารังเกียจเสียที
แต่แล้วแผนกู้เงินถูกปฏิเสธ ไล่เลี่ยกันภรรยาทำเรื่องขอหย่าขาดกับเขา บิคกลายเป็นคนสิ้นหวังทุกสิ่งทุกอย่าง ช่วงเวลาแห่งความผิดหวังทุกข์ใจ ถูกตอกย้ำซ้ำแล้วซ้ำเล่าด้วยภาพและคำพูดหมกเม็ดความจริงของประธานาธิบดีนิกสันเกี่ยวกับหลายกรณีทางการเมืองผ่านจอโทรทัศน์
ความผิดหวัง ความกดดันอัดอั้น เสมือนถูกสุมเชื้อด้วยฝีมือริชาร์ด นิกสัน จอมหลอกลวง เมื่อได้แรงกระตุ้นจากข่าวพลทหารโรเบิร์ต เพรสตัน ขโมยเฮลิคอปเตอร์บินเข้าเขตทำเนียบขาว(17 กุมภาพันธ์ 1974) บิคจึงตัดสินใจเริ่มต้นวางแผนลอบสังหารประธานาธิบดี
เพื่อเป็นภารกิจอันยิ่งใหญ่ของเม็ดทรายเม็ดเล็กๆ...
จากประวัติของแซมวล บิค การดัดแปลงเป็นหนังมีข้อเท็จจริงถูกเปลี่ยนแปลง ตัดทิ้ง และละข้ามไปพอสมควร ไม่นับการเปลี่ยนชื่อบุคคลแวดล้อมที่ยังมีชีวิตอยู่ตามธรรมเนียมของหนังที่สร้างจากเรื่องจริง
เริ่มตั้งแต่ชื่อ แซมวล บิค ซึ่งเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า "Byck" เปลี่ยนเป็น "Bicke" เพื่อความเหมาะสม เทปบันทึกเสียงของบิคส่งไปให้บุคคลสาธารณะอีก 2-3 คน ไม่ใช่แค่เลียวนาร์ด เบิร์นสไตน์ รวมทั้งการไม่กล่าวถึงประวัติการถูกจับในชุดซานตาคลอสจากการประท้วงหน้าทำเนียบขาวช่วงปลายปี 1972 จนถูกเจ้าหน้าที่จับตามองเป็นพิเศษ
ดู The Assassination of Richard Nixon แล้ว อาจทำให้นึกถึง Taxi Driver งานขึ้นหิ้งของมาร์ติน สกอร์เซซี ซึ่งออกฉายหลังเหตุการณ์ของบิค 2 ปี มีตัวละครชื่อคล้ายกันอย่าง เทรวิส บิคเกิ้ล ผลผลิตพิกลพิการของสงครามเวียดนาม ผู้พยายามลอบสังหารวุฒิสมาชิกที่เตรียมจะลงสมัครเลือกตั้งประธานาธิบดี
อย่างไรก็ตาม การนึกไปถึง Taxi Driver ก็ทำให้เห็นข้อแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างหนังทั้ง 2 เรื่อง ตรงที่แม้ตัวละครจะเป็นเหยื่อของสังคมยุคเดียวกัน แต่ The Assassination of Richard Nixon ไม่ได้บ่งชี้ชัดเจนว่าเหตุที่แซมวล บิค คิดลอบสังหารประธานาธิบดี เป็นผลมาจากสภาพสังคมบีบคั้น เหมือนที่เทรวิส บิคเกิ้ลประสบความผิดหวังด้วยเรื่องในครอบครัว กับบุคลิกส่วนตัวของบิคซึ่งแปลกแยก เข้ากับคนยาก และสภาพจิตใจที่ไม่ปกติ (ตามประวัติ แซมวล บิค เคยเข้ารับการรักษาโรคจิตหดหู่ในโรงพยาบาลนาน 2 เดือน) ดูจะเป็นแรงจูงใจสำคัญมากกว่าเหตุปัจจัยภายนอก แม้ว่าหนังจะปะติดปะต่อเหตุการณ์วุ่นวายทางการเมืองเอาไว้พอสมควร
กระทั่งผู้เขียนมองว่าการหยิบยกเอาคลิปข่าวของริชาร์ด นิกสัน ซึ่งผู้ชมชาวอเมริกันอาจรำลึกเชื่อมโยงได้ว่าเกี่ยวกับเหตุการณ์ใด มาใส่ไว้หลายต่อหลายครั้ง ก็เพื่อย้ำว่าอดีตผู้นำท่านนี้เป็นจอมโกหก เพื่อตีวัวกระทบคราดไปยังจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ประธานาธิบดีคนปัจจุบันจากพรรคเดียวกันนั่นเอง
ไม่ว่าจะเป็นการแถลงโดยกล่าววาทะอมตะที่ว่า "ข้าพเจ้าไม่ใช่คนขี้โกง" (I am not a crook) เพื่อปฏิเสธข่าวอื้อฉาวเกี่ยวกับการรับเงินบริจาคก้อนใหญ่อย่างผิดกฎหมายจากมหาเศรษฐีโฮเวิร์ด ฮิวจ์ส หรือถ้อยแถลงเกี่ยวกับคดีวอเตอร์เกต เมื่อศาลบังคับให้นิกสันมอบเทปบันทึกเสียงการสนทนาภายในทำเนียบขาว ซึ่งอาจเป็นหลักฐานชี้ว่านิกสันเจตนาปกปิดคดี
ดูจากผลงานโดยรวมแล้ว แม้จะเป็นผู้กำกับหนังมือใหม่ แต่นีลส์ มูลเลอร์ แสดงฝีมือการเล่าเรื่องได้ราบรื่นเนียนตา ช่วงเปิดเรื่องเขาเล่นกับเส้นแนวทแยงเพื่อแสดงภาวะไม่ปกติของโลกที่ตัวละครพบเจอ ไม่ว่าจะเป็นกระจกมองหลัง เส้นช่องที่จอดรถ หลอดไฟ โดยมี เอมมานูเอล ลูเบซกี้ ผู้กำกับภาพที่เคยมีงานเด่นอย่าง Great Expectation และ And Your Mother Too มาช่วยให้งานด้านภาพของหนังโดดเด่นยิ่งขึ้น
ส่วนฌอน เพนน์ นี่คืออีกหนึ่งผลงานที่บ่งชี้ว่าการแสดงอันยอดเยี่ยมของเขาไม่ใช่เรื่องน่าเซอร์ไพรส์อีกต่อไป
---------------------------------
แหม
ประโยคที่ว่า
"ข้าพเจ้าไม่ใช่คนขี้โกง" เหมือนจะเป็นเสียงสะท้อนมาจา ลำโพงโทรทัศน์ ขณะชมการวิวาทะ กันระหว่างฝ่ายค้านกะฝ่ายรัฐบาล เลยอะคุณ SA
ดุเดือด เผ็ด มันส์ไม่แพ้ หนังนะ โดยเฉพาะตอนชูวิทย์ออกโรง เอ๊ย ออกมานำเสนอข้อมูล
เออ แปลกดี เนอะ ๆ ขนาดประธานสภา แกยังยิ้มไปปิดไมค์คุณชูโรง เอ๊ย ชูวิทย์ไป อย่าง น่าเอ็นดู
@^______^@
Have a nice day ja!!
คุณ et cera เราได้ดูอภิปรายช่วงหัวค่ำนิดนึง
ก็ดูได้เพลินๆ ดีนะ พาลนึกไปถึง "บริการรับนวดหน้า" อย่างที่น้าชาติเค้าเขียนถึงไว้น่ะ ขำๆ ดี :)
ขอวกกลับมาถึงบทวิจารณ์ที่คัดลอกมาแปะที่นี่--
ชอบการแสดงของฌอน เพนน์ในเรื่องนี้มากเลย ยังอยากไปดูที่โรงหนังอีกรอบ แต่ความรู้สึกมันคงไม่สดเหมือนได้ดูครั้งแรก
เราเองก็คงเปรียบเสมือนเม็ดทรายเล็กๆ เช่นเดียวกัน
เราทั้งหลายล้วนมีภารกิจของเม็ดทราย...ไม่ต่างกัน
"Say You Love Me"
SIMPLY RED
Being one of those grains of sand
I get blown all around the world
And what I make of it
Oh I don't know
What's the meaning of it
Oh I don't know
I've been around so many times
That the worlds turning in my mind
What do I think of it
Oh it's so so
What more can you be than the things they say you've been
Say you love me all around the world
Stay and hug me all around the world
Be yours a boy or be mine a girl
Just say you love me
Just say you love me
I never ever realised
It's so easy to make you cry
But did I break a bit
Oh I hope no
Have you forgot about it
Oh I hope so
But you never ever wonder why
In every single pair of eyes
There is a hunger in it
Or it's soul dies
What more can you be than the things they say you've been
Say you love me all around the world
Stay and hug me all around the world
Be yours a boy or be mine a girl
Say you love me all around the world
Stay and hug me all around the world
Be yours a boy or be mine a girl
Just say you love me
Come on now darling, say you love me
Oh yeah, please please say you love me
Come on say you love me
***********************
I really like this song, it's so beautiful :)
ขอพูดถึงเม็ดทราย กับการมองโลกในแง่ดี
คนบางคน พอเวลามีปัญหามักจะรู้สึกว่า แบกโลกทั้งใบเอาไว้
มันคงจะดีนะ ถ้าทำให้คนที่กำลังกลุ้มคิดได้ว่า
ปัญหามันก็แค่เม็ดทรายเล็ก ๆ ในชายหาด
แต่ก็นั่นแหละ ก็จะได้ยินเสียงกระซิบเบา ๆ จากคนข้าง ๆ ว่า ก็ไม่ใช่ปัญหาของ .อ็. นี่ก็พูดได้
ก็จริงอยู่ แต่ถ้าคุณเอาแต่ก้มหน้ากุมขมับ แล้วจะแก้ปัญหาได้ไม๊ เนอะ
เราก็เชื่อว่า ปัญหาทุกอย่างมีทางออก แต่จะออกแบบไหน ถูกใจใครก็อีกเรื่องหนึ่ง
"Keep your face to the sunshine and you will not see the shadow"
Have a nice day!!
Post a Comment
<< Home